แชร์

โลจิสติกส์ไทยกับอาเซียน โอกาสและความท้าทาย

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ย. 2024
48 ผู้เข้าชม
โลจิสติกส์ไทยกับอาเซียน โอกาสและความท้าทาย

โลจิสติกส์ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การค้าและการลงทุนข้ามพรมแดนมีบทบาทสำคัญ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

การรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำหนดเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนในคุณลักษณะ 4 ประการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนกับโลก ได้แก่

การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว   เน้นการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี รวมถึงการเปิดเสรีในภาคบริการสาขาเร่งรัดต่างๆ ซึ่งรวมถึงภาคโลจิสติกส์ด้วย  

การมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง  น้นการดำเนินนโยบายการแข่งขันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนา ICT และพลังงาน

การมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน  มุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการขยายตัวของ SMEs ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ (CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา 

การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์  เน้นการเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement) และพันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Closer Economic Partnership) กับประเทศคู่ค้าสำคัญ

    สิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558  เป็นเพียงจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการที่ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านจะก้าวผ่านไปสู่เวทีการแข่งขันใหม่ (New Business Platform) ซึ่งจะขยายเป็นการแข่งขันในลักษณะของ กลุ่มเศรษฐกิจต่อไป บนเวทีการค้าโลก แต่ละประเทศที่อยู่ในระยะการเปลี่ยนผ่านนี้จำเป็นต้องมองให้ไกลไปข้างหน้าว่าเป้าหมายของการพัฒนาอาเซียนไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน หาผลประโยชน์ภายในกลุ่มประเทศสมาชิก แต่เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประชาชนในภูมิภาค อาเซียนบนพื้นฐานความร่วมมือและการพึ่งพาทรัพยากรร่วมกัน ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ใน แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity) ซึ่งกล่าวไว้ว่า เพื่อทำให้อาเซียนเป็นศูนย์รวมของชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มองไปข้างนอก อยู่ร่วมกันอย่างมีสันติภาพ มั่นคง และเจริญรุ่งเรือง รวมตัวกันเป็นหุ้นส่วนของการพัฒนาอย่างมีพลวัตและเป็นประชาคมที่เอื้ออาทร

สาระสำคัญครอบคลุมองค์ประกอบความเชื่อมโยงใน 3 ด้าน 

1. ความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (Infrastructure)  ทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงข่ายพลังงาน โครงการที่สำคัญ เช่น โครงข่ายทางหลวงอาเซียน เส้นทางรถไฟสิงคโปร์ คุณหมิง โครงการพัฒนาศักยภาพท่าเรือในภูมิภาค 47 แห่ง โครงการ ASEAN Power Grid (APG) และ Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP) เป็นต้น  

2ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ (Institution)  เป็นการจัดระบบสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและการขนส่ง โดยมีโครงการเร่งด่วน ได้แก่  การจัดตั้งระบบอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวในระดับประเทศและอาเซียน (National Single Window & ASEAN Single Window) เป็นต้น 

3. ความเชื่อมโยงด้านประชาชน (People) ซึ่งเน้นเพิ่มอำนาจให้กับภาคประชาชนในประเทศสมาชิก

สรุป

โลจิสติกส์ไทยมีศักยภาพในการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

 





BY : NUN

ที่มา : www.similantechnology.com

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้คลังสินค้าหุ่นยนต์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า
การใช้หุ่นยนต์ในคลังสินค้า (Warehouse Robotics) ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าในหลายด้าน
11 ต.ค. 2024
Flexport แพลตฟอร์มด้านโลจิสติกส์อย่างไร
Flexport เป็นแพลตฟอร์มด้านโลจิสติกส์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการจัดการการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
11 ต.ค. 2024
ทักษะที่สำคัญสำหรับคนทำงานในโลจิสติกส์
องค์กรได้ดึงเอาการจัดการโลจิสติกส์มาเป็นกลยุทธ์สำคัญ เนื่องด้วยการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีสามารถเพิ่มคุณค่าในการให้บริการลูกค้า
10 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ