share

7 ประเภท บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง

Last updated: 7 Aug 2024
64 Views
7 ประเภท บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง

7 ประเภท บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง ยอดนิยม มีอะไรบ้าง

1.1 บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ

  ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปมีขนาดหลากหลายให้เลือกตามความเหมาะสมในขนาดวัสดุ หรือจำนวนชิ้นของพัสดุ โดยกล่องกระดาษที่นำมาใช้คือ กล่องกระดาษแบบลูกฟูก ซึ่งมีคุณสมบัติที่หนาแน่น เหมาะสมกับการเคลื่อนย้ายและเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง และนอกจากนี้ยังสามารถป้องกันพัสดุให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ได้นั่นเอง เมื่อต้องส่งของไปต่างจังหวัด

1.2 บรรจุภัณฑ์พลาสติกใส

  นิยมใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งโลจิสติกส์ โดยการห้อหุ้มพัสดุขั้นแรกและขั้นที่สอง หรือไม่ก็ห่อหุ้มพาเลทสินค้าทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกในการขนย้าย ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันการเจาะ การขูดขีด และแรงกระแทก โดยเฉพาะหากต้องมีการส่งของแตกง่าย และที่สำคัญเลยวัสดุประเภทนี้ มีราคาที่ถูก

1.3 บรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ

  ซึ่งการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศนั้น เป็นตัวเลือกที่ดีอย่างมากสำหรับการส่งพัสดุที่ต้องการห่อหุ้มและปิดผนึกอย่างแน่นหนา อย่างเช่น อาหารที่เน่าเสียง่าย สินค้าอบแห้ง เพราะการห่อหุ้มแบบสุญญากาศนั้น จะช่วยในการจำกัดออกซิเจน และยังยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย และยีสต์ ที่สำคัญเลยยังช่วยคงความสดใหม่ของอาหารอีกด้วย และไม่เน่าเสียอีกด้วย หากมีการส่งของไปยังต่างจังหวัด

1.4 บรรจุภัณฑ์แบบพาเลทหรือลังไม้

  ถือเป็นวัสดุที่สำคัญอย่างยิ่งในการเป็นฐานสำหรับเคลื่อนย้ายพัสดุ ซึ่งบริษัทขนส่งหลายแห่งมักจะนิยมใช้พาเลทในการเคลื่อนย้ายพัสดุที่มีขนาดใหญ่หรือมีจำนวนมาก แต่ต้องการใช้ระยะเวลาที่รวดเร็ว  นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันจากสิ่งสกปรก มลภาวะต่างๆ ซึ่งคุณสมบัติที่ดีของพาเลทไม้คือ สามารถนำกลับมาใช้ได้หลายๆ ครั้งนั่นเอง

1.5 บรรจุภัณฑ์ห้อหุ่มแบบถนอมสินค้า

  การบรรจุภัณฑ์แบบถนอมสินค้านั้น เป็นการรวบรวมเอาหีบห่อสินค้าพลาสติกใสกับหีบห่อแบบสูญญากาศเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งการหุ้มห่อแบบนี้จะพบเห็นได้จากการแพ็คกล่องลังเครื่องดื่ม, กล่องลังกระป๋องอะลูมิเนียม รวมถึงสินค้าและพัสดุที่มีความเปราะบาง แตกหักง่าย เช่น ถาดวางไข่, เหยือกใส่นม เป็นต้น 

1.6 บรรจุภัณฑ์ด้วยแผ่นกันกระแทก

  Bubble Wrap ซึ่งแผ่นกันกระแทกได้รับความนิยมอย่างมากในการขนส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีการห่อหุ้มพัสดุที่มีความเปราะบาง หรือแตกหักง่าย เช่น เครื่องแก้ว, เครื่องเซรามิก, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งของที่ต้องการถนอมเป็นอย่างดี เป็นต้น 

1.7 บรรจุภัณฑ์ป้องกันการกระแทก

  ซึ่งบรรจุภัณฑ์กันกระแทกนั้น ถือเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับการบรรจุสิ่งของอย่างมาก โดยเฉพาะพัสดุที่เปราะบาง หรือแตกหักง่าย ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องการแรงกระแทกจนทำให้พัสดุเสียหาย หรือการสั่นสะเทือนจากแวดล้อมภายนอก





BY : Nook

ที่มา : wtb.transport

บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อแนะนำในการออกแบบคลังสินค้าอันตราย
การออกแบบคลังสินค้าอันตรายต้องให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยง การป้องกันอุบัติเหตุ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย
11 Sep 2024
บริษัทประเภทใดที่เหมาะสมกับการใช้งานโลจิสติกส์
แทบทุกธุรกิจจำเป็นต้องใช้บริการโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจเหล่านี้
10 Sep 2024
Transporeon ออกแบบเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
Transporeon เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่ง
10 Sep 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ