แชร์

ประเภทรถขนส่งสินค้ามีอะไรบ้าง

อัพเดทล่าสุด: 14 ก.ย. 2024
2841 ผู้เข้าชม

รู้หรือไม่? รถบรรทุก มีถึง 9 ประเภท

       ผู้ขับขี่หลาย ๆ ท่านที่อยู่ในวงการขนส่งอาจจะเคยพบ รถบรรทุก มาหลายประเภท แต่อาจจะยังไม่เคยทราบถึงประเภทของ รถบรรทุก ที่กฎหมายกำหนด

       รถบรรทุก แบ่งได้ทั้งหมด 9 ประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด โดยกรมขนส่งทางบกได้ให้คำนิยามโดยแยกตามลักษณะการใช้งานในการขนสิ่งของหรือสัตว์ ดังนี้

1.รถกระบะบรรทุก
ซึ่งส่วนที่ใช้จะมีลักษณะเป็นกระบะ จะมีหลังคาหรือไม่มีก็ได้ หรือจะมีเครื่องทุ่นแรง ไว้เพื่อช่วยสำหรับยกสิ่งของได้ รวมถึงรถที่ใช้ในการบรรทุกไม่มีด้านข้างหรือด้านท้าย
ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์
2.รถตู้บรรทุก
โดยรถที่ใช้ในการบรรทุกจะมีลักษณะเป็นตู้ทึบ และมีหลังคาและตัวถังที่บรรทุกระหว่างผู้โดยสารและผู้ขับเป็นตอนเดียว โดยจะมีประตูบานใหญ่ไว้สำหรับให้ผู้โดยสารขึ้นลง หรือจะเลือกเปิดท้ายก็ได้
ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์
3.รถบรรทุกของเหลว
เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมและจะต้องเป็นประเภทที่มีความปลอดภัยสูง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย
4.รถบรรทุกวัสดุอันตราย
เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะเพื่อใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมี วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะและมีป้ายเตือนอย่างชัดเจน
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย
5.รถบรรทุกเฉพาะกิจ
ซึ่งเป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อใช้ในการเฉพาะ เช่น รถบรรทุกเครื่องดื่ม รถผสมซีเมนต์ รถขยะมูลฝอย รถราดยาง หรือรถเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย

6.รถพ่วง
เป็นรถที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยรถอื่นลากจูงโดยจะมีโครงรถที่มีเพลาล้อที่สมบูรณ์ในตัวเอง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก
7.รถกึ่งพ่วง
เป็นรถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จึงต้องใช้หัวรถลาก โดยน้ำหนักของรถบางส่วนจะต้องเฉลี่ยลงบนเพลาล้อของคันลากจูง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก
8.รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง
เป็นรถที่ไว้ใช้ในการขนสิ่งของที่ยาว โดยจะมีโครงโลหะที่สามารถปรับตัวได้ตามช่วงล้อลากจูง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก
9.รถลากจูง
เป็นรถที่เป็นลักษณะสำหรับใช้ลากรถพ่วง รถกึ่งพ่วง เพราะรถเหล่านั้นจะไม่สามารถที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองจึงต้องอาศัยรถประเภทนี้ในการลากจูง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์

สรุปได้ว่า
รถบรรทุก แบ่งได้ทั้งหมด 9 ประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด โดยกรมขนส่งทางบกได้ให้คำนิยามโดยแยกตามลักษณะการใช้งานในการขนสิ่งของหรือสัตว์ ดังนี้ คือ รถกระบะบรรทุก, รถตู้บรรทุก, รถบรรทุกของเหลว, รถบรรทุกวัสดุอันตราย, รถบรรทุกเฉพาะกิจ, รถพ่วง, รถกึ่งพ่วง, รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง, รถลากจูง เมื่อผู้ขับขี่ทราบถึงลักษณะการใช้งานของ รถบรรทุก แต่ละประเภทแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานให้มากที่สุด นอกจะช่วยให้การขนส่งประหยัดต้นทุนแล้ว ยังช่วยให้ขนส่งสินค้าและสัตว์ได้อย่างปลอดภัยอีกด้วยครับ 

 

 

 

 

 

BY : BOAT

ที่มา : sowheel.asia


บทความที่เกี่ยวข้อง
บรรจุภัณฑ์ Eco-Friendly สำหรับธุรกิจขนส่ง มีแบบไหนบ้าง?
ทุกวันนี้ลูกค้าไม่ได้มองแค่ ส่งเร็วแต่ยังใส่ใจว่า ขนส่งของฉันทำร้ายโลกหรือเปล่า? ธุรกิจขนส่งยุคใหม่จึงต้องเริ่มหันมาใช้ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly Packaging)
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
7 ก.ค. 2025
AI คัดแยกพัสดุได้แม่นกว่าคนจริงไหม?
ลองคิดดูว่าในศูนย์กระจายพัสดุขนาดใหญ่ทุกวันมีของเข้ามานับหมื่นชิ้นต่างขนาด ต่างปลายทาง ต่างความเร่งด่วนแต่ละกล่องต้องถูกคัดแยกให้ถูกต้องในเวลาไม่กี่วินาทีเพื่อไม่ให้เกิด ของตกหล่น-ของส่งผิด คำถามคือ AI คัดแยกพัสดุได้แม่นกว่าคนจริงไหม?
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
7 ก.ค. 2025
เปลี่ยนทีมขนส่งธรรมดา ให้กลายเป็นทีม ‘อัจฉริยะ’ ด้วยระบบแฟรนไชส์
ธุรกิจขนส่งในยุคนี้ ไม่ได้แข่งกันแค่ “ส่งไว” หรือ “ราคาถูก” อีกต่อไป แต่เป็นการแข่งขันเรื่อง ประสบการณ์ การบริหาร และความฉลาดของทีมงาน ทั้งหน้าบ้าน-หลังบ้าน และหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถเปลี่ยนทีมธรรมดา ให้กลายเป็นทีม ‘อัจฉริยะ’ ได้จริง คือ “ระบบแฟรนไชส์ขนส่ง”
ร่วมมือ.jpg Contact Center
7 ก.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ