Ultrasonic Sensor ทำงานอย่างไร
อัพเดทล่าสุด: 10 ธ.ค. 2024
681 ผู้เข้าชม
หากกล่าวถึงการตรวจเช็คตำแหน่ง, เช็คระยะห่างระหว่างวัตถุ หรือ การตรวจเช็คผงแป้งหรือของเหลวประเภทต่างๆ เรามักจะนึกถึงเซนเซอร์อัลตร้าโซนิค (Ultrasonic Sensor) เป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ เพราะว่าเป็นเซนเซอร์ที่มีความสามารถอย่างรอบด้าน
เซนเซอร์ประเภทนี้มีความละเอียดในการทำงานที่ค่อนข้างสูง จะทำงานโดยไม่สนใจสีของวัตถุ / พื้นผิวของวัตถุ / วัตถุที่มีความโปร่งใส / พื้นที่ที่มีฝุ่น หมอกควัน หรือสิ่งสกปรกก็ยังสามารถทำงานได้ดี มีจุดบอดสัญญาณขนาดเล็ก ทำให้ทำงานด้วยความละเอียดสูง
ฟังก์ชั่นอัลตร้าโซนิค (Ultrasonic Function) ทำงานอย่างไร
เซนเซอร์อัลตร้าโซนิคตรวจเช็ควัตถุ โดยใช้หลักการสะท้อนไป-กลับของคลื่นเสียงจากเซนเซอร์ไปยังวัตถุเป้าหมาย จากนั้นแปลงค่าการสะท้อนของเสียงออกมารูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า คลื่นอัลตร้าโซนิคนั้นเดินทางรวดเร็วกว่าความเร็วของเสียงที่มนุษย์เราได้ยินเสียอีก เซนเซอร์อัลตร้าโซนิค ประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบ คือ
ตัวส่งเสียง (Transmitter)
-โดยใช้ผลึกเพียโซอิเล็กทริกในการส่งสัญญาณ และตัวรับเสียง (Receiver)
-รับค่าของสัญญาณที่เกิดจากการเดินทางไปและกลับจากวัตถุเป้าหมาย แปลงออกมาเป็นค่าทางไฟฟ้า หรือค่าระยะทาง
ตัวส่งเสียง (Transmitter)
-โดยใช้ผลึกเพียโซอิเล็กทริกในการส่งสัญญาณ และตัวรับเสียง (Receiver)
-รับค่าของสัญญาณที่เกิดจากการเดินทางไปและกลับจากวัตถุเป้าหมาย แปลงออกมาเป็นค่าทางไฟฟ้า หรือค่าระยะทาง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับเซนเซอร์อัลตร้าโซนิค
ในการเลือกมาใช้งาน ควรต้องรู้จักคำต่างๆ ดังนี้
1. จุดบอดสัญญาณ (Blind zone) ค่านี้ยิ่งมีขนาดน้อยเท่าไหร่ยิ่งดี จะช่วยให้ค่าที่วัดได้น่าเชื่อถือมากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้วัตถุเป้าหมายอยู่ในบริเวณนี้ เพราะจะวัดค่าผิดพลาดได้
2. ระยะการตรวจจับ (Operating scanning range) ระยะการทำงานของเซนเซอร์ เริ่มตั้งแต่หลังจุดบอดสัญญาณจนถึงตำแหน่งของวัตถุเป้าหมาย
3. ระยะตรวจจับสูงสุดการทำงาน (Limiting scanning range) ระยะการทำงานสูงสุดที่เซนเซอร์สามารถทำงานได้ โดยที่ยังให้คุณสมบัติการสะท้อนค่ากลับได้ดีอยู่
4. ช่วงระยะการตรวจจับ (Detection range) ช่วงการทำงานของเซนเซอร์ เริ่มตั้งแต่หลังจุดบอดสัญญาณจนถึงระยะตรวจจับสูงสุดของเซนเซอร์
1. จุดบอดสัญญาณ (Blind zone) ค่านี้ยิ่งมีขนาดน้อยเท่าไหร่ยิ่งดี จะช่วยให้ค่าที่วัดได้น่าเชื่อถือมากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้วัตถุเป้าหมายอยู่ในบริเวณนี้ เพราะจะวัดค่าผิดพลาดได้
2. ระยะการตรวจจับ (Operating scanning range) ระยะการทำงานของเซนเซอร์ เริ่มตั้งแต่หลังจุดบอดสัญญาณจนถึงตำแหน่งของวัตถุเป้าหมาย
3. ระยะตรวจจับสูงสุดการทำงาน (Limiting scanning range) ระยะการทำงานสูงสุดที่เซนเซอร์สามารถทำงานได้ โดยที่ยังให้คุณสมบัติการสะท้อนค่ากลับได้ดีอยู่
4. ช่วงระยะการตรวจจับ (Detection range) ช่วงการทำงานของเซนเซอร์ เริ่มตั้งแต่หลังจุดบอดสัญญาณจนถึงระยะตรวจจับสูงสุดของเซนเซอร์
สรุปข้อดีของเซนเซอร์อัลตร้าโซนิค
1. เป็นการตรวจเช็คที่ไม่สัมผัส
2. แม้จะมีทั้งฝุ่น หมอกควัน หรือสิ่งสกปรก ก็ยังสามารถทำงานได้
3. ทำงานโดยไม่สนใจ สีของวัตถุ / พื้นผิวของวัตถุ / วัตถุที่มีความโปร่งใส / วัตถุที่มันเงาหรือสะท้อนแสง
4. ตรวจจับวัตถุขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำ
5. เซนเซอร์มีหลายรูปแบบทั้งทรงสี่เหลี่ยม และทรงกระบอก ให้เลือกใช้งาน
6. มีรูปแบบสัญญาณของเอ๊าท์พุตหลายแบบ
1. เป็นการตรวจเช็คที่ไม่สัมผัส
2. แม้จะมีทั้งฝุ่น หมอกควัน หรือสิ่งสกปรก ก็ยังสามารถทำงานได้
3. ทำงานโดยไม่สนใจ สีของวัตถุ / พื้นผิวของวัตถุ / วัตถุที่มีความโปร่งใส / วัตถุที่มันเงาหรือสะท้อนแสง
4. ตรวจจับวัตถุขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำ
5. เซนเซอร์มีหลายรูปแบบทั้งทรงสี่เหลี่ยม และทรงกระบอก ให้เลือกใช้งาน
6. มีรูปแบบสัญญาณของเอ๊าท์พุตหลายแบบ
BY : Jim
ที่มา : http://jwtech.co.th/activity/?p=881
Tags :
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาของการใช้ Chatbot แบบเดิมตอบวนลูปเดิม ๆเข้าใจแค่คำถามที่ตั้งไว้ลูกค้าพิมพ์ผิดนิดเดียว = ไม่เข้าใจต้องกดเลือกเมนูหลายขั้น กว่าจะเจอคำตอบสุดท้ายลูกค้าหงุดหงิด แล้วขอคุยกับแอดมินอยู่ดี
4 ก.ค. 2025
AI กำลังเข้ามาช่วยเปลี่ยนระบบติดตามพัสดุ (Tracking) แบบเดิมให้แม่นยำและละเอียดกว่าที่เคย
4 ก.ค. 2025
เคยไหม? ส่งของแล้วลูกค้าบอก ยังไม่ได้รับ พอเช็กกลับไป ของหายระหว่างทาง ไม่รู้หายตอนไหน ไม่รู้ว่าใครเป็นคนรับผิดชอบ นี่คือปัญหาใหญ่ในโลจิสติกส์และ AI กำลังกลายเป็น ผู้ช่วยสืบสวน ที่แม่นยำกว่าคนหลายเท่า
4 ก.ค. 2025