สำหรับประเทศไทย ภาพของ Smart Logistics เองก็ถือว่าน่าจับตามองไม่น้อยเช่นกัน เพราะด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีภาคโรงงานและการผลิต, ภาคการเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญ
การใช้หุ่นยนต์ภายในคลังสินค้าจะกลายเป็นแนวทางหลักสำหรับการจัดการ Warehouse ของธุรกิจทั่วโลกในอนาคต โดย Gartner คาดว่าภายในปี 2026 ธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่กว่า 75% จะมีการใช้หุ่นยนต์ภายในคลังสินค้าเพื่อปรับปรุงกระบวนการในส่วนนี้ให้กลายเป็น Automation
แนวโน้มดังกล่าวนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ และในประเทศไทยเองที่มีโครงข่าย 5G ที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ ก็เริ่มมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้งานจริงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การบริหารจัดการยานพาหนะขนส่งโดยสารนั้นได้กลายเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาในประเทศไทย จนกลายเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไปแล้ว เพื่อช่วยให้สามารถติดตามและวางแผนด้านการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีในการติดตามตำแหน่งของวัตถุดิบ, สินค้า, หีบห่อ และการบริหารจัดการคลังสินค้าในภาพรวมนั้นจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ต่อยอดในเชิงต่างๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทำงานร่วมกับระบบ Smart Robot
อีกหนึ่งเทรนด์ที่ถูกแยกออกมาต่างหากนั้นก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนของ Last-Mile Delivery ที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ผ่านมา โดย Last-Mile Delivery นั้นจะมีความแตกต่างจาก Fleet Management เป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบของยานพาหนะ, เส้นทางที่ใช้, ระยะเวลาในการขนส่ง, กระบวนการในการบันทึกข้อมูลรับส่งของ, ผู้ให้บริการ ไปจนถึงรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ
เมื่อยานพาหนะนั้นคือหัวใจหลักของการขนส่งและโลจิสติกส์ การดูแลรักษายานพาหนะเหล่านี้ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องยาวนานจึงเป็นหัวใจสำคัญ ดังนั้นเทคโนโลยีด้านการทำ Predictive Maintenance ที่เคยถูกนำไปใช้ในการซ่อมบำรุงดูแลรักษาเครื่องจักร จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้กับยานพาหนะด้วยเช่นกัน โดยต้องอาศัยความสามารถของ 5G ร่วมกับ IoT และ Cloud เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลจากยานพาหนะมาทำการวิเคราะห์ประมวลผลค้นหาความเสี่ยงที่ยานพาหนะจะเสียหาย และทำการซ่อมบำรุงก่อนที่จะเกิดความสูญเสียใดๆ
การขนส่งและโลจิสติกส์นั้นยังเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของ Supply Chain ในธุรกิจแทบทุกประเภท ดังนั้นเทคโนโลยีด้านการทำ Supply Chain Management จึงมีบทบาทสำคัญที่จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงการขนส่งและโลจิสติกส์อีกทางหนึ่ง
Gartner นั้นได้ทำนายว่าภายในปี 2025 การตัดสินใจด้าน Supply Chain กว่า 25% จะเกิดขึ้นบนระบบ Edge Computing ที่จะเป็นศูนย์รวมข้อมูลจากทั้ง Supply Chain Network จนเกิดเป็น Supply Chain Twin ขึ้นมา ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจต่างๆ ในแบบ Real-Time มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต
การใช้งาน Software สำหรับบริหารจัดการ Supply Chain นั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ Industry Cloud Platform ซึ่งเป็นบริการ Cloud ที่ปรับแต่งมาโดยเฉพาะสำหรับการรองรับธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ โดยนอกจากจะมี Software หลักอย่าง Supply Chain Management, Warehouse Management, Inventory Management, Fleet Management, Last-Mile Management, Edge Management แล้ว เครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาระบบต่อยอดหรือใช้งานข้อมูลให้เกิดประโยชน์มากขึ้นอย่าง Low-Code Platform, Data Analytics, Machine Learning, AI และอื่นๆ ก็จะถูกผนวกรวมเข้ามาให้พร้อมนำไปประยุกต์ใช้งานได้
การนำหุ่นยนต์มาใช้งานในอุตสาหกรรมนี้จะเป็นประเด็นสำคัญ แต่พนักงานเองนั้นก็มีความสำคัญที่สูงกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เสียอีก ดังนั้นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญของวงการจึงเป็นการติดตามและสื่อสารกับพนักงาน รวมถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วย
เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม การรักษาความมั่นคงปลอดภัยก็จะเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ แต่ก็เป็นความท้าทายอย่างมหาศาลต่อธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ที่มักไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
BY: NOOK
ที่มา : https://www.uni.net.th/index.php/news/3799/