share

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับพิธีการศุลกากร

Last updated: 30 Aug 2024
18 Views
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับพิธีการศุลกากร

กรมศุลกากร

    ในปัจจุบันกรมศุลกากร ได้รับบทบาทและหน้าที่จากเดิมที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาในและส่งออกไป นอกราชอาณาจักรมาเป็นการมุ่งเน้นที่จะพัฒนาส่งเสริมด้านการค้าระหว่างประเทศและการส่งออกของไทยที่มีศักยภาพ ในการแข่งขันกับตลาดการค้าของโลกได้ ควบคู่กันนั้นกรมศุลกากร ได้พัฒนาระบบงานการจัดองค์กรการ นำระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการบริหารงาน ตลอดจนพัฒนา ประสิทธิภาพของข้าราชการให้มีความสอดคล้องกับความเจริญ ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากการพัฒนาระบบงานต่างๆแล้ว กรมศุลกากรได้ปรับปรุงขยายหน่วยงานต่างๆ รองรับกับ ปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น กรมศุลกากรได้จัดสร้างอาคารที่ทำการอีกหนึ่งหลัง เป็นอาคารสำนักงานสูง 16 ชั้น เรียกว่า อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร ทำพิธีเปิดอาคารเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2539

พิกัดศุลกากร HS Code คืออะไร

    พิกัดศุลกากร หรือ HS Code (Harmonized System) มีการยอมรับและประกาศใช้โดยองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) เป็นความร่วมมือของสมาชิกกว่า 176 ประเทศ รวมประเทศไทยของเราด้วย ที่เข้าร่วมมาตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ซึ่งถือเป็นระบบสากลทางการค้าระหว่างประเทศ สำหรับประเทศไทย มีการนำระบบพิกัดศุลกากรมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 แทนที่รหัสพิกัดศุลกากรของ Customs Co-operation Council ที่เราใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503

    ระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์จำแนกประเภทสิ่งของเป็น 21 หมวด และ 97 ตอน เป็นการกำหนดตัวเลขทั้งหมด 11 หลัก โดย 6 หลัก แรกจะเป็นเลขที่กำหนดขึ้นโดยองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization : WCO) ระบบการจำแนกชนิดสินค้าได้รับการยอมรับจากประเทศภาคีสมาชิกของ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เพื่อนำไปใช้เป็นสากลในทางการค้า และ 2 หลักถัดมาจะเป็นการแสดงพิกัดฮาร์โมไนซ์อาเซียน (CEPT Code) ส่วนเลข 3 หลักหลังนั้นจะเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศนั่นเอง ซึ่งสามารถแบ่งตัวเลขออกเป็นหมวดต่าง ๆ ได้ดังนี้

เลข 4 ตัวแรก

มาจากเลขชุด 6 ตัวของพิกัดศุลกากร จะเป็นประเภท (Heading No.) แยกเป็น

 - 2 ตัวแรกเป็นเลขลำดับของ ตอน
 - 2 ตัวหลังเป็นเลขลำดับของ ประเภท ที่อยู่ในตอนนั้น
ตัวอย่างเช่น ตอนที่ 29 กำหนดให้เป็นเคมีภัณฑ์อินทรีย์ และประเภทที่ 29.07 คือ ฟีนอลและฟีนอลแอลกอฮอลล์

เลข 4 ตัวต่อมา

เป็นลำดับของ ประเภทย่อย (Subheading No.) ประกอบไปด้วย

- เลข 2 ตัวแรก เป็นเลข 2 ตัวที่เหลือจากเลขชุด 6 ตัวของพิกัดศุลกากร
- เลข 2 ตัวหลัง เป็นประเภทย่อยระบบพิกัด
เลข 2 ตัวหลังนี้ เช่น ประเทศไทยใช้ระบบพิกัดศุลกากรอาเซียน (CEPT Code / the AHTN Protocol) ก็จะเป็นเลขขอพิกัดนี้ เมื่อรวมกับข้อ 1 จะเป็น 8 ตัว (ส่วนใหญ่เป็นเลข 8 ตัว) ตัวอย่างเช่น 2907.10.00 คือ ฟีนอล (ไฮดรอกซิเบนซิน)

เลข 3 ตัวสุดท้าย

 คือ เลขรหัสสถิติ (Statistics code) ซึ่งเป็นรหัสสินค้า (Code for goods) และรหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) โดยตัวเลข 3 หลักสุดท้าย จะเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ ทำให้รวมแล้วมี 11 ตัว (มาจากข้อ 1 และข้อ 2 แล้วต่อท้ายอีก 3 ตัวนั่นเอง) และที่ต่อท้ายมากับเลขชุด 11 หลักของพิกัดรหัสสถิติ คือ รหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) เช่น KGM (กิโลกรัม), C62 (ชิ้น/หน่วย), LTR (ลิตร) หรือ MTR (เมตร) เป็นต้น

การหาพิกัดศุลกากร และรหัสพิกัดสินค้า

เราสามารถค้นหาพิกัดศุลกากร ได้ที่เว็บไซต์กรมศุลกากร ค้นหาพิกัด หรือที่ Tariff e-service หรือค้นหาผ่านทาง Mobile Application ได้แล้วนะครับ ภายใต้ชื่อ HS Check ทั้งบน Google Play และ App Store

การดำเนินงานด้านมาตรฐานพิกัดอัตราศุลกากร ของกรมศุลกากร อยู่ภายใต้การกำกับของรองอธิบดีที่รับผิดชอบและสำนักพิกัดอัตราศุลกากร กำหนดไว้เป็นสองระดับคือด้านนโยบายพิกัดฯ และด้านบริการมาตรฐานพิกัดฯ 

 

 

 

 

BY : NUN

ที่มา : ecs-support.github.io

บทความที่เกี่ยวข้อง
9 ข้อ ที่ต้องคำนึงถึงเมื่อเตรียมขนส่งสินค้า Oversized
สินค้า Oversized คือ สินค้าหรือวัตถุที่มีขนาดหรือมิติที่เกินกว่าข้อกำหนดมาตรฐานของการขนส่งปกติ ซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากจนต้องใช้ยานพาหนะหรืออุปกรณ์เฉพาะในการขนส่ง
11 Sep 2024
ข้อแนะนำในการออกแบบคลังสินค้าอันตราย
การออกแบบคลังสินค้าอันตรายต้องให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยง การป้องกันอุบัติเหตุ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย
11 Sep 2024
บริษัทประเภทใดที่เหมาะสมกับการใช้งานโลจิสติกส์
แทบทุกธุรกิจจำเป็นต้องใช้บริการโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจเหล่านี้
10 Sep 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ