แชร์

ความคืบหน้าและความท้าทายของกฎหมายควบคุม AI ฉบับแรกของโลก

อัพเดทล่าสุด: 30 ก.ค. 2024
257 ผู้เข้าชม

ผลกระทบและความน่ากังวลของเทคโนโลยี AI

ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรียกย่อ ๆ จนคุ้นเคยกันว่า AI นั้นกำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคนทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ Generative AI ที่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาผ่านการเรียนรู้และประมวลผลข้อมูลขนาดมหาศาล หนึ่งในนวัตกรรมดังกล่าวคือ ChatGPT ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะจากบริษัท OpenAI ในสหรัฐอเมริกา ที่ทั้งตอบคำถาม เขียนโปรแกรม สร้างคอนเทนต์ ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปลายปี 2565 ปัจจุบัน ChatGPT มีจำนวนผู้ใช้งานแล้วมากกว่า 180 ล้านคนทั่วโลก พร้อมทำรายได้สูงถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

กฎหมายควบคุมดูแล AI ครั้งแรกของโลกในสหภาพยุโรป

สาเหตุข้างต้นนี้เองที่ผลักดันให้หลายหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเริ่มคิดนโยบายรวมถึงวางแนวทางการบริหารและควบคุมดูแลการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้เป็นไปอย่างปลอดภัยต่อความมั่นคงของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยล่าสุดเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (The Council of the European Union) ได้ประกาศอนุมัติกฎหมายการกำกับดูแลและควบคุมปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างเป็นทางการครั้งแรกของโลก ซึ่งจะมีผลบังคับใช้จริงกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และ สวีเดน เมื่อประมาณช่วงกลางปี 2569

 

ความท้าทายหลักของการใช้กฎหมายกำกับดูแล AI

แม้ว่าการออกนโยบายควบคุมและตรวจสอบการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์จะถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่สามารถช่วยปกป้องผู้บริโภคและสังคมจากความเสี่ยงของนวัตกรรมดังกล่าวได้ แต่เมื่อพิจารณาในอีกแง่หนึ่ง กฎระเบียบนั้นก็ก่อให้เกิดความท้าทายใหญ่หลายข้อที่น่าขบคิดเช่นกัน ประการแรกคือความรวดเร็วในการบังคับใช้นโยบายต่าง ๆ อย่างเป็นทางการอาจตามไม่เท่าทันพัฒนาการอันก้าวกระโดดราวกับติดจรวดของเทคโนโลยี AI ตัวอย่างเช่น บริษัท OpenAI ที่หลังจากปล่อย ChatGPT เวอร์ชัน 3.5 ออกสู่ตลาดเมื่อปลายปี 2565 ก็สามารถยกระดับนวัตกรรมของตัวเองเป็น GPT-4 เมื่อเดือน มี.ค. 2566
 
 
 
 
BY:FAH
ที่มา:bangkokbankinnohub

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
Sora คืออะไร? เมื่อ AI ของ OpenAI เตรียมเปลี่ยนอนาคตวงการวิดีโอคอนเทนต์
Sora คือโมเดล AI สร้างวิดีโอจากข้อความ (Text-to-Video) ที่พัฒนาโดย OpenAIพูดง่าย ๆ คือคุณพิมพ์สิ่งที่อยากเห็น
ร่วมมือ.jpg เหมาคัน
9 พ.ค. 2025
CapCut AI vs Adobe Express มือใหม่ควรเลือกตัวไหนตัดต่อคลิปทำคอนเทนต์
เครื่องมือ ตัดต่อคลิป+ออกแบบภาพ แบบใช้ AI จึงเป็นสิ่งที่หลายคนมองหา สองตัวที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ CapCut AIและAdobe Express
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
9 พ.ค. 2025
Pika Labs คืออะไร? สร้างวิดีโอ AI สุดล้ำจากไอเดียง่าย ๆ
Pika Labs คือแพลตฟอร์ม AI ที่ใช้สร้างวิดีโอแบบ Text-to-Video ซึ่งคุณสามารถใส่เพียง บทพูด, คำบรรยาย หรือไอเดียสั้น ๆ แล้วจะได้คลิปวิดีโอที่มีการเคลื่อนไหวสมจริง
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
9 พ.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ