แชร์

กล้องถ่ายภาพความร้อน Thermal Imager คือ?

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 21 ธ.ค. 2024
546 ผู้เข้าชม

เครื่อง Thermal Imager คืออะไร

  เครื่อง Thermal Imager หรือ Thermal Imaging Camera (กล้องถ่ายภาพความร้อน) เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของวัตถุหรือชิ้นงาน โดย Thermal Imager จะอาศัยหลักการแผ่รังสีอินฟราเรดที่ออกจากวัตถุ ซึ่งเป็นการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ และเป็นการวัดอุณหภูมิแบบพื้นที่ เพื่อความแม่นยำของเครื่องมือวัดจึงจำเป็นต้องส่ง สอบเทียบเครื่องมือวัด อยู่เสมอ

 

เครื่อง Thermal Imager ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
-เลนส์ (Lens)
-ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรด (Infrared Detector) หรือเซนเซอร์ชนิดอินฟราเรด (Infrared Sensor )
-วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Circuit)
-ส่วนแสดงผล (Display)

 

หลักการทำงานของเครื่อง Thermal Imager  เป็นอย่างไร
   หลักการทำงานของเครื่อง Thermal Imager  หรือ กล้องถ่ายความร้อน เริ่มต้นจาก เมื่อตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรดรับรังสีอินฟราเรด ที่แผ่ออกจากวัตถุหรือชิ้นงานเป้าหมาย ผ่านเลนส์ของเครื่อง Thermal Imager แล้วแปลงรังสีอินฟราเรดเหล่านี้ที่รับได้ให้อยู่ในรูปของสัญญานทางไฟฟ้า โดยรังสีอินฟาเรดที่ตัวตรวจรับไปนั้นประกอบด้วยรังสีที่วัตถุเป้าหมายแผ่ออกมารวมกับรังสีที่แผ่จากวัตถุอื่นหรือสิ่งแวดล้อมสะท้อนออกจากผิวของวัตถุเป้าหมาย จากนั้นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับและนำไปแสดงที่ตัวแสดงผล ซึงอาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของตัวเลข สี หรือกราฟ หรือสามารถแสดงผลออกมาได้ทั้ง 3 รูปแบบ

 

 กล้องถ่ายภาพความร้อนประกอบด้วยเซนเซอร์ชนิดอินฟราเรดหลายตัว แต่ละตัวแสดงผลออกมาในรูปแบบของสีที่แตกต่างกันตามอุณหภูมิของจุดนั้นๆ โดยทั่วไป สีแดงแสดงผลของบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงและสีน้ำเงินแสดงผลของบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ หรือโทนสีสว่างแสดงผลของบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง และโทนสีมืดแสดงผลของบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ผลของแต่ละจุดที่ได้จากเซนเซอร์แต่ละตัว เมื่อนำมารวมกันจะประกอบขึ้นเป็นภาพ เรียกว่า ภาพถ่ายความร้อน (Thermal Image) ซึ่งการแปลงรังสีอินฟราเรดที่เซนเซอร์ตรวจจับได้ให้อยู่ในหน่วยของอุณหภูมิอาศัยกฏของ Planck (Plancks law) และ กฎของ Stefan-Boltzmann (Stefan-Boltzmans law)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

BY : Jim

ที่มา : https://shorturl.asia/Pg8yD


บทความที่เกี่ยวข้อง
บริหารคลัง Fulfillment อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด: ลดต้นทุน เพิ่มความเร็วในการส่ง
ในยุคที่ E-commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดด ความคาดหวังของลูกค้าไม่ใช่แค่ "ได้รับของ" แต่คือ "ได้รับของเร็วและถูกต้อง" หัวใจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของร้านค้าออนไลน์คือระบบหลังบ้านที่แข็งแกร่ง และนั่นคือบทบาทของ "คลังสินค้า Fulfillment" ซึ่งเป็นมากกว่าแค่โกดังเก็บของ แต่เปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการที่จัดการทุกอย่างตั้งแต่การจัดเก็บ, แพ็ค, ไปจนถึงการจัดส่ง แล้วเราจะบริหารจัดการคลังสินค้าด้วยระบบ Fulfillment อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด? มาดูเคล็ดลับสำคัญกันครับ
ซาล(นักศึกษาฝึกงาน)
24 ก.ค. 2025
ลืมภาพคลังสินค้าแบบเดิมๆ! รู้จักระบบ Random Location จัดเก็บอัจฉริยะ เพิ่มพื้นที่ ลดเวลา
ลองนึกภาพคลังสินค้าแบบดั้งเดิม ที่ชั้นวาง A ต้องเก็บแต่สินค้า A เท่านั้น และชั้นวาง B ก็ต้องเก็บเฉพาะสินค้า B... แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าสินค้า A หมดสต็อก? พื้นที่ตรงนั้นก็จะถูกปล่อยให้ว่างเปล่าโดยเปล่าประโยชน์ แม้ว่าเราจะมีสินค้า C ล้นคลังจนไม่มีที่เก็บก็ตาม ปัญหานี้คือจุดอ่อนของระบบการจัดเก็บแบบกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location) แต่วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ Random Location System หรือ การจัดเก็บแบบสุ่มตำแหน่ง แนวคิดอัจฉริยะที่กำลังปฏิวัติการจัดการคลังสินค้าและบริการ Fulfillment ทั่วโลก
โก้(นักศึกษาฝึกงาน)
24 ก.ค. 2025
รู้จัก 3 ระบบ "หัวใจหลัก" ที่ SME ต้องมีในยุคดิจิทัล (CRM, POS, Inventory)
เราจะมาทำความรู้จักกับ 3 ระบบที่เปรียบเสมือน "หัวใจหลัก" ของการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล และมาดูกันว่าสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งพัสดุอย่าง BS Express ระบบเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความสำเร็จให้กับพาร์ทเนอร์ของเราได้อย่างไร
ฟ่าง (นักศึกษาฝึกงาน)
24 ก.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ