แชร์

ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า มีอะไรบ้าง

อัพเดทล่าสุด: 29 ก.ค. 2024
2803 ผู้เข้าชม

ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า

  ในปัจจุบันการขนส่งมีความสำคัญต่อธุรกิจเกือบทุกประเภททั้งในส่วนของการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขายและการจัดจำหน่าย ในหลายธุรกิจต้นทุนจากการขนส่งนับเป็นต้นทุนที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์/บริการ 

ต้นทุนของการขนส่ง (Cost of Transportation)

  ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภท ตามลักษณะของกิจกรรมที่ เกิดส่งผลให้เกิดต้นทุน ดังนี้

ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) 

  เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆตามการผลิต ไม่ว่าจะทำการผลิตหรือไม่ผลิตก็ตาม ต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนที่คงที่ ต้นทุนนี้ถึงแม้จะมีการผลิตเป็นจำนวนมากหรือจำนวนน้อยเพียงใด ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในอัตราเท่าเดิมอยู่ตลอดเวลา เช่น ค่าเช่า ที่ดิน อาคาร ค่าประกันภัย ค่าทะเบียนยานพาหนะ ค่าเสื่อมราคา เงินเดือนประจำ ค่าใบอนุญาตเช่าสถานที่  เป็นต้น ในบางครั้งต้นทุนประเภทนี้อาจเรียกชื่อได้อย่างอื่นอีก เช่น Constant Cost หรือ Overhead Cost ต้นทุนชนิดนี้แม้จะให้บริการมากน้อยเพียงใดหรือไม่ได้ให้บริการเลย ก็ต้องเสียเป็นจำนวนเท่ากัน เป็นต้น

ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) 

  ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของการผลิต อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นได้อีก คือต้นทุนดำเนินงาน (Operation Cost) ถ้าให้บริการขนส่งมากต้นทุนชนิดนี้ก็มากด้วย ถ้าผลิตบริการขนส่งน้อยต้นทุนนี้ก็น้อย ถ้าไม่ได้ให้บริการเลยก็ไม่ต้องจ่ายต้นทุนนี้เลย ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำมันหล่อลื่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เป็นต้น

ต้นทุนรวม (Total Cost หรือ Joint Cost)

  ต้นทุนรวม (Total Cost หรือ Joint Cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยรวมเอาต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรมารวมกัน ถือเป็นต้นทุนของการบริการทั้งหมด ในการขนส่งถือว่าเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้า โดยไม่สามารถจะแยกออกได้ว่าต้นทุนของการขนส่งสินค้าหรือบริการแต่ละอย่างแต่ละประเภทนั้นเป็นเท่าใด เช่น การขนส่งทางรถไฟ โดยรถขบวนหนึ่งอาจมีทั้งผู้โดยสาร สินค้าและบริการอยู่ในขบวนเดียวกัน

ต้นทุนเที่ยวกลับ (Back Haul Cost)

  ต้นทุนเที่ยวกลับ (Back Haul Cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ได้รวมเอาลักษณะของค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เข้าไปด้วย ถือเป็นค่าชดเชยที่ต้องทำให้เสียโอกาสขึ้น ในกรณีของการขนส่งหมายถึง การที่ต้องบรรทุกผู้โดยสาร สินค้าหรือบริการ ไปส่งยังจุดหมายปลายทางแล้ว ในเที่ยวกลับนั้นไม่ได้บรรทุกอะไรกลับมาเลย กรณีนี้จึงต้องมีการคิดถึงต้นทุนเที่ยวกลับรวมไว้ในการคิดต้นทุนค่าบริการขนส่งด้วย

 

 

BY : NUN

ที่มาat-once


บทความที่เกี่ยวข้อง
คลังสินค้าแบบ Just-in-Time: ประหยัดจริงหรือเสี่ยงเกินไป?
หลายบริษัทเริ่มหันมาใช้ระบบคลังสินค้าแบบ Just-in-Time (JIT) เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน แต่ระบบนี้ก็มีคำถามตามมาว่า… “มันคุ้มค่าจริงไหม
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
17 ก.ค. 2025
การพัฒนางานด้วยองค์ความรู้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากน้อยเพียงใด
มากกว่าแค่ทำงานไว: องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากแค่ไหน? | Blog เราทุกคนต่างมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบางคนถึงสามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นและก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่บางคนยังคงยุ่งวุ่นวายอยู่กับงานกองโตในแต่ละวัน? คำตอบไม่ได้อยู่ที่การทำงานหนักขึ้น แต่อยู่ที่ "สินทรัพย์ที่มองไม่เห็น" นั่นคือ องค์ความรู้
ซาล(นักศึกษาฝึกงาน)
16 ก.ค. 2025
ด้านองค์ความรู้ในการพัฒนางานด้านการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ(copy)
องค์ความรู้ในการพัฒนางานด้านการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ สามารถครอบคลุมเนื้อหาทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพของระบบการขนส่ง ทั้งในด้านเวลา ต้นทุน ความปลอดภัย และการบริการ โดยสามารถสรุปได้เป็นหัวข้อสำคัญ ๆ
ใบบัว ( นักศึกษาฝึกงาน )
16 ก.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ