แชร์

ร้านค้าปลีกและผู้บริโภคต้อง “เปลี่ยน” อย่างไร เมื่อสินค้าที่วางขาย คือตัวการทำ “โลกรวน”

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 5 ก.พ. 2025
132 ผู้เข้าชม
ตัวการทำโลกรวนอยู่ในทุกกิจกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่เรากินใช้กันอยู่ทุกวัน พวกมันผ่านกระบวนการผลิต ขนส่ง จัดเก็บแช่เย็น บริโภค และทิ้งเป็นขยะ ทั้งหมดที่กล่าวไปนั้นล้วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น 
 
จึงไม่น่าแปลกใจที่แค่ระบบอาหารอย่างเดียว ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้วมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก หรือจะเทียบให้เห็นภาพ เจาะจงลงไปที่การเลี้ยงวัวเพื่อนำมาผลิตอาหารให้มนุษย์ หากนับประชากรวัวทั่วโลกเป็นประเทศๆ หนึ่ง ประเทศแห่งนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงติดอันดับ 1 ใน 3 เลยทีเดียว
 
ดังนั้นจึงพูดได้เต็มปากว่าถ้าผู้บริโภคเปลี่ยนมากินใช้สินค้ายั่งยืน ที่ผลิตด้วยกระบวนการซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นที่ตั้ง นั่นก็สร้างความเปลี่ยนแปลงมหาศาลให้วิกฤติโลกรวนแล้ว และจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญของวิถีบริโภคยั่งยืนไม่ใช่ใครอื่น แต่คือ ร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ต นั่นเอง
 
ทำไมธุรกิจค้าปลีกต้อง เปลี่ยน
วิถีการใช้ชีวิตของผู้คนกำลังเปลี่ยนแปลงไป เมื่อความตระหนักเรื่องโลกรวนเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง การสำรวจของ McKinsey พบว่า ทุกวันนี้ 37 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคชาวยุโรปใส่ใจเรื่องความยั่งยืนอย่างลึกซึ้ง ผู้บริโภคจำนวนมากยินดีจ่ายเงินแพงขึ้น เพื่อซื้อสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าและผลิตอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม 

พูดง่ายๆ ก็คือจากนี้ไป ลูกค้าจะยิ่งเลือกซื้อของที่พวกเขาพิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและโลกใบนี้ ดังนั้นถ้าร้านค้าปลีกยังเพิกเฉย เลือกขายแต่สินค้าเดิมๆ ที่ไม่ยั่งยืน พวกเขาก็จะทยอยสูญเสียลูกค้าไปเรื่อยๆ นั่นเอง

นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ กฏหมายและมาตรการของประเทศต่างๆ เพื่อกดดันให้แต่ละภาคส่วน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้น อย่างประเทศเนเธอแลนด์ ที่ออกแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ทำให้เกษตรกรผู้เป็นซัพพลายเออร์ส่งสินค้าเนื้อสัตว์-นมโคต้องเปลี่ยนวิธีผลิตให้กรีนขึ้นเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ส่งผลต่อเนื่องไปสู่ธุรกิจค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ตที่ต้องปรับตัวตามไปด้วย ไม่อย่างนั้นการค้าขายก็เสี่ยงที่จะชะลอตัวลง
 
อาจดูเหมือนไฟลต์บังคับ แต่เจ้าของธุรกิจค้าปลีกที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลจะรู้ได้ทันทีว่านี่คือโอกาส เพราะการบริหารธุรกิจด้วยแนวคิดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ นำมาซึ่งการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายในหลายๆ ทาง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าและพลังงาน 
 
ก๊าซเรือนกระจก ในอุตสาหกรรมค้าปลีก
ถ้าคุณไม่เคยทำความเข้าใจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจใดๆ มาก่อน เราขออธิบายแบบกระชับให้เข้าใจว่า ในทุกอุตสาหกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขอบเขตคือ

-ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในที่นี้หมายถึงส่วนต่างๆ ของร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ต
-ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตพลังงานและไฟฟ้า ที่ถูกใช้ในร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ตนั้นๆ
-ขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากจากปัจจัยอื่นๆ ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูปอาหาร ขนส่ง จัดเก็บแช่เย็น ไปจนถึงการบริโภค และของเสียที่เกิดขึ้นหลังการบริโภค
 
ร้านค้าปลีกที่อยู่รอดต้องใส่ใจ ความยั่งยืน
อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่า ทุกวันนี้ผู้บริโภคชาวยุโรปเริ่มตระหนักต่างวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม และใส่ใจความยั่งยืนอย่างลึกซึ้ง จึงไม่น่าแปลกใจที่ร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ตชั้นนำในยุโรปล้วนกำหนดเป้าหมาย Net Zero กันเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 ซึ่งแต่ละร้านสามารถดำเนินการได้เลยทันที 
 
อย่างไรก็ตามเพื่อไปให้ถึงเป้า Net-Zero นอกจากส่วนของร้านค้าแล้ว พวกเขาจะต้องผลักดันส่วนโกดัง ระบบขนส่ง และการผลิตให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วย แผนของพวกเขามีทั้งการออกแบบศูนย์กระจายสินค้า ให้เป็นเครือข่ายที่ลดระยะทางจากโกดังสินค้าไปยังร้านค้า ตลอดจนเปลี่ยนรถบรรทุกเครื่องยนต์ใช้น้ำมันแบบเดิม ไปเป็นยานพาหนะไฟฟ้า เช่นเดียวกับผู้นำร้านค้าปลีกแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนรถแทรกเตอร์ 10,000 คันและรถพ่วง 80,000 คัน ไปใช้เทคโนโลยีขนส่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าแทน

สำหรับร้านค้าปลีกเจ้าใหญ่ๆ ที่มีสินค้าตราห้าง (House Brand) เป็นของตัวเอง สิ่งที่ต้องคำนึงเพิ่มคือกระบวนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดที่ต้องทำให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนขึ้น เช่น ลดหรือรีไซเคิลของเสีย ตลอดจนนำความร้อนที่เกิดขึ้นจากการกระบวนการไปผลิตไฟฟ้า ซึ่งล้วนมีผลต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น

ในแง่ผู้ประกอบการอาจมองว่าการลงทุนเพื่อเพื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ลดก๊าซเรือนกระจก อาจไม่คืนทุน แต่ McKinsey ยืนยันหนักแน่นว่าในท้ายที่สุดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมแต่ยังเพิ่มพูนผลกำไร และช่วยลดต้นทุนอย่างแน่นอน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://globalcompact-th.com/news/detail/1062

บทความที่เกี่ยวข้อง
Check-list คลังสินค้าพร้อมขาย: คุณมีครบหรือยัง?
การบริหารคลังสินค้าให้พร้อมขาย ไม่ใช่แค่มีของอยู่เต็มโกดังเท่านั้น แต่คือการวางระบบที่ทำให้สินค้าเคลื่อนไหวได้ทันทีเมื่อมีออเดอร์เข้ามา
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
21 มิ.ย. 2025
5 กลยุทธ์ลดต้นทุนในคลังสินค้าแบบมืออาชีพ
ในการบริหารคลังสินค้า ต้นทุนเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กระทบโดยตรงต่อกำไรของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าพื้นที่ ค่าบุคลากร ค่าขนส่ง หรือค่าจัดการสินค้า
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
21 มิ.ย. 2025
สร้างแบรนด์ขนส่งให้น่าจดจำด้วยตัวช่วยอย่าง ChatGPT
ใช้ AI คิดชื่อแบรนด์ คำขวัญ สโลแกน และคอนเทนต์เพื่อสร้างตัวตน ในยุคที่ธุรกิจขนส่งแข่งขันกันดุเดือด การสร้างแบรนด์ที่ “น่าจดจำ” ไม่ใช่แค่เรื่องของโลโก้สวยหรือชื่อเท่ แต่ต้องมี ตัวตนชัดเจน สื่อสารได้ตรงใจ และน่าเชื่อถือ และในวันที่เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยเปลี่ยนเกม เจ้าของธุรกิจสามารถใช้ ChatGPT มาเป็นที่ปรึกษาแบรนด์ส่วนตัวได้เลย!
ร่วมมือ.jpg Contact Center
21 มิ.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ