แชร์

Inventory Management การวางแผนเพื่อการใช้งานทรัพยากรของธุรกิจ

อัพเดทล่าสุด: 18 ต.ค. 2024
56 ผู้เข้าชม
Inventory Management การวางแผนเพื่อการใช้งานทรัพยากรของธุรกิจ

การบริหารสินค้าคงคลัง หรือ Inventory Management คือ การดูแล วางแผน และจัดการทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ขายหรือ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ และสต๊อกสินค้า โดยที่เป้าหมายของการบริหารสินค้าคงคลัง คือการดูการไหลเวียนของสินค้าจากกระบวนการผลิต ไปยังกระบวนการจัดเก็บ จนไปถึงกระบวนการขาย เพื่อช่วยให้เราสามารถลดภาระในการเก็บสินค้ามากเกินจำเป็น

สินค้าคงเหลือในคลังที่ต้องจัดประเภท

วัตถุดิบ (Raw materials)

วัตถุดิบเป็นสิ่งของที่ผู้ผลิตใช้ในการประกอบ หรือแปรรูปในการสร้างสินค้าสำเร็จรูปขึ้นมาเพื่อขายภายหลัง โดยอาจจะรวมถึงสิ่งของที่บริษัทซื้อมาจากบริษัทอื่น จัดหาด้วยตัวเอง หรือประกอบมาจากวัตถุดิบ

งานในกระบวนการ (Work in progress)

สำหรับสินค้าที่มีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน บางครั้งบริษัทก็ต้องมีการจัดเก็บงานในกระบวนการ ก่อนที่จะเข้าไปในกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูปออกมา ซึ่งงานในกระบวนการ คือสินค้าคงคลังที่ถูกผลิต แปรรูป หรือประกอบมาจากวัตถุดิบ แต่ก็ยังอยู่ในลักษณะไม่สมบูรณ์แบบ รอการผลิต แปรรูป หรือประกอบอีกรอบเพื่อให้เป็นสินค้าที่พร้อมจำหน่าย

 สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods)

สินค้าสำเร็จรูป คือสินค้าที่ถูกแปรรูป ประกอบ หรือผลิตมาสมบูรณ์แบบ และพร้อมที่จะถูกขายให้กับลูกค้าแล้ว เพราะฉะนั้น สินค้าสำเร็จรูปก็คือสต๊อกของสินค้าที่พร้อมจะนำไปขายให้กับลูกค้านั้นเอง

 อะไหล่ และวัสดุสำหรับการซ่อมบำรุง (MRO / Maintenance-Repair-Operating Supplies)

สิ่งของที่ถูกใช้ในการสนับสนุน หรือซ่อมแซมการผลิตสินค้าสำเร็จรูป แต่ไม่ได้ถูกใช้ในกระบวนการสร้างโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กับเครื่องจักรในโรงงาน หรือถุงมือแพทย์ที่ใช้ประกอบการผ่าตัด

สินค้าคงคลังที่เก็บตามรอบ (Cycle Stock)

Cycle Stock หรือสินค้าคงคลังที่เก็บตามรอบ คือสินค้าคงคลังที่มีไว้เติมเต็มสินค้าที่ถูกขายไป หรือวัตถุดิบที่ถูกใช้ไปในกระบวนการผลิต ซึ่งสินค้าคงคลังประเภทนี้จะถูกเก็บไว้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เราทราบแน่นอน รวมทั้งช่วยทำให้วงรอบของเวลาในการสั่งวัตถุดิบหรือสินค้านั้นคงที่ ซึ่งจะทำให้สินค้าคงคลังในแต่ละรอบที่มาถึง จะตรงกับเวลาที่วัตถุดิบหรือสินค้าชิ้นสุดท้ายนั้นหมดลงอย่างพอดี

สินค้าคงคลังระหว่างทาง (In-Transit Inventories)

In-Transit Inventories หรือสินค้าคงคลังระหว่างทาง คือวัตถุดิบหรือสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่ง จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งวัตถุดิบหรือสินค้าเหล่านี้ อาจจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ตามรอบด้วยเช่นกัน เพราะถึงแม้ว่าวัตถุดิบหรือสินค้าที่อยู่ระหว่างขนส่งนั้น จะต้องรอจนกว่าจะไปถึงผู้ที่สั่งวัตถุดิบหรือสินค้าเสียก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตหรือนำไปขายต่อไปได้ก็ตาม

สินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock or Buffer Stock)

Safety Stock or Buffer Stock หรือสินค้าคงคลังสำรอง คือสินค้าคงคลังจำนวนหนึ่งที่เก็บไว้เกินจากจำนวน หรือมีปริมาณมากกว่าที่เก็บไว้ตามรอบปกติ เนื่องจากความต้องการสินค้าของลูกค้า หรือช่วงเวลารอคอยในการสั่งสินค้านั้นมีความไม่แน่นอน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีสินค้าคงคลังสำรองไว้ในปริมาณที่เพียงพอกับการนำไปใช้ก่อน

สินค้าคงคลังที่เก็บไว้เพื่อบริหารความเสี่ยง (Speculative Stock)

Speculative Stock หรือสินค้าคงคลังที่เก็บไว้เพื่อบริหารความเสี่ยง คือสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ สำหรับตอบสนองความต้องการลูกค้าในปัจจุบัน และยังเผื่อไว้สำหรับความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมากกว่าปกติ เพราะมีการคาดการณ์ว่าวัตถุดิบจะมีขึ้นราคา หรือขาดแคลนในอนาคต

สินค้าคงคลังที่เก็บไว้ตามฤดูกาล (Seasonal Stock)

Seasonal Stock หรือสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ตามฤดูกาล คือรูปแบบหนึ่งของสินค้าคงคลังที่เก็บไว้เพื่อบริหารความเสี่ยง โดยเป็นการสะสมสินค้าคงคลังไว้จำนวนหนึ่ง ก่อนที่ฤดูกาลของการขายสินค้าจะมาถึง ซึ่งสินค้าคงคลังประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีตามฤดูกาล รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยผู้ผลิตจะมีการสต๊อกสินค้ารุ่นใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในแต่ละฤดูกาลที่กำลังจะมาถึง

การบริหารจัดการสินค้าคงคลังแบบมืออาชีพ 

  • แยกรหัสสินค้าและติดป้ายบาร์โค้ด: การแยกประเภทสินค้าด้วยรหัสหรือป้ายบาร์โค้ด เพื่อให้ตรงกับรายการสินค้าที่ขายบนเว็บ E-commerce รวมถึงการกำหนด SKU (Stock Keeping Unit) ให้แต่ละประเภทสินค้า เพื่อช่วยในการจัดส่งที่รวดเร็วและแม่นยำ
  • ตรวจนับสต๊อกอย่างสม่ำเสมอ: การเช็คจำนวนสินค้าคงคลังอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือสุ่มตรวจเฉพาะบางรายการทุกเดือน เพื่อให้มั่นใจว่ามีสินค้าคงคลังเพียงพอและถูกต้อง
  • จัดการกับสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว: สำหรับสินค้าค้างสต๊อกที่ขายไม่ออก สามารถนำมาจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เพื่อกระตุ้นยอดขาย
  • กำหนดปริมาณสินค้าคงคลังให้เหมาะสม: การจดบันทึกการเข้าออกของสินค้าในคลัง ควบคู่กับการดูยอดขายในอดีต เพื่อจัดหาสต๊อกให้เพียงพอ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ขายดีและไม่ดี รวมถึงวัตถุดิบที่ต้องลดหรือสั่งซื้อเพิ่ม ควรพิจารณาตัดสต๊อกสินค้าที่ไม่จำเป็นออก
  • ใช้ระบบสินค้าคงคลังหรือโปรแกรม WMS: การใช้ระบบหรือโปรแกรมบริหารจัดการคลังสินค้า (WMS) เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน และช่วยให้การบริหารจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพมากขึ้น




BY : NUN

ที่มา : hocco.co/th/blog/what-is-inventory-management/


บทความที่เกี่ยวข้อง
ฺBackhaul รถเที่ยวเปล่า คืออะไร และมีผลอย่างไรกับธุรกิจขนส่งบ้าง?
Backhaul รถเที่ยวเปล่า คืออะไร และมีผลอย่างไรกับธุรกิจขนส่งบ้าง?
7 พ.ย. 2024
กลยุทธ์โลจิสติกส์ที่สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจออนไลน์
การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ไม่เพียงพึ่งพาการตลาดและการจัดการลูกค้าเท่านั้น แต่ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถขยายและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
7 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ