Flow การทำงานในคลังสินค้า มีอะไรบ้าง
Flow การทำงานในคลังสินค้า มีอะไรบ้าง
1. การรับสินค้าเข้า
กระบวนการแรกคือ การรับสินค้าเข้าคลังต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าก่อนรับเข้าเสมอ เพื่อลดข้อผิดพลาด โดยตรวจเช็คอย่างละเอียด หลีกเลี่ยงการรับเข้าสินค้าที่เสียหาย หรืออาจออกข้อกำหนดกับทางซัพพายเออร์ในด้านการแพ็ค
2. การจัดเก็บสินค้า
การจัดเก็บสินค้าในคลัง ต้อมีการบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดี การจัดสินค้าขึ้นวางบนชั้น ควรวางสินค้าประเภทเดียวกันหรือชนิดเดียวกันบนชั้นวางเดียวกัน เพื่อให้การค้นหาสะดวกรวดเร็ว หรือนำโปรแกรมบริหารจัดการคลังสินค้าเข้ามาช่วยนับและติดบาร์โค้ดสินค้าทุกชิ้น ทำให้เจอตำแหน่งหรือพิกัดของสินค้าได้รวดเร็ว
3. การหยิบสินค้า
การบริหารคลังสินค้าในการหยิบสินค้า แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การหยิบสินค้าตามคำสั่งซื้อ เมื่อมีออเดอร์หรือมีคำสั่งซื้อเข้ามาจะหยิบสินค้าตามออเดอร์นั้นๆ ส่วนอีกหนึ่งวิธีคือ การหยิบสินค้าแบบกลุ่ม มีการจัดกลุ่มคำสั่งซื้อหลายรายการไว้ด้วยกัน จากนั้นหยิบสินค้าตามกลุ่มคำสั่งซื้อ เมื่อเสร็จแล้วค่อยมาแบ่งตามออเดอร์
4. แพ็คสินค้าและส่งออก
การแพ็คสินค้าเพื่อจัดส่ง ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ทีมงานจะต้องผ่านการเทรนมาอย่างดี แพ็คสินค้าได้คุณภาพป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าคือการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสามารถทำประกันสินค้าไว้เพื่อลดความเสียหายของสินค้าในระหว่างการจัดส่งได้
5. การคืนสินค้า
การคืนสินค้าจริงๆ มีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน มีหลักการที่ต้องปฏิบัติตาม เช่น ลูกค้าที่มีความประสงค์คืนสินค้าต้องปฏิบัติตามนโยบายการคืนสินค้า ทางธุรกิจหรือร้านค้าออนไลน์เองต้องมีข้อกำหนดที่รอบคอบสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมเพื่อลดโอกาสในการคืนสินค้า มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขการส่งคืน อาจรับเข้าสต็อกใหม่ ทำลาย รีไซเคิล หรือส่งคืนผู้ผลิต เป็นต้น
6. ตรวจสอบสินค้า
การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการตรวจสอบสินค้าหรือการเช็คสต็อกสินค้า ซึ่งต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เช่น เช็คสต็อกทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือนเพื่อให้ทราบจำนวนสินค้าคงคลังที่แท้จริง การตรวจสอบหรือนับสต็อกสินค้าทำได้ง่าย ด้วยเครื่องสแกนบาร์โค้ด
7. รายงานสถิติ
การจัดทำรายงานสถิติทำให้มองเห็นภาพรวมที่ชัดเจนมากขึ้น ปัจจุบันการจัดทำรายงานไม่ยากอีกต่อไปเพราะโปรแกรมบริหารจัดการคลังสินค้าสามารถสรุปผลในภาพรวมได้ ทำรายงานข้อมูลให้แบบอัตโนมัติ ประหยัดเวลาในการทำงานเพิ่มความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูล สามารถนำข้อมูลจากรายงานไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการทำงานให้มีประสิทธิภาพได้ในอนาคต
ที่มา : PACKHAI