การขนส่งทางเครื่องบิน (Air Cargo)
อัพเดทล่าสุด: 2 ส.ค. 2024
1522 ผู้เข้าชม
Air Cargo คืออะไร
Air cargo เป็นการขนส่งสินค้าหรือพัสดุโดยใช้เครื่องบิน เป็นพาหนะหลัก ซึ่งเป็นวิธี การขนส่งที่รวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพสำหรับการนำส่งสินค้าที่ ต้องการให้มี การเคลื่อนย้ายทางอากาศไปยังสถานที่ปลายทาง โดยมีคุณสมบัติดังนี้:
- ความเร็วและเวลา: การนำส่งสินค้าทางอากาศมี ความเร็วสูง เมื่อเปรียบเทียบ กับ วิธีการขนส่งอื่น ๆ เช่น ทางทางบก หรือ ทางทะเล ซึ่งช่วยให้สินค้าสามารถถึงปลายทางได้เร็ว และ ตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้
- ประสิทธิภาพ: การใช้เครื่องบินสามารถนำส่งปริมาณสินค้ามากโดยพกพาขนาด และน้ำหนักที่ใหญ่กว่าวิธีการอื่น ๆ ได้ เช่น ขนส่งทางทะเล หรือ ทางบก.
- เข้าถึงสถานที่ ที่ยากต่อการเข้าถึง: บางพื้นที่ หรือ สถานที่ ที่ยากต่อ การเข้าถึงผ่านทางทางบก หรือ ทางทะเล การใช้เครื่องบินสามารถช่วยใน การนำสินค้าเข้าถึงพื้นที่เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น.
- สินค้าที่ช่วยในการเร่งการผลิต: การใช้วิธีการนำส่งทางอากาศสามารถช่วยในการเร่งรัดกระบวนการ การผลิต และ การจัดส่งสินค้าในเครื่องจักรผลิต และ โรงงานอุตสาหกรรม.
Air Cargo เหมาะกับสินค้าแบบไหน
Air cargo เป็นประเภทการ ขนส่งสินค้าไปต่างประเทศที่เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าจำนวนมาก หรือสินค้าพิเศษ เช่น สินค้าอันตรายบางประเภท สินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ หรือ สินค้าที่ต้องการ เดินพิธีการศุลกากรเข้าประเภทปลายทางเต็มรูปแบบ เป็นต้น
Air Cargo วิธีการคำนวณราคา
สามารถคิดราคาค่าขนส่งสินค้าไปต่างประเทศได้โดยการเปรียบเทียบ 2 วิธี ดังนี้
- น้ำหนักจริง หน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)
- น้ำหนักตามขนาด หรือ น้ำหนักจากการวัดขนาดกล่อง โดยการวัดขนาด และ นำมาคำนวณ โดยใช้สูตร กว้าง x ยาว x สูง หน่วยเป็นเซนติเมตร (cm) / 6,000
* หากค่าของน้ำหนักแบบใดมากกว่า จะนำมาคิดราคาค่าขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ
BY : Nook
ที่มา : www.cplinter.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ในยุคที่การช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของผู้คน ธุรกิจที่เติบโตเคียงข้างกันอย่างชัดเจนก็คือ “ธุรกิจขนส่ง” เพราะทุกคำสั่งซื้อ ทุกคลิกบนหน้าจอ ล้วนต้องมีการขนส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็วและปลอดภัย
หนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่ตอบโจทย์ยุคนี้มากที่สุดคือ แฟรนไชส์ขนส่ง เพราะไม่ใช่แค่เป็นเจ้าของธุรกิจที่พร้อมเริ่มต้นได้ทันที แต่ยังขับเคลื่อนด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในโลกออนไลน์
9 ก.ค. 2025
ในการบริหารคลังสินค้า ไม่ใช่แค่การเก็บของให้ครบ แต่คือการ “บริหารพื้นที่” ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หนึ่งในความท้าทายที่หลายธุรกิจเจอ คือการจัดการกับ สินค้า Slow-Moving
9 ก.ค. 2025
การรับของผิดรุ่น หรือจ่ายของผิดจำนวน อาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ ในคลังสินค้า แต่ความผิดพลาดเหล่านี้คือจุดรั่วไหลที่ทำให้ต้นทุนเพิ่ม ลูกค้าไม่พอใจ และเสียชื่อเสียงแบบไม่รู้ตัว
9 ก.ค. 2025