ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
947 ผู้เข้าชม
Thailand E-Commerce Landscape 2024
Delivery
ตลาดขนส่งพัสดุไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์หรือ E-commerce มากขึ้น ทำให้การแข่งขันในตลาดขนส่งด้านกลยุทธ์ดุเดือดไม่แพ้กันนั่นเพราะผลกระทบจากอัตราค่าขนส่งพัสดุที่ปรับลดลงต่อเนื่องจากการแข่งขันด้านราคาของผู้เล่นหลักในตลาด และผู้เล่นรายใหม่ในตลาดหลายรายที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด โดยการปรับราคาค่าขนส่งลงและเร่งขยายการให้บริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
การแข่งขันในตลาดขนส่งพัสดุมีจำนวนผู้เล่นเดิมอย่างไปรษณีย์ไทย และผู้เล่นรายใหญ่ที่กลายมาเป็นผู้เล่นหลักในตลาดโดยมีการขยายการเติบโตอย่างรวดเร็วในปี 2020 เป็นต้นมา อย่างเช่น Kerry, Flash Express, J&T Express อีกทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายอื่นๆเองต่างก็เร่งขยายบริการเช่น Shopee Express ที่เป็นของ Shopee เอง ซึ่งเราจะเห็นเทรนด์การให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจร ที่พยายามกินรวบในการให้บริการทั้งหมด ตั้งแต่การให้บริการจัดเก็บสินค้าที่คลังสินค้า Fulfillment บริการแพ็กสินค้าจนถึงบริการขนส่งไปยังผู้บริโภคและจะกลายเป็นบริการพื้นฐานที่ผู้ประกอบการขนส่งทุกรายต้องมี ในการเสนอบริการจัดส่งครบวงจรที่รวดเร็วภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม
ในปีนี้เราจะเห็นการแข่งขัน On-Demand Commerce ที่เข้มข้นขึ้น จากเดิมที่เป็นการแข่งขันการค้าลักษณะ Platform หรือแอปพลิเคชันจัดส่งอาหาร Food Delivery ก็เริ่มเปลี่ยนตัวเองให้เป็นบริการที่มากกว่าอาหาร โดยเปลี่ยนเป็นแอปพลิเคชันครบวงจร ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชันในแอปฯเดียว ยกตัวอย่างเช่น LINE ที่รู้จักในไทยจากการเป็นแอปพลิเคชันแชต ปัจจุบันได้ขยายบริการที่ครอบคลุมมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านข่าวหรือสื่อสารมวลชนอย่าง LINE Today และ LINE TV ด้านการให้บริการขนส่งอาหารและเครื่องดื่มอย่าง LINE Man เป็นต้น และมีผู้เล่นอื่นๆอีกได้แก่ Grab, Robinhood, Lalamove ซึ่งเราอาจจะได้เห็นพัฒนาการของแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่กำลังเตรียมยกระดับมาเป็น Super App เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นได้ ในอนาคต
บทสรุปและความท้าทายของผู้เล่นใน E-Commerce Landscape ไทยปี 2024 มีอะไรบ้าง?
สำหรับปี 2024 สมรภูมิการแข่งขันอีคอมเมิร์ซ มีแนวโน้มดุเดือดยิ่งขึ้น! แม้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย แต่สำหรับ เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
ความท้าทายของผู้เล่นไทยในตลาดอีคอมเมิร์ซ นอกจากปัจจัยเรื่องราคา และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคดิจิทัลแล้ว สินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาผ่านแพลตฟอร์ม E-Marketplace ปัญหาสินค้าราคาถูกที่เข้ามาทุ่มตลาดในไทยผ่านช่องทาง E-Commerce และการเข้ามาใช้ประโยชน์จาก Free Trade Zone เพื่อขายสินค้าในประเทศ ซึ่งทำให้สินค้าราคาถูกรวมถึงสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานทะลักเข้าตลาดในประเทศ ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ที่ไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้ ทั้งนี้ทางภาครัฐเองก็เริ่มตระหนักและหันมาทบทวนนโยบายการเรียกเก็บภาษีที่เหลื่อมล้ำเพื่อส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้เติบโตได้และไม่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าจากสินนค้าประเทศจีนและมีการแข่งอย่างเสรีและเป็นธรรม
จัดทำโดย : MAN
แหล่งที่มา : Thailand E-Commerce Landscape 2024 อัปเดตภาพรวมของภูมิทัศน์อีคอมเมิร์ซประเทศไทย 2024
บทความที่เกี่ยวข้อง
ในยุคที่ธุรกิจขนส่งแข่งขันกันด้วยความเร็ว ราคา และประสบการณ์ลูกค้า "ลูกค้าประจำ" คือหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
30 เม.ย. 2025
วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงพลังของ Interactive Content และเหตุผลว่าทำไมมันถึงเป็นอนาคตของการสร้าง Engagement บนโลกออนไลน์ครับ
30 เม.ย. 2025
วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึง "Green Tech Marketing" กลยุทธ์ที่ผสานการขายเข้ากับการรักษ์โลก เพื่อให้แบรนด์ของคุณเติบโตไปพร้อมกับการสร้างโลกที่ดีขึ้นครับ
30 เม.ย. 2025