จะมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกันอย่างต่อเนื่อง ในกาดำเนินการตามแผนที่วางเอาไว้ในแต่ล่ะช่วงเวลา และจะต้องมีการติดตามวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินงานตามแผนที่วางเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขแผนที่วางเอาไว้อย่างสม่ำเสมอและให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากความสำเร็จของแผนโลจิสติกส์นั้นตัวแปรสำคัญที่สุดคือ ควาสามารถในการตอบสนองความต้องการสินค้า/วัตถุดิบ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งระดับการวางแผนโลจิสติกส์ออกเป็น 4 ระดับ
การวางแผนการใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์ (ทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน สิ่งอำนวยการ และอุปกรณ์ระบบเทคโนโลยี) ในระยะยาว 3-5 ปี โดยการนำข้อมูลจากการพยากรณ์ยอดขายมาเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดธุรกรรมในอนาคตให้สอดคล้องกับแผนกลยูทธ์องค์กร แผนการตลาด แผนการผลิต แผนการเงิน และแผนทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของสายงานทางด้านโลจิสติกส์จะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์ระยะกลาง 1-3 ปี ที่กำหนดกิจกรรมโลจิสติกส์หลักภายใต้กรอบของการวางแผนโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลตัวเลขการพยากรณ์ยอดขายและคำสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้ามากำหนดการวางแผนความต้องการพัสดุ การจัดหา การจัดเก็บ การจัดส่งสินค้า และการบริการลูกค้าให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งผู้บริหารระดับกลางจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์ในระยะสั้น 6 เดือนถึง 1 ปี ที่กำหนดกิจกรรมโลจิสติกส์หลักภายใต้กรอบของแผนโลจิสติกส์หลักโดยใช้ข้อมูลตัวเลขการพยากรณ์ยอดขายหรือคำสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้ามาก หนดกิจกรรมการวางแผนความต้องการพัสดุ การจัดซื้อ การจัดเก็บ การจัดส่งสินค้า และบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ตรงเวลาและประหยัด
เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์รายวัน ที่กำหนดกิจกรรมการสั่งซื้อของลูกค้าภายใต้กรอบของแผนตารางการทำงานหลักโดยใช้ข้อมูลตัวเลขจากคำสั่งซื้อจากลูกค้าและจัดลำดับการให้บริการตามประเภทของลูกค้า ตั้งแต่กระบวนการรับคำาสั่งซื้อ การตรวจสอบสินค้าคงคลัง ความพร้อมของสินค้า ยานพาหนะ บุคลากร และอุปกรณ์เครื่องมือ
สรุป: การแบ่งระดับการวางแผนโลจิสติกส์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการกระบวนการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม
BY: FAH
ที่มา: iok2u