แชร์

ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า (IMPORT)

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 22 ม.ค. 2025
896 ผู้เข้าชม
ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า IMPORT
ระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Import)
เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการนำเข้ากับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าที่นำเข้า การส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจะได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรหลังจากสินค้า มาถึงท่าและได้ชำระภาษีอากรเรียบร้อยแล้ว ผู้นำเข้ามีความรับผิดชอบในการเตรียมสินค้าเพื่อการตรวจสอบ และปล่อยสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากร นอกจากนี้ในบางกรณีผู้นำเข้ายังต้องขอใบอนุญาตในการนำเข้าสำหรับสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า สินค้าบางรายการต้องได้รับการอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการนำเข้าสินค้า
 
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรเพื่อนำเข้าประกอบด้วย
   1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry Declaration)
   2. ใบตราส่งสินค้า (B/L)
   3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
   4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
   5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License)
   6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) กรณีขอลดหรือยกเว้นอัตราอากรขาเข้า
   7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น
 
ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการ
ภายใต้ระบบการนำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารที่เป็นกระดาษ เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดโอนถ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้นำเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรด้วยระบบ VAN หรืออินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้า สินค้ามี 4 ขั้นตอนดังนี้
 
1.การโอนถ่าย และ/หรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : ขั้นตอนแรกของพิธีการนำเข้าคือการสำแดงข้อมูลการนำเข้าและส่งข้อมูลไปยังกรมศุลกากร ให้บริษัทหรือตัวแทนออกของส่งข้อมูลเรือเข้า บัญชีรายการสินค้าและบัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร หากไม่พบข้อผิดพลาด ระบบคอมพิวเตอร์จะตอบกลับไปยังบริษัทหรือตัวแทนนั้นๆ เมื่อสินค้ามาถึงท่าหรือสถานที่นำเข้า ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

2.การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : ขั้นตอนที่ 2 คือการตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้นำเข้ายื่นมา ในขั้นนี้ระบบของกรมฯจะแยกใบขนสินค้าเป็น 2 ประเภทคือ ใบขนฯให้ตรวจ และใบขนฯยกเว้นการตรวจ ผู้นำเข้าสามารถดำเนินการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องได้ทันที หากใบขนฯของตนเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจ

3.การชำระภาษีอากรขาเข้า : ขั้นตอนที่ 3 คือการชำระภาษีอากรและการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบัน สามารถชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร   ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  และชำระที่ธนาคาร

4.การตรวจและการปล่อยสินค้า : ขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำเข้ายื่นใบขนฯ กับใบเสร็จรับเงินที่คลังสินค้าเพื่อการปล่อยสินค้าในขั้นนี้ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบ ความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าวต้องผ่านการเปิดตรวจหรือยกเว้นการตรวจหากเป็นใบขนฯ ยกเว้นการตรวจ จะใช้เวลาน้อยมาก หลังจากนั้นสถานะชองการปล่อยสินค้าจะส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปทั้งที่ท่าเรือและที่ผู้นำเข้าหรือตัวแทน อย่างไรก็ตามในกรณีที่สินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการ ท่าเรือจะเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://shorturl.asia/hu1nj
 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
รูปเเบบการขนส่งเเต่ละรูปเเบบ ของ BS EXPRESS
BS EXPRESS มีรูปแบบการขนส่งหลายประเภทเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มแม่ค้าออนไลน์และบริษัทขายของออนไลน์ โดยรูปแบบการขนส่งหลัก ๆ ที่ BS EXPRESS ให้บริการ มีดังนี้:
ใบบัว ( นักศึกษาฝึกงาน )
21 ก.ค. 2025
ส่งของไปต่างประเทศครั้งแรก ต้องทำอย่างไร? คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับมือใหม่
อยากส่งของขวัญให้เพื่อนที่อยู่คนละซีกโลก? หรือเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่เพิ่งมีออเดอร์จากต่างประเทศครั้งแรก? ความรู้สึกตื่นเต้นมักจะมาพร้อมกับคำถามมากมายในหัว ทั้งเรื่องเอกสาร ค่าใช้จ่าย และขั้นตอนที่ดูยุ่งเหยิงไปหมด ไม่ต้องกังวลไปครับ! คู่มือฉบับนี้จะสรุปทุกขั้นตอนการส่งของไปต่างประเทศให้เป็นเรื่องง่าย ที่ใครๆ ก็ทำตามได้ แม้จะเป็นครั้งแรกก็ตาม
ร่วมมือ.jpg Contact Center
21 ก.ค. 2025
Edge Computing ในโลจิสติกส์ ประมวลผลไวขึ้น ตัดสินใจเร็วขึ้น แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต
Edge Computing คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบขนส่งและคลังสินค้าประมวลผลข้อมูลใกล้จุดใช้งาน แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ตก็ทำงานได้แม่นยำและรวดเร็ว
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
21 ก.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ