Switching Costs เป็นต้นทุนที่จะตามมาหลังการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นแบบนั้นเพราะ Switchng Costs เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นเพราะความเปลี่ยนแปลง ในทางกลับกันถ้าหากไม่เปลี่ยนแปลงก็จะไม่เกิด Switching Cost หรือในอีกแง่หนึ่งคือต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunities Costs) ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
โดย Switching Costs จะเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นมาและสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากต้นทุนที่เกี่ยวกับตัวเงิน ความไม่แน่นอน ต้นทุนเวลาและความเคยชิน ที่จะตามมาหลังการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น ต้นทุนด้านเวลาและความเคยชินที่พนักงานต้องปรับตัวจากการที่บริษัทเปลี่ยนมาใช้ Affinity Photo แทนการใช้ Adobe Photoshop ซึ่งทำให้การทำงานแบบเดียวกันของพนักงานต้องใช้เวลานานขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ Affinity Photo
ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับต้นทุนในรูปของ Switching Costs ที่สามารถพบได้ทั่วไปในธุรกิจทั่วไป ได้แก่
จะเห็นว่าการเปลี่ยนเหล่านี้ของธุรกิจแม้ว่าจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลดลง แต่ก็ไม่อาจทำให้ธุรกิจตัดสินใจเปลี่ยนได้ ทำให้ในหลายครั้งธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบ B2B กับธุรกิจด้วยกันเองโดยเฉพาะกับธุรกิจที่เสนอขายระบบที่ซับซ้อนมักจะมาพร้อมบริการการติดตั้ง การอบรมวิธีการใช้งาน และการช่วยเหลือหลังการขายในระยะยาว
Switching Costs ยังเป็นต้นทุนที่สามารถเกิดในมุมของผู้บริโภคระดับบุคคลทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน โดยในมุมของผู้บริโภค Switching Cost คือต้นทุนของการที่ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นที่ทำให้เกิดต้นทุนในการเปลี่ยนถ่ายหรือต้นทุนที่เกิดจากการเลิกใช้สินค้าเดิม ซึ่งการที่สินค้าชนิดหนึ่งมี Switching Cost ที่สูงมาก
ตัวอย่างเช่น Switching Cost ที่เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าเปลี่ยนจากการใช้โทรศัพท์ Samsung ไปใช้ iPhone สิ่งที่ลูกค้าจะต้องพบเจออย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากใช้โทรศัพท์เครื่องเดียว ได้แก่
ด้วยเหตุนี้ การที่สินค้าหรือบริการเป็นสินค้าที่มี Switching Cost สูงกว่า จึงเป็นสิ่งที่เป็นเรื่องดีกับธุรกิจมากกว่า
BY : NOOK
ที่มา : https://greedisgoods.com