share

การแพ็คสินค้าเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ

Last updated: 31 Aug 2024
27 Views
การแพ็คสินค้าเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ

การขนส่งสินค้า

     ในการส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และเลี่ยงไม่ได้ในบางครั้งก็คือ สินค้าที่ขนส่งนั้นเกิดอาจจะเกิดความเสียหาย ในการขนส่งข้ามประเทศนั้น คงเลี่ยงไม่ได้ว่าการ แพ็คสินค้าอย่างปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด

     วิธีการแพ็คสินค้า ให้มีความปลอดภัยมีหลายวิธีอืทิ เช่น การเลือกบรรจุภัณฑ์ให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่จะบรรจุทั้งเรื่องของขนาด คำนึงถึงน้ำหนัก การติดเทปกาวฝากล่องและรอยต่อกล่องให้แน่หนามิดชิด เป็นต้น ซึ่งการแพ็คกิ้งสินค้าถือ่าเป็นหนึ่งขั้นตอนสำคัญในที่จะทำการนำส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นรายละเอียดขั้นตอนการแพ็คสินค้าให้เพื่อการจัดส่งให้มีความปลอดภัยมีวิธีอย่างไรบ้างไปดูกัน

การแพ็คสินค้าสำหรับในการขนส่งทางเรือและทางเครื่องบิน

1.การส่งสินค้าทางเครื่องบิน

     การส่งสินค้าทางเครื่องบินนั้น วัสดุที่จะนำมาใช้ในการขนส่ง จะมีแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น กล่องกระดาษ ลังไม้ พาเลต หรือจะเป็น กระดาษลูกฟูก ก็ใช้ในการหีบห่อสินค้าส่งได้เช่นเดียวกัน ซึ่งโดยปกติ กล่องกระดาษลูกฟูกจะใช้สำหรับการขนส่งสินค้าในประเทศ

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน

  • ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เพราะการส่งทางอากาศมีค่าใช้จ่ายสูง

  • สินค้าในการขนส่งจำกัดประเภทตรวจเช็คให้ดีก่อนทำการจัดส่ง

  • ควรแพ็คสินค้าให้มีความแน่นหนาเพื่อความปลอดภัยระหว่างการจัดส่ง

  • ไม่ส่งสินค้าที่ผิดกฎหมาย

  • เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมตามข้อกำหนดของการขนส่งทางเครื่องบิน

2.การส่งสินค้าทางเรือ

     ในการส่งทางเรือนั้นปัญหาหลัก ๆ จะเป็นการรั่วซึมในระหว่างขนส่ง เพราะฉะนั้นหากขนส่งทางเรือ จะต้องบรรจุแพ็คสินค้าอย่างระมัดระวังและแน่นหนา เพื่อป้องกันสินค้าเสียหายในการเคลื่อนย้ายสินค้าในระหว่างขนส่ง วัสดุที่จะนำมาบรรจุแพ็คสินค้าขนส่งทางเรือนั้น จะเน้นไปทางการบรรจุที่มีการดูดอากาศออก ทำให้เกิดภาวะสุญญากาศ เพื่อป้องกันความชื้นต่าง ๆ เข้าสู่สินค้าหรืออุปกรณ์ที่เราได้ทำการจัดส่งได้

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางเรือ

  • ไม่ควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก

  • ไม่ควรใช้กล่องโฟม เพราะอาจมีการชำรุดและทำให้สินค้าภายในที่บรจุไม่ปลอดภัย อีกทั้งยังสร้างมลพิษให้ทางนำอีกด้วย

  • ไม่เหมาะกับขนส่งกระเป๋าเดินทางที่มีล้อ เพราะจะทำให้สินค้ามีการไหลเคลื่อนย้ายจากการขนส่งได้เนื่อจากคลื่น เสี่ยงต่อความปลอดภัยของสินค้า

  • ควรมีการบรรจุสินค้าให้แน่นหนาและระบุประเภทสินค้าให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกและปลอดภัยต่อการขนส่ง

  • การบรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักมากควรบรรจุในกล่องที่มีขนาดเล็กเพื่อความสมดุลของน้ำหนักและการขนย้าย

  • ควรมีการติดเทปกาวให้แน่หนา ในขั้นตอนการแพ็คกิ้ง

วัสดุในการบรรจุหีบห่อ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1.ลังไม้ทึบ

     เป็น แพ็คกิ้ง ที่มีความแข็งแรงสูง ป้องกันการกระแทกรอบด้าน สามารถรองรับน้ำหนักได้เป็นอย่างมาก

2.ลังไม้แบบโปร่ง

     มีความแข็งแรงเฉกเช่นเดียวกัน แต่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับลังแบบทึบ การป้องกันความเสียหายก็ลดลงตามวัสดุ เนื่องจากมีผนังที่โปร่ง

3.พาเลท

     มีไว้สำหรับ เป็นแท่นวางสินค้า เพราะการใช้พาเลทนั้นเป็นการลดความเสียหายของสินค้าในระหว่างขนส่งหรือการขนย้ายสินค้า เหมาะสำหรับการใช้ร่วมกับ แพ็คกิ้งอื่นๆได้เป็นอย่างดี

4.สกิดพาเลท

     ซึ่งจะมีความแตกต่างจากพาเลททั่วไปอยู่ คือ สามารถที่จะปรับระดับและขนาดของพาเลท ให้ตรงกับการใช้งานในการเคลื่อนย้ายสินค้า และเป็นการเพิ่มความปลอดภัย

สรุป

     การเลือก Packing ที่ใช้เพื่อในการส่งออกนั้น ควรพิจารณา สินค้าแต่ละชนิดกับวัสดุที่จะใช้หีบห่อ มีความเหมาะสมกันไหม เพราะสินค้าบางชนิดอาจจะต้องแพ็ค ป้องกันความเสียหายมากกว่าสินค้าอื่น ๆ เช่น สินค้ามีเปราะบางเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่ายระหว่างขนส่ง

 


 

 

BY : NOON (CC)

ที่มาของข้อมูล : At-Once , Hongthaipackaging

บทความที่เกี่ยวข้อง
คลังสินค้าชั่วคราวคืออะไร
คลังสินค้าชั่วคราว (Temporary Warehouse) เป็นคลังสินค้าที่ถูกสร้างขึ้นหรือเช่าใช้ในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อรองรับความต้องการเฉพาะกิจหรือช่วงเวลาพิเศษ โดยทั่วไปจะใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการพื้นที่เก็บสินค้าหรือวัสดุในระยะสั้น ๆ
14 Sep 2024
AMR กับ AGV แบบไหนตอบโจทย์ธุรกิจมากกว่ากัน
การเลือกใช้ AMR หรือ AGV ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละธุรกิจ เช่น ประเภทของงานที่ต้องทำ ขนาดของพื้นที่ ความซับซ้อนของกระบวนการผลิต และงบประมาณ
14 Sep 2024
แชร์เทคนิคที่จะช่วยให้การจัดการ Logistics มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น!!!
การจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นกุญแจที่สำคัญสู่ความสำเร็จในงานด้านธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการสินค้าที่ต้องมีระบบการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
14 Sep 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ