แชร์

Green Supply Chain เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน

อัพเดทล่าสุด: 12 ต.ค. 2024
160 ผู้เข้าชม

การบริหารจัดการการผลิตและซัพพลายเชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ โดยเฉพาะการจัดหาวัสดุที่ยั่งยืน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดการสร้างขยะ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยให้องค์กรมุ่งเน้นความยั่งยืนไม่ได้สนใจเพียงด้านกำไรทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Green Supply

  หรือเรียกว่า Green Procurement คือ การจัดซื้อและจัดหาสินค้าจากผู้ส่งมอบสีเขียว (Green Supplier) ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบ Paperless ตลอดจนการซื้อวัตถุดิบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ องค์กรควรมีการจัดการด้านความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบที่ดีหรือที่เรียกว่า Supplier Relationship Management (SRM)

Green Logistics

   โลจิสติกส์สีเขียว คือ การเคลื่อนย้าย จัดเก็บหรือขนส่ง วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ หรือซากผลิตภัณฑ์ ให้มีต้นทุนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด โดยเลือกรูปแบบการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งที่เหมาะสม รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการเคลื่อนย้าย ขนส่ง และจัดเก็บ ลดการบรรทุกไม่เต็มพาหนะและการวิ่งเที่ยวเปล่า จัดสินค้าขึ้นรถและเส้นทางขนส่งอย่างชาญฉลาด (Intelligent System) รวมทั้งใช้การขนส่งแบบ Milk Run (คือวิธีขนส่งที่ได้แนวคิดมาจากการส่งนม ซึ่งการส่งนมทุกเช้า คนส่งนมจะนำขวดนมเปล่ากลับมาด้วยหรือพวกขวดแก้วที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ใหม่ ทำให้ขากลับ รถคันดังกล่าวไม่ต้องกลับรถเปล่าให้เสียเที่ยว แนวคิดการขนส่งสินค้าแบบ Milk Run ก็คือ เมื่อผลิตสินค้าเสร็จ ส่งออกไป ระหว่างขากลับก็รับวัตถุดิบจาก Supplier กลับมาด้วย เพื่อนำไปผลิตสินค้าครั้งถัดไป) นอกจากนี้ Green Logistics ยังเกี่ยวกับการเลือกใช้ขนาดรถและเชื้อเพลิงที่เหมาะสม 

Green Design

  หรือเรียกว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศน์ (Eco-design) เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตลอดช่วงอายุ (Life Cycle Assessment; LCA) ตั้งแต่การเลือกชนิดของวัตถุดิบ การจัดหาและการผลิต รวมทั้งการขนส่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปจนถึงการใช้งานของลูกค้าและการนำซากกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือฝังกลบ ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้ติดฉลากสีเขียวบนผลิตภัณฑ์ (Green Label) 

Green Manufacturing 

  เป็นกระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อโลก สิ่งแวดล้อมและสังคม นอกจากนี้ยังประยุกต์เทคโนโลยีสะอาดเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง Green Manufacturing ประกอบไปด้วยโรงงานสีเขียว (Green Factory) ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product/Service) และบรรจุภัณฑ์สีเขียว (Green Packaging) โดยมุ่งใช้ปัจจัยการผลิตให้คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการทำกำไร รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Green Consumption

  การบริโภคสีเขียว เป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม มีลักษณะการใช้งานและวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง คุ้มค่าและไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม หากผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการออกแบบมาอย่างดีแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาในปริมาณตามเกณฑ์ที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นผู้ผลิตจึงควรสื่อสารให้ผู้บริโภครับทราบวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งควรจัดการด้านความสัมพันธ์กับลูกค้าให้เหมาะสม (Customer Relationship Management; CRM) เพื่อที่จะสามารถพัฒนาและสร้างการรับรู้ข้อมูลที่ผู้ผลิตต้องการสื่อสารกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น 

Green Reverse Logistics

  โลจิสติกส์ย้อนกลับสีเขียว เป็นกระบวนการจัดการวัสดุและสินค้าย้อนกลับ รวมทั้งขั้นตอนการจัดการซากผลิตภัณฑ์และของเสียที่เกิดขึ้น เช่น การฝังกลบ การนำกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิล โดยไม่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในกระบวนการรีไซเคิลและกำจัดผลิตภัณฑ์ที่มีสารพิษหรือสร้างมลพิษนั้น มักจะมีความยุ่งยากในการถอดประกอบซากผลิตภัณฑ์ ดังนั้นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ จึงต้องคำนึงถึงกระบวนการจัดการซากผลิตภัณฑ์ด้วย เพื่อให้การจัดการนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยใช้ความพยายามและพลังงานให้น้อยที่สุด

และยังมีองค์ประกอบของ Sustainable Supply Chain ที่จะก้าวสู่การบริการจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนได้อีก 2 องค์ประกอบ

Circular Supply Chain ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในซัพพลายเชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย วัตถุดิบ สินค้าที่หมดอายุ รวมถึงพลังงาน ให้สามารถนำกลับไปใช้ได้ใหม่ ลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็นหรือเป็นศูนย์ โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตลาด ลูกค้า และทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Transparent Supply Chain  การเปิดเผยที่มาและข้อมูลในกระบวนการซัพพลายเชนให้โปร่งใส ตั้งแต่แหล่งของวัตถุดิบ การตรวจสอบ การขนส่ง ไปจนถึงกระบวนการกำจัดของเสียต่าง ๆ เพื่อให้รู้ถึงวิธีการผลิต แหล่งที่มาของสินค้า และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ช่วยให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน เพื่อเพิ่มความไว้วางใจและสร้างความโปร่งใสในกระบวนการทำงาน




BY : NUN

ที่มา : onlylogistics.co.th




บทความที่เกี่ยวข้อง
โอกาสและอุปสรรคในตลาดขนส่งในประเทศไทย
ตลาดขนส่งมีทั้งโอกาสและอุปสรรค ผู้ประกอบการที่สามารถปรับตัว จะสามารถเติบโตและประสบความสำเร็จในตลาดนี้ได้
3 ธ.ค. 2024
การวางแผนเส้นทางขนส่ง
การวางแผนเส้นทางขนส่ง (Route Planning) เป็นกระบวนการสำคัญในโลจิสติกส์ที่ช่วยให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูง
3 ธ.ค. 2024
การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโลจิสติกส์
โลจิสติกส์เป็นหัวใจสำคัญของการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการในเศรษฐกิจโลก แต่กระบวนการโลจิสติกส์ยังคงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง
3 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ