แชร์

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ Robotics

อัพเดทล่าสุด: 17 ก.ค. 2024
236 ผู้เข้าชม
เทคโนโลยีหุ่นยนต์ Robotics

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ Robotics หมายถึงอะไร

องค์กรต่างๆ นำหุ่นยนต์มาใช้เพื่อทำให้งานที่ต้องใช้แรงงานเป็นระบบอัตโนมัติ โดยสั่งการจากทางไกล หรือใช้อัลกอริทึมหรือเซ็นเซอร์ ปัจจุบันหุ่นยนต์มีประโยชน์มากมาย ตั้งแต่การช่วยผ่าตัดไปจนถึงการตรวจสอบท่อระบายน้ำ ตลอดจนการใช้ "แขน" หุ่นยนต์ในสายการผลิตที่เราคุ้นตากันเป็นอย่างดี
หุ่นยนต์ (Robot) หมายถึง เครื่องจักรกลอัตโนมัติทุกชนิดที่ออกแบบให้สามารถทำงานแทนมนุษย์ในงานบางประเภท โดยทำงานด้วยคำสั่งเดิมซ้ำๆ ในรูปแบบที่มีความซับซ้อนและยืดหยุ่นได้ดี สามารถถูกปรับเปลี่ยนโปรแกรมให้ทำงานได้หลากหลายกว่า และอาจถูกติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ทำให้สามารถตัดสินใจเองได้ และระบบอัตโนมัติ (Automation System) หมายถึง ระบบหรือกลไกที่สามารถเริ่มทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยทำงานตามโปรแกรมที่วางไว้


ประเภทของหุ่นยนต์ตามเทคโนโลยีหลักในตัวหุ่นยนต์ จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาใช้ในระบบผลิต ซึ่งสามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติตามโปรแกรมที่ถูกเขียนไว้ เช่น แขนกลในดรงงานผลิตสินค้า และหุ่นยนต์บริการ (Service Robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาใช้ในงานอื่นๆ ในโรงงานหรือคลังสินค้านอกเหนือจากงานผลิตแบบอัตโนมัติ หรือใช้ในงานที่ไม่ใช่งานในอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์ทางการศึกษา หุ่นยนต์ที่ใช้ทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำรวจอวกาศ โดยเคลื่อนไหวได้มากกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม และทำงานร่วมกับมนุษย์ได้มากกว่า


เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของหุ่นยนต์ สามารถแบ่งได้ตามส่วนประกอบของหุ่นยนต์และวิทยาการพัฒนาหุ่นยนต์

ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้
1.ส่วนการควบคุม เป็นเทคโนโลยีที่เน้นศึกษาด้านการออกแบบชิ้นส่วนหุ่นยนต์การประกอบหุ่นยนต์ และการควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์

2. ส่วนการรับรู้ เป็นเทคโนโลยีที่เน้นพัฒนาส่วนของการรับรู้ข้อมูลของหุ่นยนต์จากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ รวมทั้งระบบ Computer Vision ที่ทำให้หุ่นยนต์มองเห็น หรือตรวจสอบระยะใกล้ไกลของวัตถุ โดยข้อมูลที่ได้มานั้นจะนำมาประมวลผลและส่งต่อคำสั่งไปที่ตัวขับเคลื่อนต่างๆ

3.ส่วนการเข้าใจ เป็นเทคโนโลยีที่เน้นการพัฒนาระบบการตัดสินใจของหุ่นยนต์เมื่อได้รับข้อมูลจากตัวตรวจจับ ซึ่งเป็นการใช้หลักการของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI และศาสตร์ Machine Learnin

 

 

BY : NONT

ที่มา :: https://www.depa.or.th/en/article-view/tech-series-robotics-and-automation-system

บทความที่เกี่ยวข้อง
การวางแผนเส้นทางขนส่ง
การวางแผนเส้นทางขนส่ง (Route Planning) เป็นกระบวนการสำคัญในโลจิสติกส์ที่ช่วยให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูง
3 ธ.ค. 2024
การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโลจิสติกส์
โลจิสติกส์เป็นหัวใจสำคัญของการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการในเศรษฐกิจโลก แต่กระบวนการโลจิสติกส์ยังคงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง
3 ธ.ค. 2024
โอกาสและความท้าทายของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศไทย
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายที่หลากหลาย
2 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ