share

การค้าระหว่างประเทศ แบบ Off-shore trade

Last updated: 8 Aug 2024
103 Views
การค้าระหว่างประเทศ แบบ Off-shore trade

การค้าระหว่างประเทศ แบบ Off-shore trade

การค้าระหว่างประเทศแบบ Off-shore trade นั้น อาจจะดูยากและมีความซับซ้อนสูง

Off-shore trade

     Off-shore trade นั้นก็คือ การที่ได้ร่วมทำธุรกิจร่วมกันระหว่าง ทั้ง 3 ประเทศ หรือการค้าที่ผ่านตัวแทนและนายหน้า ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในการค้าที่มีความสำคัญอยู่เหมือนกัน เพราะได้ก่อประโยชน์ให้ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก

     เป็นกิจกรรมทางการค้าและการลงทุนที่เกิดขึ้นนอกประเทศที่ตั้งของบริษัทหรือองค์กร โดยปกติจะมีการทำธุรกรรมผ่านประเทศที่มีกฎหมายและข้อบังคับที่แตกต่างจากประเทศต้นทาง ซึ่งอาจมีข้อได้เปรียบในด้านภาษี การคุ้มครองทรัพย์สิน หรือความเป็นส่วนตัว

     ในการทำธุรกิจแบบ Off-shore trade นั้น ต้องมีตัวแทนของประเทศที่ 3 นอกเหนือจากผู้ส่งออก และนำเข้าสินค้า ซึ่งทางเราจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • ผู้ส่งออก : ประเทศไทย
  • นายหน้า : ประเทศเกาหลีใต้
  • ผู้นำเข้า : ประเทศสหรัฐอเมริกา

     เรื่องที่สำคัญในการขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ระหว่างประเทศคือ เรื่องการชำระเงิน และขั้นตอนการส่งสินค้าและเตรียมเอกสาร ซึ่งการค้าแบบ Off-shore trade นั้น ในส่วนของการเงิน เอกสาร จะมีวิธีการขั้นตอนที่แตกต่างกัน เพราะขั้นตอนในเรื่องจัดทำเอกสารจะมีความซับซ้อนขึ้นมามาก เช่น

1.การชำระเงิน

     เมื่อนายหน้าประเทศเกาหลีและผู้นำเข้าประเทศอเมริกานั้น ได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางผู้นำเข้าเอง จะทำการชำระเงินให้แก่นายหน้า ซึ่งนายหน้านั้น จะชำระเงินให้แก่ผู้ส่งออกนั้นคือประเทศไทย อีกที และเอกสาร Invoice จะนำให้แก่ผู้นำเข้า และได้บวกหรือรวมกำไรของนายหน้าเข้าไปไว้เรียบร้อย

2.การขนส่งสินค้า

     ในเรื่องการขนส่งสินค้านั้น จะเป็นการส่งให้โดยตรง จะไม่ผ่านหน้านาย

ประโยชน์ของการทำธุรกิจแบ Off-shore trade

ประโยชน์ในฝั่งผู้ส่งออกนั้นคือ

  • ลดระยะเวลาในการเจรจาหรือต่อรองกับทางฝ่ายผู้นำเข้าซึ่งจะสามารถลดต้นทุนสำหรับการขายสินค้า
  • ลดในปัจจัยความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงิบจากทางฝ่ายนำเข้าเป็นรายใหม่ ซึ่งในเรื่องของการเงินนั้นจะต้องผ่านตัวกลางที่มีประสบการณ์
ประโยชน์ในฝั่งผู้นำเข้านั้นคือ
  • นายหน้าและตัวแทน สามารถที่จะเจรจาต่อรองในส่วนของเรื่องต้นทุนการขายและผู้นำเข้าก็สามารถที่จะลดต้นทุนของการขายได้เมื่อเปรียบเทียบแล้วกับการนำเข้าสินค้าด้วยตัวเอง
  • ย่นระยะเวลาการขนส่ง เพราะสินค้าได้จัดส่งโดยตรงจากประเทศผู้ส่งออกไปยังประเทศที่เป็นผ้นำเข้า
  • สินค้าไม่ต้องผ่านประเทศที่3 กรณีนี้จะไม่ถูกหักภาษี

 

 

 

BY : NOON (CC)

ที่มาของข้อมูล : at-once , chatgpt

บทความที่เกี่ยวข้อง
คลังสินค้าชั่วคราวคืออะไร
คลังสินค้าชั่วคราว (Temporary Warehouse) เป็นคลังสินค้าที่ถูกสร้างขึ้นหรือเช่าใช้ในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อรองรับความต้องการเฉพาะกิจหรือช่วงเวลาพิเศษ โดยทั่วไปจะใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการพื้นที่เก็บสินค้าหรือวัสดุในระยะสั้น ๆ
14 Sep 2024
AMR กับ AGV แบบไหนตอบโจทย์ธุรกิจมากกว่ากัน
การเลือกใช้ AMR หรือ AGV ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละธุรกิจ เช่น ประเภทของงานที่ต้องทำ ขนาดของพื้นที่ ความซับซ้อนของกระบวนการผลิต และงบประมาณ
14 Sep 2024
แชร์เทคนิคที่จะช่วยให้การจัดการ Logistics มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น!!!
การจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นกุญแจที่สำคัญสู่ความสำเร็จในงานด้านธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการสินค้าที่ต้องมีระบบการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
14 Sep 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ