แชร์

Rack วางสินค้ามีกี่ประเภท

อัพเดทล่าสุด: 30 ก.ค. 2024
535 ผู้เข้าชม

Rack วางสินค้ามีกี่ประเภท

     ในการจัดเก็บสินค้าแต่ละครั้ง คงไม่มีใครอยากให้เกิดความไม่เป็นระเบียบจนเกิดผลกระทบต่อการทำงาน ดังนั้นเพื่อให้ทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างราบรื่น การเลือกชั้นวางสินค้า หรือ Selective Rack คือหนึ่งในตัวช่วยที่สามารถนำมาใช้ได้ เพื่อจัดระเบียบการวางสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ จัดเรียงอย่างเป็นระบบ ซึ่งยังส่งผลต่อการรักษาคุณภาพของสินค้าและง่ายต่อการขนส่งอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องจัดการสินค้าขนาดใหญ่

     วันนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าประเภทของชั้นวางของมีกี่ประเภท เพื่อตอบโจทย์การเก็บสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อในการทำธุรกิจได้

1. ชั้นวางสินค้าแบบ Push Back

     เป็นชั้นวางสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีความลึก เหมาะสำหรับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นการผสมผสานระหว่างชั้นวางสินค้าแบบ Drive-In หรือ Drive Through และ ชั้นวางสินค้าแบบ FIFO ที่ตอบโจทย์การจัดสต็อกสินค้าจำนวนมาก นอกจากนี้ ชั้นวางของประเภทนี้ยังมีแท่นสำหรับรองรับหรือวางสินค้า (Pallet) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง

2. ชั้นวางสินค้าแบบเคลื่อนที่ (Mobile Rack)

     ชั้นจัดเก็บสินค้าแบบเคลื่อนที่ได้นั้นเอื้อประโยชน์ในการจัดสรรพื้นที่ภายในคลังสินค้า รวมถึงยังสามารถช่วยให้เข้าถึงสินค้าได้อย่างสะดวกและปลอดภัย โดยระบบจัดเก็บสินค้าประเภทนี้จะมีการขับเคลื่อนด้วยล้อไฟฟ้า ที่นิยมใช้กับงานอุตสาหกรรมประเภทสารเคมี, สี, ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า เป็นต้น

3. ชั้นวางสำหรับวัสดุยาว (Cantilever Rack)

     ชั้นวางสินค้าที่มีจุดเด่นในเรื่องโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา และสามารถบรรจุน้ำหนักได้มาก เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีพื้นที่ขนาดเล็กหรือเพดานต่ำ โดยสามารถใช้ปรับสัดส่วนของแต่ละชั้นได้ตามความเหมาะสม แถมยังช่วยเพิ่มความมั่นคงในการใช้งาน และง่ายต่อการติดตั้งอีกด้วย

4. ชั้นวางสินค้าแบบ Micro Rack

     เป็นชั้นวางสินค้าอเนกประสงค์ทั่วไป เหมาะสำหรับการวางสินค้าที่มีขนาดเล็กถึงกลาง เนื่องจากสามารถรับน้ำหนักได้สูงสุดประมาณ 250 กิโลกรัมต่อชั้น นอกจากนี้ ชั้นวางแบบ Micro Rack ยังสามารถปรับระดับแผ่นให้เหมาะสมกับประเภทและขนาดของสินค้า เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าตกหล่นได้อีกด้วย พร้อมจุดเด่นในเรื่องโครงสร้างแบบ Knock-Down ที่ง่ายต่อการขนย้ายและติดตั้ง

5. ชั้นวางขนาดกลาง (Medium Shelving)

     ชั้นวางสินค้าขนาดกลางที่มากด้วยประโยชน์ใช้สอย ไม่ว่าคุณจะใช้สำหรับวางโชว์หรือเพื่อขายสินค้า หรือจะใช้เก็บสินค้าภายในคลังสินค้าก็ได้อีกด้วย โดยจะสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 500 กิโลกรัมต่อชั้น

6. ชั้นวางซ้อนหลายชั้น (Multi-Tier Shelving)

     ชั้นวางของขนาดกลางที่ใช้พื้นที่ในแนวตั้ง ที่เชื่อมต่อกับราวกันตก ชานชาลา และบันไดขึ้น-ลง โดยโครงสร้างทั้งหมดสามารถถอดประกอบได้ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้งาน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้าอีกด้วย เหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าที่มีขนาดเล็กหรือกลาง รวมถึงขนาดที่ไม่แน่นอน เช่น ชิ้นส่วน อะไหล่ หรือ วัสดุต่าง ๆ เป็นต้น

 

 

BY : NOON (CC)

ที่มาของข้อมูล : ros-thailand


บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีคำนวณ Efficiency ของพื้นที่จัดเก็บแบบ Racking พร้อมเทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพคลัง!
วิธีคำนวณ Efficiency ของพื้นที่จัดเก็บแบบ Racking พร้อมเทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพคลัง!
Notify.png พี่ปี
22 เม.ย. 2025
Warehouse 5.0: ภาพอนาคตของคลังสินค้าที่ยั่งยืนและอัตโนมัติเต็มรูปแบบ
ในยุคที่เทคโนโลยีไม่เพียงแค่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ยังต้องตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน “Warehouse 5.0” ได้ก้าวข้ามแนวคิดแบบดั้งเดิมของคลังสินค้าไปไกลกว่าที่เคยเป็นมา ไม่ใช่แค่เรื่องของระบบอัตโนมัติเท่านั้น แต่คือการสร้างสมดุลระหว่าง “เทคโนโลยีขั้นสูง” กับ “ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์”
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
22 เม.ย. 2025
คลังสินค้าอัจฉริยะ: เมื่อ AI และหุ่นยนต์เข้ามาปฏิวัติการจัดเก็บ
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คลังสินค้าซึ่งเคยเป็นแค่พื้นที่เก็บของธรรมดา กำลังกลายเป็น "คลังสินค้าอัจฉริยะ" ด้วยการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์อัตโนมัติ เปลี่ยนภาพของการจัดเก็บและการบริหารสินค้าจากแรงงานคน มาเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และตอบสนองความต้องการของธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างน่าทึ่ง
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
22 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ