แชร์

LSP คืออะไรในวงการโลจิสติกส์

อัพเดทล่าสุด: 12 ส.ค. 2024
220 ผู้เข้าชม

     LSP (Logistics Service Provider)หรือผู้ประกอบการด้านธุรกิจโลจิสติกส์ภายนอก ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 

ลักษณะการให้บริการของ LSP

     งานที่ให้บริการจะเป็นกิจกรรมการให้บริการอย่างเป็นกระบวนการ ลักษณะงานมีความซับซ้อน ต้องใช้ทักษะความชำนาญเฉพาะด้านและเทคโนโลยี โดยผู้ว่าจ้างอาจใช้ผู้ให้บริการหลายราย โดยที่ผู้ว่าจ้างยังคงเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการ เพื่อที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์แต่ละราย มีการเชื่อมโยงกัน

บทบาทหน้าที่ของ LSP

      หมายถึง ผู้ให้บริการจากภายนอก หรือผู้ประกอบการภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่มีผลสำคัญ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของสินค้า ซึ่งอาจเป็นทั้งผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกสินค้า เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยสามารถแบ่งประเภทของการให้บริการ LSP ได้ดังต่อไปนี้

1.ให้บริการขนส่งสินค้า (Transportation Services)

หมายถึง การให้บริการด้านขนส่งสินค้า (ชิปปิ้ง) ทั้งภายในประเทศและส่งออกนอกประเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น

  • ขนส่งทางรถบรรทุก 
  • ขนส่งทางราง
  • ขนส่งทางท่อ
  • ขนส่งทางน้ำหรือทางเรือ
  • ขนส่งทางอากาศ / MTO (Multimodal Transport Operator)
  • การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ Terminal To Terminal หรือ Door To Door

2.ให้บริการคลังสินค้า (Warehousing Services)

เป็นการให้บริการพัก เก็บรักษา ดูแลและบริหารคลังสินค้า รวมทั้งการกระจายสินค้า ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือวัตถุดิบ การจัดเก็บโดยไม่ให้สินค้าเสื่อมสภาพหรือแตกหักเสียหาย สามารถแบ่งประเภทของคลังสินค้าได้ เช่น

  • คลังสินค้าผ่านแดน
  • คลังสินค้าปลอดอากร
  • คลังสินค้าทัณฑ์บน
  • คลังสินค้ารับฝากเก็บสินค้าในประเทศ

ซึ่งบริการของ LPS ที่ลูกค้านิยมใช้บริการมากที่สุดได้แก่ คลังสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง เทียบท่าข้าม การขนส่ง ส่งต่อการขนส่งฯ

3.ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (International Freight Forwarder)

Forwarder ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการนำเข้าและส่งออกสินค้ากับทางสายเรือ(ชิปปิ้ง)หรือสายการบิน (Carrier) เพื่อจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าตั้งแต่การจองระวางเรือ การบรรจุสินค้า การขนส่ง การดำเนินพิธีการขาเข้าและขาออก การจัดการเกี่ยวกับเอกสารส่งออกและนำเข้า เป็นต้น

โดยจะจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง แต่จะไม่มีเรือและเครื่องบินเป็นของตัวเอง

4.ตัวแทนออกของ (Customs Brokerage Services)

หรือการให้บริการด้านพิธีการศุลกากร ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้นำเข้า

  • ส่งออกในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้า
  • ส่งออกที่เป็นเจ้าของสินค้า

5.การให้บริการพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ (Courier and Postal Services)

ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ เป็นการให้บริการอย่างรวดเร็ว โดยให้บริการแบบ door-to-door 

โดยลักษณะสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เป็นต้น




BY : NOON (CC)

ที่มาของข้อมูล : nextlogistics , At-Once










บทความที่เกี่ยวข้อง
เทคโนโลยี AI ในงานโลจิสติกส์ 2024
ในปี 2024 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในงานโลจิสติกส์ โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในกระบวนการต่าง ๆ
10 ธ.ค. 2024
บทบาทสำคัญของ Logistics People
บทบาทสำคัญของ Logistics People หรือบุคลากรในสายงานโลจิสติกส์ มีความสำคัญต่อกระบวนการจัดการสินค้าและบริการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
9 ธ.ค. 2024
การปฏิวัติระบบโลจิสติกส์แห่งอนาคต
ในโลกที่เศรษฐกิจและการค้าก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การจัดเก็บ หรือการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
6 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ