แชร์

ชิปปิ้ง เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์หรือการขนส่งสินค้า

อัพเดทล่าสุด: 18 ก.ย. 2024
865 ผู้เข้าชม

ความหมายของ ชิปปิ้ง

ชิปปิ้ง (Shipping) คือ บริษัท องค์กร หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนเจ้าของสินค้าหรือลูกค้า ทำหน้าที่ติดต่องานด้านเอกสารสำหรับการส่งออกหรือนำเข้าสินค้า โดยการติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และนอกจากนั้นยังมีการให้บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก เช่น ประสานงานกับบริษัทขนส่งหรือธนาคาร ซึ่งในภาษาทางการ..คำว่า Shipping จะใช้แทนคำว่า ตัวแทนออกของ

Shipping มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

หลักๆแล้ว ตัวแทนออกของ หรือ Shipping จะมีอยู่ 2 ประเภท 

1.ตัวแทนออกของทั่วไป (Shipping)

   ตัวแทนเจ้าของสินค้าที่ติดต่องานเอกสารกับกรมศุลกากรเพื่อการนำเข้าส่งออกและบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องขอและได้รับอนุญาต โดยมีหลักเกณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานของทางกรมศุลกากรด้วยว่าคุณสมบัติ Shipping จะต้องมีอะไรบ้าง

2.ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ (AEO Authorized Economic Operator)

   จริงๆแล้วก็คือ ตัวแทนออกของทั่วไปที่ต้องการยกระดับการให้บริการสู่มาตรฐานสากล โดยตัวแทนออกของที่สนใจสามารถยื่นคำร้องกับกรมศุลกากร โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศกรมศุลกากร

ตำนานน่ารู้ของโลจิสติกส์ 

   เมื่อ 500 ปีก่อนพุทธกาล อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรกรีก ได้นำแนวคิดของระบบโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนกำลังพลในการรบโดยสร้างสถานีเก็บเสบียงอาหารทหารและสัตว์ไว้ทุกๆ 30 กม. ตั้งแต่ตัวเมืองไปจนถึงแนวชายแดน เพื่อให้ทหารไม่ต้องแบกสัมภาระมากเกินไป อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดการขาดแคลนเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง เช่นเดียวกับจักรพรรดินโปเลียนของฝรั่งเศส ที่วางแผนเกี่ยวกับการขนส่งกำลังพลและเสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพสามารถเคลื่อนทัพได้เร็วกว่าศัตรู 

 โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับศาสตร์ใด

   โลจิสติกส์เป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมในการเรียนเป็นอย่างมาก สถาบันการศึกษาหลายแห่งในเมืองไทยเปิดสอนแขนงวิชาโลจิสติกส์เพื่อผลิตบุคลากรสาขานี้ป้อนตลาดอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม โลจิสติกส์ เป็นการผสานศาสตร์แขนงต่างๆ ไว้รวมกัน 3 ศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ และการจัดการสารสนเทศ โดยบัณฑิตด้านโลจิสติกส์สามารถทำงานได้หลายด้าน ทั้งฝ่ายปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ระดับบริหาร สามารถเป็นนักวิเคราะห์โลจิสติกส์ นักวางแผน นักวิเคราะห์กระบวนการธุรกิจ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้า-ส่งออก เป็นตัวแทนขนส่งสินค้า

 แขนงวิชาของโลจิสติกส์ ต่างกันอย่างไร

  แต่ละแขนงวิชาโลจิสติกส์ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่มีความเกี่ยวพันกันอย่างเชื่อมโยง อาทิ วิศวกรรมศาสตร์โลจิสติกส์ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อให้การขนส่งสินค้าราบรื่น ใช้ทรัพยากร และระยะเวลาขนส่งน้อยที่สุด แต่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แขนงวิชาบริหารธุรกิจ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหารวัสดุและการขนส่งระหว่างประเทศ การกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายด้านโลจิสติกส์ เรื่อยไปจนถึงเรื่องภาษีและกฎหมาย สำหรับศาสตร์วิชาการจัดการสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ควบรวมเป็นบริการที่ช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น

ตลาดโลจิสติกส์ ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

  EEC (Eastern Economic Corridor) หรือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ใหม่ในการลงทุน ซึ่งระยะแรกได้ยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัด คือ ชลบุรี, ระยอง และฉะเชิงเทรา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีสนามบิน และท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากที่สุดเป็นอันดับ 22 ของโลก โดยข้อมูลจาก EEC ระบุว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า โครงการอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่ต้องการบุคลากรสูงสุดคือ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยเฉพาะความต้องการของแรงงานกลุ่มโลจิสติกส์ในพื้นที่ EEC นี้ จะมีไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน สนใจศึกษาระบบการขนส่งระหว่างประเทศหรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้บริการ ชิปปิ้ง จากเมืองจีนมาไทยได้ทุกวัน

 

 




BY : NUN

ที่มา : shippingyou.com


บทความที่เกี่ยวข้อง
5 ขั้นตอนสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์พัสดุ เริ่มต้นอย่างไรให้ปัง!
เมื่อความฝันอยากเป็น "เจ้าของธุรกิจ" เริ่มชัดเจนขึ้น การเลือกลงทุนในโมเดล "แฟรนไชส์" คือทางลัดที่น่าสนใจ เพราะมีระบบ, มีชื่อแบรนด์
ร่วมมือ.jpg Contact Center
23 ก.ค. 2025
EOQ คืออะไร? สูตรลับคลังสินค้า สั่งของเท่าไหร่ให้ 'คุ้ม' ที่สุด
เคยเจอปัญหานี้ไหมครับ? สั่งของมาตุนในคลังสินค้าเยอะเกินไป เงินทุนก็จมไปกับสต็อก แถมยังต้องเสียค่าเช่าพื้นที่เพิ่ม แต่พอสั่งของมาน้อยเกินไป สินค้าก็ขาด ขายไม่ได้ เสียโอกาสทางธุรกิจไปอีก... คำถามคือ แล้วเราควรจะสั่งของครั้งละเท่าไหร่ดี ถึงจะเรียกว่า "พอดี" และ "คุ้มค่า" ที่สุด? วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับ EOQ (Economic Order Quantity) หรือ ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด ซึ่งเป็นเหมือนสูตรลับที่ช่วยให้ธุรกิจหาจุดสมดุลในการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างมืออาชีพ
โก้(นักศึกษาฝึกงาน)
23 ก.ค. 2025
AI ไม่ใช่แค่ผู้ช่วย แต่เป็น "ผู้จัดการข้อมูล": AI กำลังเปลี่ยนโลกของ Data Management อย่างไร
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่มีข้อมูลมหาศาลเกิดขึ้นทุกวินาที บทบาทของ AI ได้ก้าวไปไกลกว่านั้นมาก วันนี้ AI ได้สวมบทบาทใหม่เป็น "ผู้จัดการข้อมูล" (Data Manager) ที่ชาญฉลาด สามารถวิเคราะห์, จัดระเบียบ, และสร้างกลยุทธ์จากข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ
ฟ่าง (นักศึกษาฝึกงาน)
23 ก.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ