แชร์

9 Pricing Strategies ตั้งราคายังไงให้ได้กำไรสูงสุด ?

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 24 ม.ค. 2025
666 ผู้เข้าชม
Pricing Strategy คือ รูปแบบหรือวิธีการกำหนดราคาเพื่อให้ได้ผลกำไรที่คุ้มค่าที่สุดจากสินค้าหรือบริการ ซึ่งราคานั้นจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมายและภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วย
 
นอกจากต้นทุนแล้ว ราคาก็อาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธุรกิจหลายอย่าง ทั้งเป้าหมายรายได้, วัตถุประสงค์ทางการตลาด, Brand Position ฯลฯ รวมไปถึงอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น ความต้องการของผู้บริโภค ราคาของคู่แข่ง ด้วย โดยมีกลยุทธ์ที่หลากหลายในการเลือกใช้ ดังนี้
 
1. Competition-Based Pricing Strategy การตั้งราคาอิงตามคู่แข่ง
การตั้งราคาตามการแข่งขันในตลาดหรือกำหนดราคาอิงตามคู่แข่ง เป็นการตั้งราคาที่อิงตามเกณฑ์ที่คู่แข่งส่วนใหญ่ตั้งกันในตลาด แต่อาจจะปรับให้ถูกหรือแพงกว่าเล็กน้อยด้วยการเพิ่มมูลค่าอื่น ๆ เพื่อเป็นกลยุทธ์ที่จะเอาชนะคู่แข่ง และสามารถสร้างยอดขายหรือกำไรได้มากกว่า
 
2. Cost-Plus Pricing Strategy การตั้งราคาโดยบวกกำไรจากต้นทุน
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้ เป็นการตั้งราคาโดยบวกกำไรที่ต้องการเพิ่มไปจากต้นทุนของสินค้า อยากได้กำไรเท่าไหร่หรือกี่เปอร์เซ็นต์ก็เพิ่มไปเท่านั้น การตั้งราคาแบบนี้ไม่เหมาะกับธุรกิจบริการหรือสินค้าซอฟต์แวร์ที่คำนวนต้นทุนที่แท้จริงได้ยาก หรือมีมูลค่าของสินค้าสูงกว่าต้นทุนการผลิต
 
3. Dynamic Pricing Strategy การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น
การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น หรืออาจเรียกได้อีกชื่อว่า 'Demand Pricing Strategy' เป็นการตั้งราคาที่เพิ่มลดตามความต้องการของลูกค้าในเวลานั้น เช่น โรงแรม สายการบิน ห้องจัดอีเวนต์ ฯลฯ ที่มีการใช้อัลกอริทึ่มเพื่อวิเคราะห์และปรับราคาให้เหมาะกับความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
 
4. High-Low Pricing Strategy การตั้งราคาขายสูงแต่ขายจริงต่ำ
เรียกได้อีกชื่อนึงว่า 'Discount Pricing Strategy' เป็นการตั้งราคาสินค้าให้สูงไว้ก่อนในตอนแรก แล้วจะมีการลดราคาเมื่อขายจริง หรือในช่วงอีเวนต์พิเศษ เช่น ลดล้างสต๊อก, Mid-year Sale, Black Friday เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์นี้ เช่น เครื่องสำอางค์ที่มักตั้งราคาเต็มไว้สูง แต่ขายจริงด้วยราคาส่วนลดตลอดการขาย
 
5. Skimming Pricing Strategy การตั้งราคาสูงไว้ก่อนในช่วงเปิดตัว
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบ Skimming เป็นการตั้งราคาสินค้าให้สูงมาก ๆ ในช่วงแรกของการเปิดตัว แล้วจะมีการลดราคาลงเรื่อย ๆ เมื่อกระแสความนิยมของสินค้าลดลง

ส่วนใหญ่เราจะเห็นการตั้งราคาแบบนี้ในสินค้าพวกเทคโนโลยี และสินค้าที่ความต่างของราคาไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ที่จะมีรุ่นใหม่ ๆ ออกมาตลอด ส่วนรุ่นเก่าที่ความนิยมตก ก็จะถูกลดราคาลงเมื่อเวลาผ่านไป และเพราะราคาขายที่สูงตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น การตั้งราคาแบบนี้ทำให้ธุรกิจสามารถคืนทุนได้ในเวลารวดเร็ว
 
6. Penetration Pricing Strategy การตั้งราคาแบบเจาะตลาด
ในขณะที่กลยุทธ์ Skimming Pricing ตั้งราคาสูงในช่วงเริ่มขาย ตรงข้ามกัน Penetration Pricing เป็นการตั้งราคาสินค้าให้ถูกเพื่อรุกเข้าตลาดในช่วงเปิดตัว ซึ่งสามารถดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย และแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากเจ้าถิ่นในตลาดได้ แต่ก็ต้องมั่นใจว่าแผนการตลาดจะทำให้ลูกค้ายังอยู่กับเราต่อเมื่อเวลาผ่านไปและราคาสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการ Dump ราคาลงเพื่อเจาะตลาด กลยุทธ์นี้จึงเป็นแผนที่ไม่ยั่งยืนในระยะยาว ทั่วไปจะใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ หรือตามกำลัง (ทรัพย์) ที่มี
 
7. Value-Based Pricing Strategy การตั้งราคาตามมูลค่าสินค้า
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้ เป็นการกำหนดราคาตามมูลค่าของสินค้าหรือบริการซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ลูกค้ายินดีจ่าย นั่นคือธุรกิจจะตั้งราคาตามความสนใจของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งราคาที่ลูกค้ามองว่าสมเหตุสมผลนี้ก็มีโอกาสที่จะช่วยเพิ่ม Royalty ให้กับธุรกิจได้

เช่น ร้านอาหารที่ตั้งราคาได้เหมาะสมกับคุณภาพของวัตถุดิบ ถ้าวัตถุดิบดี แต่มีราคาสูง ก็ยังมีลูกค้ากลุ่มที่ยอมจ่าย แถมลูกค้ากลุ่มนี้ก็จะยิ่งเชื่อมั่นในแบรนด์ต่อไปด้วย
 
8. Psychological Pricing Strategy การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้มีเป้าหมายโดยการเล่นกับจิตวิทยามนุษย์เพื่อเพิ่มยอดขาย ตัวอย่างเช่น การตั้งราคาที่ลงท้ายด้วยเลข 9 หรือการซื้อ 1 แถม 1 รวมไปถึงการเลือกสีตัวอักษร ขนาดตัวอักษร ฟอนต์ และอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความรู้สึกในการตัดสินใจซื้อ

อย่างไรก็ตาม การตั้งราคาสินค้าต่ำ ๆ เพื่อจูงใจให้ซื้อ อาจจะไม่ใช่แผนที่ดีที่สุดเสมอไป อย่างน้อยธุรกิจต้องรู้ความคิดของกลุ่มเป้าหมายว่าจริง ๆ พวกเขาสนใจการมีส่วนลดของเรารึเปล่า หรือการจ่ายราคาสูงเพื่อให้ได้สินค้ามีคุณภาพเป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญมากกว่า
 
9. Geographic Pricing Strategy การตั้งราคาตามภูมิศาสตร์
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้ เป็นการตั้งราคาโดยพิจารณาถึงต้นทุนการขนส่ง มักเป็นสินค้าที่ผู้ขายต้องรับภาระค่าขนส่งเอง หรือสินค้าที่ต้องใช้วัตถุดิบจากพื้นที่เฉพาะ ไม่ใช่วัตถุดิบที่หาได้จากทุกที่ในโลก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://adaddictth.com/knowledge/9-Pricing-Strategies
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
Visual Control ในคลังสินค้า มี ประโยชน์อย่างไร ? เปลี่ยนพื้นที่วุ่นวายให้กลายเป็นระบบทำเงิน
เคยไหมครับที่ต้องปวดหัวกับปัญหาในคลังสินค้า? ไม่ว่าจะเป็นการหาของไม่เจอ, พนักงานหยิบสินค้าผิด, สต็อกไม่ตรง หรือความล่าช้าในการจัดส่ง ปัญหาเหล่านี้เปรียบเสมือนต้นทุนที่มองไม่เห็นซึ่งกัดกินกำไรของธุรกิจไปทีละน้อย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเปลี่ยนคลังสินค้าที่วุ่นวายให้กลายเป็นระบบที่ทำงานได้อย่างราบรื่นและแม่นยำ? คำตอบอยู่ในแนวคิดที่เรียกว่า "Visual Control" หรือ "การควบคุมด้วยการมองเห็น" ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการคลังสินค้าและบริการ Fulfillment ยุคใหม่ วันนี้เราจะมาดูกันว่า Visual Control มีประโยชน์และช่วยยกระดับธุรกิจของคุณได้อย่างไร
โก้(นักศึกษาฝึกงาน)
21 ก.ค. 2025
จัดคลังให้ปังด้วย ABC Analysis: เทคนิคลดต้นทุน เพิ่มความเร็วให้ธุรกิจขนส่ง
ในคลังสินค้าที่เต็มไปด้วยสินค้ามากมาย เคยเจอปัญหาเหล่านี้ไหมครับ? "ของชิ้นนี้อยู่ไหนนะ?", "ทำไมพนักงานใช้เวลาหาของนานจัง?", "สต็อกสินค้าบางตัวนอนนิ่งอยู่ในคลังมาเป็นปี" ปัญหาเหล่านี้คือตัวบั่นทอนประสิทธิภาพและเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น วันนี้เราจะมาแนะนำ "อาวุธลับ" ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังอย่าง ABC Analysis ที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่ง
ซาล(นักศึกษาฝึกงาน)
21 ก.ค. 2025
Small Data, Big Impact: เริ่มต้นจัดการข้อมูลสำหรับ SME อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในยุคที่ใครๆ ก็พูดถึง "Big Data" เจ้าของธุรกิจ SME โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในแวดวงโลจิสติกส์และแฟรนไชส์พัสดุ อาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัวและซับซ้อน แต่ความจริงแล้ว "ขุมทรัพย์" ที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั้นอยู่ในมือของคุณแล้ว นั่นคือ "Small Data" หรือข้อมูลขนาดเล็กที่เกิดขึ้นจากทุกกิจกรรมของธุรกิจคุณในแต่ละวัน
ฟ่าง (นักศึกษาฝึกงาน)
21 ก.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ