แชร์

ทฤษฏี 7S สิ่งที่ธุรกิจต้องมีเพื่ออนาคต

อัพเดทล่าสุด: 18 ก.ย. 2024
35 ผู้เข้าชม
ทฤษฏี 7S  สิ่งที่ธุรกิจต้องมีเพื่ออนาคต

แนวคิด 7S หรือ McKinsey 7S Framework

    แนวคิด 7S คือ ทฤษฎีที่ได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อการวางแผนธุรกิจและการประเมินประสิทธิภาพของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ โดยเราสามารถนำ 7S มาเขียนแผนธุรกิจในช่วงเริ่มต้น หรือจะใช้เพื่อการประเมินและปรับปรุงธุรกิจหลังจากดำเนินการไปแล้วก็ได้


7S ทฤษฎีเพื่อการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน


Strength (จุดแข็ง)

    จุดแข็งคือสิ่งที่ธุรกิจทุกประเภทต้องมี เพราะ การมีจุดแข็ง คือ ความได้เปรียบที่ดีที่สุด จุดแข็งของธุรกิจอาจอยู่ในรูปของการบริการ สินค้า หรือแม้แต่สิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างวัฒนธรรมภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นอะไรหากเป็นสิ่งที่ทำให้เราอยู่เหนือคู่แข่งแล้วล่ะก็ มันก็คือจุดแข็งของธุรกิจนั่นเอง

    จุดแข็งคือสิ่งที่ต้องมีการวัดผล ประเมิน และนำผลที่ได้มาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสำรวจจุดอ่อนที่อาจเกิดขึ้นควบคู่กันและพยายามกำจัดจุดอ่อนที่มีอยู่ให้หมดไปหรือลดลงให้มากที่สุด

2. Story (ตำนานและเรื่องราว)

    ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญของการมีสตอรี่หรือเรื่องราวมากขึ้น แบรนด์ที่มีสตอรี่ มีการสร้างตัวตน จึงมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า ทำให้ Story กลายมาเป็นหนึ่งในแนวคิด 7S ที่สำคัญต่อธุรกิจของเรา

    หลายคนใช้วิธีการนำ Profile มาร้อยเรียงต่อกันให้เป็น Story ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีเล่าเรื่องที่น่าสนใจที่สุด เปลี่ยนจากการเล่าเรื่องแบบเส้นตรงให้น่าติดตามมากขึ้น ช่วยสร้างแง่มุมที่น่าประทับใจ และในขณะเดียวกันก็ทำให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของแบรนด์เข้าใจประวัติ ความเป็นมา หรือวิสัยทัศน์ของแบรนด์ได้มากขึ้นด้วย จนบางครั้งการสร้างสตอรี่หรือเรื่องราวที่ดี ก็ทำให้มันกลายเป็นจุดแข็งของธุรกิจได้เช่นกัน

3. Style (เอกลักษณ์แบบเฉพาะตัว)

    ธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะลำพังแล้วแค่ตำนานและเรื่องราว (Story) ยังไม่ใช่พลังที่แกร่งที่สุดของการทำธุรกิจ

    คุณควรมองหาเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร รวมถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนให้เอกลักษณ์เล่านั้นสอดคล้องกับยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือการบริการ ธุรกิจที่สามารถเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครเอาไว้แบบร่วมสมัยได้จะได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายมากกว่า 

4. Service (การบริการคือหัวใจของธุรกิจ)

    การบริการคือหัวใจของธุรกิจ คำกล่าวนี้ไม่ใช่คำกล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะการบริการที่ดีนอกจากจะเป็นตัวช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าแล้ว การบริการยังเป็นตัวช่วยสร้างลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมของเราเอาไว้ด้วย

5. Sincerity (ความจริงใจในธุรกิจ)

    มีสุภาษิตจีนกล่าวไว้ว่า ถ้าเพื่อนนั่งพื้น เราก็ต้องนั่งพื้นคุยกับเพื่อน หมายถึง เราต้องอยู่กันด้วยความจริงใจ อันจะทำให้การทำงานเดินหน้าได้สะดวกมากขึ้น 

    การทำธุรกิจด้วยความจริงใจคือการเอาใจใส่ลูกค้า การให้บริการอย่างตรงไปตรงมา ไม่ปิดบัง การตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ด้วยข้อมูลจริง ไปจนถึงการไม่โฆษณาเกินจริงและการผลิตสินค้าที่ตรงตามกับสิ่งที่เราบอกกล่าวออกไป ไม่หมกเม็ด การกระทำเหล่านี้คือการแสดงออกถึงความจริงใจต่อลูกค้า เป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนตามแนวทาง 7S

6. Sensitivity (ว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น)

    ธุรกิจเป็นงานที่ไม่อาจหยุดหรืออยู่นิ่งได้ เพราะเทรนด์ของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เจ้าของธุรกิจตามหลัก 7S จึงต้องมีความรู้สึกเร็ว รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้ดีในทุกสถานการณ์ นอกจากนี้ยังต้องหมันหาความรู้และตามทันข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการทำธุรกิจให้เหมาะสมกับเทรนด์ในปัจจุบันมากที่สุด

7. Sustainability (ตอบสนองความต้องการของสังคม)

    ธุรกิจยุคใหม่ต้องไม่เดินหน้าทำกำไรให้บริษัทเพียงอย่างเดียว เพราะเราต้องให้ความสำคัญกับ การคืนกำไรให้สังคมด้วย เนื่องจากธุรกิจเองก็มีความสัมพันธ์กับชุมชนที่อยู่รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำ CSR การจัดกิจกรรมการกุศล การบริจาคสิ่งของ การสร้างห้องสมุด ฯลฯ วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการคืนกำไรแก่สังคมตามหลัก 7S ทั้งสิ้น

    ธุรกิจที่ทำสิ่งดี ๆ เพื่อสังคมนอกจากจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแล้วยังเป็นตัวช่วยประชาสัมพันธ์องค์กรให้เราอีกทางหนึ่งด้วย นับว่ามีประโยชน์หลาย ๆ ด้านและคุ้มค่าที่จจะทำเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ






BY: FAH
ที่มา: proindsolutions.

บทความที่เกี่ยวข้อง
ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล
เมื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายแตกต่างจากการสื่อสารในยุคอื่นๆ
11 ต.ค. 2024
Amazon แพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์
Amazon เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 โดย Jeff Bezos โดยเริ่มต้นจากการขายหนังสือออนไลน์ แต่ได้ขยายธุรกิจไปสู่สินค้าหลากหลายประเภท รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า ของเล่น เครื่องใช้ในบ้าน และอื่นๆ อีกมากมาย
11 ต.ค. 2024
การตลาดแบบ Inbound Marketing คืออะไร?
Inbound Marketing เน้นไปที่การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอนเทนต์คุณภาพที่สื่อถึงสินค้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ การสร้างประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูกค้า
11 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ