กระบวนสำคัญของทุกภาคธุรกิจที่ไม่ใช่แค่การขนส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเท่านั้น แต่รวมถึงการจัดการทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สินค้าและบริการอยู่ถูกที่ ถูกเวลาในสภาพที่เหมาะสม และมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด เรียกได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของภาคธุรกิจสมัยใหม่ที่ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใดก็ต้องพึ่งพาการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อความสำเร็จในการแข่งขัน โลจิสติกส์ไม่เพียงแต่ช่วยให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยในการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้วย
ในยุคสมัยนี้ธุรกิจโลจิสติกส์นั้น มีการเติบโตเป็นอย่างมากโดยจะเห็นบริษัทใหญ่ๆหลายๆแห่งที่ตั้งแผนกการจัดการทางด้านนี้มีขึ้นมาเพื่อดูแลงานโดยเฉพาะ และ ได้เกิดการสนใจของผู้คนในงานด้านโลจิสติกส์มากขึ้น แต่ก็ใช้ว่าจะทุกคนนั้นจะประสบความสำเร็จในงานสายนี้ นั้นก็เพราะความแต่งต่างกันของทักษะ
1.มีความรู้ (Knowledge)
การรู้จักกิจกรรมต่างๆในกระบวนการ ขั้นตอนต่างๆของโลจิสติกส์ทั้งหมด จะทำให้สามารถเข้าใจในส่วนของปัญหา มองภาพเดียวกับลูกค้า และสามารถคิดแก้ปัญหาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเรียนรู้นั้นมีหลากวิธี ไม่ว่าจะตามตำราทั่วไป หรือ แม้แต่การสื่อสารพูดคุยกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบุคคลที่อยู่วงการเดียวกันก็ทำให้โลกทัศน์ของเรานั้นกว้างขึ้นได้
2.มีทักษะ(Skills)
สิ่งที่จำเป็นนั้นคือ ทักษะในการบริหารจัดการในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการมีวิสัยทัศน์ทางกลยุทธ์กว้างไกล การมองภาพรวมในส่วนของธุรกิจ การเป็นผู้นำ ที่สามารถริเริ่มการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆและบริหารการเปลี่ยนแปลง ที่อาจจะมีการเกิดขึ้นจากการ re-structure กระบวนการด้านโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการเป็นผู้ให้คำแนะนำ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้นั่งสั่งการ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นอีกด้วย
3.คุณลักษณะส่วนบุคคล(Attributes)
คือ การแสดงความรับผิดชอบต่อบทบาทของตนเอง มีความกล้าที่จะแสดงออกไปในทางเชิงบวก และ สามารถที่จะทำงานเป็นทีมได้ เนื่องจากสายงานโลจิสติกส์นั้นจะต้องทำงาน สื่อสารกัน และ ประสานงานกับอีกหลายๆภาคส่วนของหน่วยงานของจน รู้จักที่จะควบคุมตนเอง โดยเฉพาะการทำงานภายใต้ภาวะความกดดัน ต้องเป็นบุคคลที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และ ชอบที่จะหาความรู้เรียนรู้ตลอดเวลา
4.ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
คือการพัฒนาตนเองในลักษณะ Lean Logistics คือ กำจัดกิจกรรมต่างๆที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายแต่ไม่มีประโยชน์นั้นเอง ซึ่งการพัฒนาบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์นั้น นอกจากที่จะต้องพัฒนาตนเองในด้าน ศักยภาพ บุคลิกภาพ แล้ว การพัฒนาทางด้านกระบวนการทางความคิดนั้นก็นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเป็นปัจจัยหลักในการบริหารจัดการทางสายงานด้านโลจิสติกส์อีกด้วย ดังนั้นแล้ว ทางผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์นอกจากจะวางแผนทางธุรกิจแล้ว ก็อย่าลืมที่จะวางแผนทางด้านบุคลากรเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศในเร็วๆนี้ด้วยครับ
BY : auey
ที่มา : at-once.info