จัดการสต๊อกให้ดีขึ้นโดยการทลายการทำงานแบบ silo
อัพเดทล่าสุด: 22 ต.ค. 2024
298 ผู้เข้าชม
การทำงานแบบ silo คืออะไร?
เมื่อแผนกต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือองค์ความรู้ระหว่างกัน บางทีทำซ้ำกันบ้าง ขัดกันบ้าง เป็นปัญหาที่หลายๆ องค์กรต้องเจอโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานต่ำลง ขวัญกำลังใจพนักงานตก และอาจส่งผลถึงขั้นทำลายวัฒนธรรมองค์กรได้
การทำงานแบบ silo กับการจัดการสินค้าคงคลัง (สต๊อก)
เนื่องจากการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีคือการจัดการให้สต๊อกอยู่ในปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณการใช้ ไม่เหลือค้างเก็บไว้ในคลังนานๆเพราะตัวสินค้าคงคลังนั้นมีต้นทุนด้วยตัวของมันเองและมีต้นทุนในการจัดเก็บ เพราะฉะนั้นเรื่องของปริมาณในการจัดเก็บสต๊อกหรือที่เรียกว่า safety stock, เวลาในการสั่งซื้อของ, ระยะเวลาในการจัดส่งของ ล้วนแล้วเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนในองค์กรทั้งสิ้น กล่าวคือ ตั้งแต่แผนกการขาย (Sales) ที่ไปคุยกับลูกค้ามา แผนกนี้จะทราบว่าลูกค้าต้องการอะไร ปริมาณเท่าไหร่ และเมื่อไหร่ที่ต้องการของ ทางแผนกการขายจะต้องมาคุยกับแผนกวางแผนหรือ Planning เพื่อที่จะดูว่าศักยภาพในการผลิตขององค์กรรองรับความต้องการของลูกค้าได้ไหม จากนั้นแผนกวางแผนก็ต้องไปคุยกับแผนกจัดซื้อ (Procurement) ว่าของเพียงพอไหม หากไม่เพียงพอ ต้องใส่อะไรเพิ่ม เป็นจำนวนเท่าไหร่บ้าง และคุยกับแผนกการผลิต (Production) ถึงกำลังการผลิตว่าสอดคล้องกับความต้องการไหม
จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า หากพนักงานในแผนกเหล่านี้ทำงานแบบ silo จะทำให้ข้อมูลมันไม่ไหลไปตามห่วงโซ่การผลิต ผลที่ตามมาคือเกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างความต้องการของลูกค้าและศักยภาพการผลิตขององค์กร สุดท้ายลูกค้าจะเป็นผู้แบกภาระนั้นไว้พร้อมกับชื่อเสียงขององค์กรที่ไม่สามารถจัดส่งของได้ตามเวลาที่กำหนด
ทลายการทำงานแบบ silo ด้วยการทำ CPFR (Collaborative, Planning, Forecasting, Replenishment)
CPFR (Collaborative, Planning, Forecasting, Replenishment) คือแผนการสร้างความร่วมมือ (Collaborative), การวางแผน (Planning) , การพยากรณ์ (Forecasting) และการเติมเต็มสต๊อก (Replenishment) เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอในการผลิตและจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่เราจะไปทำ CPFR ให้มีประสิทธิภาพได้นั้น องค์กรควรทลายการทำงานแบบ silo ออกไปให้ได้ก่อน องค์กรอาจจะเริ่มจาก
สรุป
จะเห็นได้ว่าการทำงานแบบ silo หรือต่างคนต่างทำงานของตนเอง ไม่มีความร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว จะทำให้ผลที่ตามมานั้นไม่ใช่แค่ performance ของซัพพลายเชนและองค์กรเสียเชื่อเสียง แต่ผลกระทบหลักเลยคือเราไม่สามารถตอบโจทย์และทำตามความคาดหวังของลูกค้าได้ เพราะฉะนั้นการทลายการทำงานแบบ silo ได้จะเกิดผลดีต่อองค์กรอย่างมากมาย รวมไปถึงการบริหารสต๊อกให้ดีขึ้นด้วย
BY : ICE
เมื่อแผนกต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือองค์ความรู้ระหว่างกัน บางทีทำซ้ำกันบ้าง ขัดกันบ้าง เป็นปัญหาที่หลายๆ องค์กรต้องเจอโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานต่ำลง ขวัญกำลังใจพนักงานตก และอาจส่งผลถึงขั้นทำลายวัฒนธรรมองค์กรได้
การทำงานแบบ silo กับการจัดการสินค้าคงคลัง (สต๊อก)
เนื่องจากการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีคือการจัดการให้สต๊อกอยู่ในปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณการใช้ ไม่เหลือค้างเก็บไว้ในคลังนานๆเพราะตัวสินค้าคงคลังนั้นมีต้นทุนด้วยตัวของมันเองและมีต้นทุนในการจัดเก็บ เพราะฉะนั้นเรื่องของปริมาณในการจัดเก็บสต๊อกหรือที่เรียกว่า safety stock, เวลาในการสั่งซื้อของ, ระยะเวลาในการจัดส่งของ ล้วนแล้วเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนในองค์กรทั้งสิ้น กล่าวคือ ตั้งแต่แผนกการขาย (Sales) ที่ไปคุยกับลูกค้ามา แผนกนี้จะทราบว่าลูกค้าต้องการอะไร ปริมาณเท่าไหร่ และเมื่อไหร่ที่ต้องการของ ทางแผนกการขายจะต้องมาคุยกับแผนกวางแผนหรือ Planning เพื่อที่จะดูว่าศักยภาพในการผลิตขององค์กรรองรับความต้องการของลูกค้าได้ไหม จากนั้นแผนกวางแผนก็ต้องไปคุยกับแผนกจัดซื้อ (Procurement) ว่าของเพียงพอไหม หากไม่เพียงพอ ต้องใส่อะไรเพิ่ม เป็นจำนวนเท่าไหร่บ้าง และคุยกับแผนกการผลิต (Production) ถึงกำลังการผลิตว่าสอดคล้องกับความต้องการไหม
จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า หากพนักงานในแผนกเหล่านี้ทำงานแบบ silo จะทำให้ข้อมูลมันไม่ไหลไปตามห่วงโซ่การผลิต ผลที่ตามมาคือเกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างความต้องการของลูกค้าและศักยภาพการผลิตขององค์กร สุดท้ายลูกค้าจะเป็นผู้แบกภาระนั้นไว้พร้อมกับชื่อเสียงขององค์กรที่ไม่สามารถจัดส่งของได้ตามเวลาที่กำหนด
ทลายการทำงานแบบ silo ด้วยการทำ CPFR (Collaborative, Planning, Forecasting, Replenishment)
CPFR (Collaborative, Planning, Forecasting, Replenishment) คือแผนการสร้างความร่วมมือ (Collaborative), การวางแผน (Planning) , การพยากรณ์ (Forecasting) และการเติมเต็มสต๊อก (Replenishment) เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอในการผลิตและจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่เราจะไปทำ CPFR ให้มีประสิทธิภาพได้นั้น องค์กรควรทลายการทำงานแบบ silo ออกไปให้ได้ก่อน องค์กรอาจจะเริ่มจาก
- การให้พนักงานแผนกต่างๆมองเป้าหมายเดียวกัน (Common goal) ว่าคือเป้าหมายอะไร เช่น เป้าหมายในการส่งสินค้าให้ลูกค้าตามเวลาที่กำหนดไว้
- การมองเพื่อนต่างแผนกเป็นลูกค้าภายใน (Internal customer) และซัพพลายเออร์ภายใน (Internal supplier) ซึ่งกันละกันเพื่อที่จะส่งมอบงานที่ได้ตกลงกันไว้อย่างมีคุณภาพ
- การจัดทำ Team building เพื่อให้พนักงานในองค์กรมีโอกาสรู้จักกันมากขึ้น ทำกิจกรรมร่วมกันและละลายพฤติกรรมกัน ทำให้พนักงานจากหลายๆแผนกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
สรุป
จะเห็นได้ว่าการทำงานแบบ silo หรือต่างคนต่างทำงานของตนเอง ไม่มีความร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว จะทำให้ผลที่ตามมานั้นไม่ใช่แค่ performance ของซัพพลายเชนและองค์กรเสียเชื่อเสียง แต่ผลกระทบหลักเลยคือเราไม่สามารถตอบโจทย์และทำตามความคาดหวังของลูกค้าได้ เพราะฉะนั้นการทลายการทำงานแบบ silo ได้จะเกิดผลดีต่อองค์กรอย่างมากมาย รวมไปถึงการบริหารสต๊อกให้ดีขึ้นด้วย
BY : ICE
ที่มา : https://supplychainguru.co.th
บทความที่เกี่ยวข้อง
ในโลกของคลังสินค้าแบบเดิม WMS (Warehouse Management System) คือระบบจัดการสต็อกที่ต้อง มีคนสั่งงาน แต่ในยุคที่ AI เข้ามา WMS ไม่ใช่แค่รับคำสั่ง แต่คือ ระบบที่คิด วิเคราะห์ และตัดสินใจได้เอง แบบอัตโนมัติ
11 ก.ค. 2025
“ปล่อยเช่าคลัง” หรือ “ทำ Fulfillment ด้วยตัวเอง” มาดูความแตกต่าง ข้อดีข้อเสียของแต่ละโมเดลกันก่อน
11 ก.ค. 2025
การตัดสินใจลงทุนในคลังสินค้า ไม่ว่าจะสร้างเองหรือเช่าใช้ เป็นการตัดสินใจที่มีต้นทุนสูง การรู้ “จุดคุ้มทุน” (Break-Even Point) จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันคือคำตอบว่า “เมื่อไรที่คลังของเราจะเริ่มทำกำไร?”
11 ก.ค. 2025