แชร์

ธุรกิจโชห่วยไทย ในปี 2567

อัพเดทล่าสุด: 12 ก.ย. 2024
34 ผู้เข้าชม
ธุรกิจโชห่วยไทย ในปี 2567

ธุรกิจโชห่วยไทย ในปี 2567

    ปัจจุบันประเทศไทย ยังต้องพัฒนาให้ร้านค้าส่งค้าปลีกที่มีศักยภาพร่วมเป็นภาคีเครือข่ายช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการค้าปลีกรายเล็กหรือโชห่วย รวมถึง การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยเสริมศักยภาพการประกอบธุรกิจให้สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation)

    กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงประสานความร่วมมือโดยดึงร้านค้าส่งค้าปลีกขนาดใหญ่และขนาดกลางที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่นมาเป็นภาคีเครือข่ายช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อย-รายย่อม โดยดำเนินการเสริมศักยภาพและยกระดับมาตรฐานให้เป็นร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบและเป็นพี่เลี้ยงให้ร้านโชห่วยในท้องถิ่น รวมถึง การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันในพื้นที่

    สร้างโอกาสให้ร้านค้าโชห่วยได้เข้าถึงเทคโนโลยี พัฒนาร้านค้าให้มีระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขยายตลาด ขยายกลุ่มลูกค้า และเพิ่มยอดขายให้แก่ร้านโชห่วย

    ทั้งนี้ มั่นใจว่าการพัฒนาดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งร้านค้าต้นแบบและร้านค้าโชห่วย ภายใต้แนวคิด รายใหญ่ช่วยรายเล็ก ได้รับประโยชน์ทั้งคู่ พร้อมเติบโตไปด้วยกัน และส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น

    ปี 2567 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้กำหนดเป้าหมายการเสริมศักยภาพและยกระดับมาตรฐานธุรกิจเพื่อให้เกิดร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบได้ไม่น้อยกว่า 30 ร้านค้าทั่วประเทศ และมีร้านโชห่วยท้องถิ่นได้รับประโยชน์ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 250 ร้านค้า โดยร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบจะเป็นพี่เลี้ยงโชห่วยช่วยให้คำปรึกษาและพัฒนาเป็น สมาร์ทโชห่วย โดยมีการปรับภาพลักษณ์ร้านค้าให้เป็นหมวดหมู่ตามหลัก 5 ส (สวย สะอาด สว่าง สะดวก สบาย) ซึ่งจะช่วยดึงดูดลูกค้าเข้าร้านและเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น

    รวมถึง ส่งเสริมให้ใช้ระบบ POS สำหรับการขายสินค้า การจัดการสต๊อกสินค้า และการดูรายงานยอดขายเบื้องต้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากวิถีการทำงานรูปแบบเดิมสู่การใช้ระบบเทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุนและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว

การลงพื้นที่แต่ละสถานประกอบการจะเน้นที่การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น 3 ครั้ง 3 ระดับ ได้แก่

1.วิเคราะห์การพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการของกรม และจัดทำแผนพัฒนาเฉพาะราย (Individual Action Plan) โดยจะเน้นที่การแก้ปัญหาเร่งด่วน และการต่อยอดเสริมจุดแข็งให้ธุรกิจ

2.ให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางการพัฒนาตาม Individual Action Plan

3.การติดตามและประเมินผลการพัฒนาของผู้ประกอบการ ซึ่งการดำเนินงานทั้ง 3 ครั้ง จะนำไปสู่การยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจให้มีมาตรฐาน และพร้อมเป็นต้นแบบและเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกรายย่อย-รายย่อม และผู้ประกอบการร้านโชห่วยต่อไป

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบยังจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านต่าง ๆ จากพันธมิตรของกรม โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน เช่น ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์ เป็นต้น

 

 

 


BY : NUN

ที่มา : www.prachachat.net

บทความที่เกี่ยวข้อง
ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล
เมื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายแตกต่างจากการสื่อสารในยุคอื่นๆ
11 ต.ค. 2024
การตลาดแบบ Inbound Marketing คืออะไร?
Inbound Marketing เน้นไปที่การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอนเทนต์คุณภาพที่สื่อถึงสินค้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ การสร้างประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูกค้า
11 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ