แชร์

OEE คืออะไร? คำนวณอย่างไร ทำไมจึงสำคัญกับอุตสาหกรรม

อัพเดทล่าสุด: 27 พ.ย. 2024
317 ผู้เข้าชม
OEE คืออะไร ทำไมถึงต้องรู้จัก
  Overall Equipment Effectiveness (OEE): ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร คือวิธีการคำนวณความสามารถในการทำงานทั้งหมดของเครื่องจักรภายในโรงงาน โดยอ้างอิงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสรุปออกมาเป็นตัวเลข

โดยการคำนวณ OEE จะมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ

-อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability)
-ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Performance Efficiency)
-อัตราคุณภาพ (Quality Rate)

  ซึ่งส่วนประกอบ 3 อย่างนี้ก็จะมีปัจจัยแยกย่อยลงไป เพื่อให้การคำนวณนั้นตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายในโรงงานมากที่สุด

อัตราการเดินเครื่อง (Availability) = 90%
ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance Rate) = 95%
อัตราคุณภาพ (Quality Rate) = 99%

   ดังนั้น ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ (OEE) = 0.90 x 0.95x 0.99 x 100 = 85%
ซึ่งค่านี้ไม่ใช่เกณฑ์ที่บังคับใช้ สามารถกำหนดเป้าหมายให้เหมาะสมกับโรงงานได้ แต่บริษัทที่ได้รับรางวัล PM ส่วนใหญ่ ล้วนมีค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ (OEE) สูงกว่า 85% ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามการปรับปรุงค่า OEE ควรจะมีทีมเฉพาะกิจขึ้นมาคิดคำนวณ และตั้งเป้าหมาย รวมถึงการวางกลยุทธ์ ทั้งนี้เพื่อการปรับปรุงไปในทางเดียวกันทั้งโรงงาน

การคำนวณ OEE
    สำหรับการคำนวณ OEE ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องแยก Factor ย่อยๆ ของ OEE ออกมาก่อน แล้วจึงนำไปเข้าสูตรการคำนวณ OEE โดยมีรายละเอียดดังนี้

OEE = อัตราเดินเครื่องจักร x ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง x อัตราคุณภาพ

อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability)

อัตราการเดินเครื่องจักร = เวลาเดินเครื่องจักร/เวลารับภาระงาน

เวลาเดินเครื่องจักร = เวลารับภาระงาน เวลาในการหยุดเดินเครื่องจักร

เวลารับภาระงาน = เวลาทำงานทั้งหมด-เวลาหยุดตามแผนงาน

ตัวอย่างการหาอัตราเดินเครื่องจักร
   เครื่องจักรในโรงงานตัวหนึ่งมีเวลาทำงานทั้งหมด 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีการหยุดตามแผนงานสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง มีเวลาสูญเสียจากการที่เครื่องจักรหยุด 2 ชั่วโมง ใน 1 สัปดาห์อัตราการเดินเครื่องจักรจะเป็นเท่าใด
แทนค่าตัวแปร
เวลารับภาระงาน = เวลาทำงานทั้งหมด เวลาหยุดตามแผนงาน
= 36-4
= 32 ชั่วโมง

เวลาเดินเครื่องจักร = เวลารับภาระงาน เวลาในการหยุดเดินเครื่องจักร
= 32-2
= 30

อัตราการเดินเครื่องจักร = เวลาเดินเครื่องจักร/เวลารับภาระงาน
= 30/32
= 93.75%

ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร (Performance Efficiency)
   การคำนวณประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรสามารถคำนวณได้ 2 แบบ โดยอ้างอิงจากเวลาในการใช้ตัวแปรด้านเวลาเพื่อคำนวณ หรือการคำนวณจากการผลิตชิ้นงาน โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
การคำนวณประสิทธิภาพโดยคิดจากเวลา
ประสิทธิภาพในการเดินเครื่องจักร = (เวลาเดินเครื่องทั้งหมด เวลาในการหยุดเดินเครื่องจักร)/เวลาเดินเครื่องทั้งหมด
การคำนวณประสิทธิภาพโดยคิดจากการผลิตชิ้นงาน
ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร = จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้/จำนวนชิ้นงานที่ควรผลิตได้ตามมาตรฐาน

ตัวอย่างการหาประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร
   เวลาทำงานของเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง มีการใช้เวลาทำงานจริงทั้งหมด 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งในช่วงเวลาการทำงานนั้นมีการหยุดทำงานเครื่องจักรไป 10 ชั่วโมง ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรนี้คิดเป็นเท่าใด
แทนค่าตัวแปร
ประสิทธิภาพในการเดินเครื่องจักร = (เวลาเดินเครื่องทั้งหมด เวลาในการหยุดเดินเครื่องจักร)/เวลาเดินเครื่องทั้งหมด
= (48-10)/48
= 79%

อัตราคุณภาพ (Quality Rate)
   การคำนวณอัตราคุณภาพ เป็นอีกตัวแปรที่สามารถผ่านการคำนวณได้ 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือการหาอัตราคุณภาพผ่านตัวแปรด้านเวลา ส่วนอีกรูปแบบคือการหาอัตราคุณภาพผ่านชิ้นงานที่ผลิตได้ โดยมีการคำนวณดังนี้
การหาอัตราคุณภาพโดยคิดจากเวลา
เวลาเดินเครื่องที่เกิดมูลค่า = เวลาเดินเครื่องสุทธิ เวลาที่เสียไปจากการผลิตของเสีย
อัตราคุณภาพ = เวลาเดินเครื่องที่เกิดมูลค่า/เวลาเดินเครื่องสุทธิ
การหาอัตราคุณภาพโดยคิดจากสิ่งที่ผลิต
อัตราคุณภาพ = (จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้-จำนวนชิ้นงานเสีย)/จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้

ตัวอย่างการหาอัตราคุณภาพ
   เครื่องจักรเครื่องหนึ่ง สามารถผลิตผลงานได้ 500 ชิ้นต่อวัน โดยมีงานที่เสียจำนวน 50 ชิ้น อัตราคุณภาพของเครื่องจักรนี้จะเป็นเท่าใด
แทนค่าตัวแปร
อัตราคุณภาพ = (จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้-จำนวนชิ้นงานเสีย)/จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้
= (500-50)/500
= 90%

การคิด OEE
   สมมติโจทย์ โดยคิดจากการทำงานของเครื่องจักรในตัวอย่าง อัตราเดินเครื่องจักร ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร และอัตราคุณภาพของเครื่องจักร

OEE = อัตราเดินเครื่องจักร x ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง x อัตราคุณภาพ

= 93.75% * 79% *90%

= 66%

สรุปบทความ
   OEE ถือเป็นอีกหนึ่งการคำนวณสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และภายในการคำนวณนั้นยังสามารถแบ่งส่วนประกอบย่อยๆ ออกมา เพื่อตรวจสอบการทำงานได้อีกด้วย ซึ่งการใช้ OEE ให้ดีที่สุดนั้น ต้องมีการเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน และการคำนวณที่ถูกต้อง















BY : Jim


บทความที่เกี่ยวข้อง
ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ในธุรกิจขนส่ง ด้วยผู้ช่วย AI
ในยุคที่ธุรกิจขนส่งเติบโตอย่างก้าวกระโดด ความแม่นยำและความรวดเร็วกลายเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขัน แต่เบื้องหลังระบบโลจิสติกส์ที่ดูราบรื่น มักแฝงไปด้วยภาระงานซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดเล็กๆ จากมนุษย์ที่อาจส่งผลใหญ่ในภาพรวม เช่น การพิมพ์ใบวางบิลผิด, จัดรอบรถล่าช้า, หรือสื่อสารข้อมูลผิดพลาดระหว่างทีม
ร่วมมือ.jpg Contact Center
26 เม.ย. 2025
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
สินค้าหมดอายุแล้วแต่อยู่ในคลัง ไม่มีระบบแจ้งเตือนควรทำอย่างไร?
สินค้าหมดอายุแล้วแต่อยู่ในคลัง ไม่มีระบบแจ้งเตือนควรทำอย่างไร?
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ