อุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร? มีวิธีรับมืออย่างไร?
อัพเดทล่าสุด: 13 ธ.ค. 2024
510 ผู้เข้าชม
อุตสาหกรรม 4.0 เป็นชื่อที่ได้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีการดึงเอาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการผลิต เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์และแรงงานที่เปลี่ยนไป
การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและระบบการผลิต จากจุดเริ่มต้นที่ผลิตกันในรูปแบบของพ่อค้าที่เป็นนายทุน จัดหาวัตถุดิบมาจ้างให้แรงงานผลิตด้วยฝีมือและใช้เครื่องมือแบบง่ายๆ เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตจึงหันมาใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคน ตั้งแต่งานผลิตง่ายๆ ไปจนถึงการผลิตที่มีรูปแบบซับซ้อน กลายมาเป็นการผลิตในรูปแบบโรงงาน (Factory System)
สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
หลังจากที่มีการเปลี่ยนเข้าสู่การกระบวนการผลิตจากช่างฝีมือไปสู่รูปแบบโรงงาน ก็มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้ว 4 ครั้ง โดยเริ่มจาก
-การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เป็นยุคที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำจากพลังงานถ่านหินในระบบรถไฟและโรงงาน แรงงานเปลี่ยนจากเกษตรกร ช่างฝีมือ เข้าสู่การทำงานในโรงงานขนาดเล็ก
-การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ยุคพลังงานใหม่จากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า การผลิตเป็นระบบสายพานที่เน้นการผลิตแบบ Mass Production ในปริมาณมากและรวดเร็ว แรงงานเข้ามาทำงานในระบบโรงงานที่ใหญ่มากขึ้น
-การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 มีการนำเอา IT (Information Technology) และคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้เกิดเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ แรงงงานบางส่วนจึงถูกหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทนที่
-การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry4.0) เป็นการนำเอาโลกของการผลิต มาเชื่อมต่อกับเครือข่ายในรูปแบบ IoT (Internet of Things) ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตสินค้าเชื่อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล การนำสินค้าไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี รวมไปถึงการทำงานของแรงงานที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยให้งานผลิตสำเร็จได้รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
หลังจากที่มีการเปลี่ยนเข้าสู่การกระบวนการผลิตจากช่างฝีมือไปสู่รูปแบบโรงงาน ก็มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้ว 4 ครั้ง โดยเริ่มจาก
-การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เป็นยุคที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำจากพลังงานถ่านหินในระบบรถไฟและโรงงาน แรงงานเปลี่ยนจากเกษตรกร ช่างฝีมือ เข้าสู่การทำงานในโรงงานขนาดเล็ก
-การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ยุคพลังงานใหม่จากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า การผลิตเป็นระบบสายพานที่เน้นการผลิตแบบ Mass Production ในปริมาณมากและรวดเร็ว แรงงานเข้ามาทำงานในระบบโรงงานที่ใหญ่มากขึ้น
-การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 มีการนำเอา IT (Information Technology) และคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้เกิดเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ แรงงงานบางส่วนจึงถูกหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทนที่
-การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry4.0) เป็นการนำเอาโลกของการผลิต มาเชื่อมต่อกับเครือข่ายในรูปแบบ IoT (Internet of Things) ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตสินค้าเชื่อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล การนำสินค้าไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี รวมไปถึงการทำงานของแรงงานที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยให้งานผลิตสำเร็จได้รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
สิ่งควรเตรียมรับมือให้พร้อม คือในเรื่องของแรงงานที่จะมีเทคโนโลยีเข้ามาทำงานทดแทนแรงงาน ทำให้การเตรียมพร้อมในทักษะของแรงงานจะต้องสอดคล้องไปกับการพัฒนาของเทคโนโลยีด้วย เพื่อให้สามารถพัฒนาฝีมือและแข่งขันกับตลาดแรงงานในต่างประเทศได้
โดยการเตรียมพร้อมคนกำลังจะเริ่มทำงานใหม่ และใส่ใจคนทำงานเดิม ผ่านทักษะแรงงานที่จำเป็นในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้แก่
-การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงลึก สังเคราะห์ข้อมูลที่หลากหลาย
-การแก้ไขปัญหา
-ความคิดสร้างสรรค์
-การทำงานร่วมกับสังคม
-วุฒิภาวะทางอารมณ์
โดยการเตรียมพร้อมคนกำลังจะเริ่มทำงานใหม่ และใส่ใจคนทำงานเดิม ผ่านทักษะแรงงานที่จำเป็นในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้แก่
-การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงลึก สังเคราะห์ข้อมูลที่หลากหลาย
-การแก้ไขปัญหา
-ความคิดสร้างสรรค์
-การทำงานร่วมกับสังคม
-วุฒิภาวะทางอารมณ์
ปฏิรูปตั้งแต่การผลิตแรงงานของสถานศึกษา
เมื่ออุตสาหกรรมในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไป สถานศึกษาต้องมุ่งสร้างแรงงานให้มีคุณสมบัติที่พร้อมกับการทำงานร่วมไปกับเทคโนโลยี ซึ่งได้แก่
1. เรียนรู้ใหม่ได้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้จะไม่ใช่การเรียนจบแล้วออกไปทำงาน แต่ผู้ที่ออกมาทำงานแล้วจะต้องเรียนรู้และพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และต้องมีความรู้พื้นฐานที่เข้มแข็ง กล่าวคือต้องไม่หยุดที่จะเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่
2. มีความคิดสร้างสรรค์
สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ จากการได้ฝึกเป็นคนที่ช่างคิดวิเคราะห์ ชอบตั้งคำถาม รวมไปถึงแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
3. เข้าใจการทำงานของเทคโนโลยี
ทุกสิ่งในยุค 4.0 ทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ นั้นถูกทำลายลง ซึ่งการเข้าใจระบบการทำงาน รวมถึงการเปิดรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอยู่เสมอเป็นสิ่งที่จำเป็น
4. ทักษะด้านอารมณ์และ Soft Skills
การพัฒนาทักษะให้สามารถทำงานร่วมกับสังคม รวมถึงการเข้าสังคมได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาตนเองให้มองโลกในแง่บวก เพื่อให้สามารถทำงานได้ดีในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่
การก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ไม่ใช่เพียงภาคอุตสาหกรรมและแรงงานที่ต้องเตรียมพร้อมเท่านั้น แต่ทางภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา สถานประกอบการ และประชาชน ก็ต้องมีทั้งความรู้ ทัศนคติ
เมื่ออุตสาหกรรมในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไป สถานศึกษาต้องมุ่งสร้างแรงงานให้มีคุณสมบัติที่พร้อมกับการทำงานร่วมไปกับเทคโนโลยี ซึ่งได้แก่
1. เรียนรู้ใหม่ได้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้จะไม่ใช่การเรียนจบแล้วออกไปทำงาน แต่ผู้ที่ออกมาทำงานแล้วจะต้องเรียนรู้และพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และต้องมีความรู้พื้นฐานที่เข้มแข็ง กล่าวคือต้องไม่หยุดที่จะเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่
2. มีความคิดสร้างสรรค์
สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ จากการได้ฝึกเป็นคนที่ช่างคิดวิเคราะห์ ชอบตั้งคำถาม รวมไปถึงแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
3. เข้าใจการทำงานของเทคโนโลยี
ทุกสิ่งในยุค 4.0 ทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ นั้นถูกทำลายลง ซึ่งการเข้าใจระบบการทำงาน รวมถึงการเปิดรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอยู่เสมอเป็นสิ่งที่จำเป็น
4. ทักษะด้านอารมณ์และ Soft Skills
การพัฒนาทักษะให้สามารถทำงานร่วมกับสังคม รวมถึงการเข้าสังคมได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาตนเองให้มองโลกในแง่บวก เพื่อให้สามารถทำงานได้ดีในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่
การก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ไม่ใช่เพียงภาคอุตสาหกรรมและแรงงานที่ต้องเตรียมพร้อมเท่านั้น แต่ทางภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา สถานประกอบการ และประชาชน ก็ต้องมีทั้งความรู้ ทัศนคติ
BY : Jim
ที่มา : https://shorturl.asia/XhPaL
Tags :
บทความที่เกี่ยวข้อง
ในยุคที่ E-commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดด ความคาดหวังของลูกค้าไม่ใช่แค่ "ได้รับของ" แต่คือ "ได้รับของเร็วและถูกต้อง" หัวใจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของร้านค้าออนไลน์คือระบบหลังบ้านที่แข็งแกร่ง และนั่นคือบทบาทของ "คลังสินค้า Fulfillment" ซึ่งเป็นมากกว่าแค่โกดังเก็บของ แต่เปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการที่จัดการทุกอย่างตั้งแต่การจัดเก็บ, แพ็ค, ไปจนถึงการจัดส่ง
แล้วเราจะบริหารจัดการคลังสินค้าด้วยระบบ Fulfillment อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด? มาดูเคล็ดลับสำคัญกันครับ
24 ก.ค. 2025
ลองนึกภาพคลังสินค้าแบบดั้งเดิม ที่ชั้นวาง A ต้องเก็บแต่สินค้า A เท่านั้น และชั้นวาง B ก็ต้องเก็บเฉพาะสินค้า B... แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าสินค้า A หมดสต็อก? พื้นที่ตรงนั้นก็จะถูกปล่อยให้ว่างเปล่าโดยเปล่าประโยชน์ แม้ว่าเราจะมีสินค้า C ล้นคลังจนไม่มีที่เก็บก็ตาม
ปัญหานี้คือจุดอ่อนของระบบการจัดเก็บแบบกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location) แต่วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ Random Location System หรือ การจัดเก็บแบบสุ่มตำแหน่ง แนวคิดอัจฉริยะที่กำลังปฏิวัติการจัดการคลังสินค้าและบริการ Fulfillment ทั่วโลก
24 ก.ค. 2025
เราจะมาทำความรู้จักกับ 3 ระบบที่เปรียบเสมือน "หัวใจหลัก" ของการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล และมาดูกันว่าสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งพัสดุอย่าง BS Express ระบบเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความสำเร็จให้กับพาร์ทเนอร์ของเราได้อย่างไร
24 ก.ค. 2025