คือ ปัญหาที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องตระหนัก หากถามว่าโลจิสติกส์คือ อะไร? หลาย ๆ คนคงจะตอบว่า การขนส่ง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการขนส่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห่วงโซ่โลจิสติกส์ (Logistic) ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ สิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้คือกระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การหาวัตถุดิบ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ การผลิต การบริหารคลังสินค้า การกระจายสินค้า รวมไปถึงการบริการลูกค้า ทุกขั้นตอนเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนในการบริหารกิจการทั้งสิ้น เพื่อให้คุณได้เข้าใจถึงปัญหาในการบริหารงานมากขึ้น เราได้สรุป 5 ประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่จะบริหารและจัดการโลจิสติกส์ (Logistic) ของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อลูกค้ามีความต้องการซื้อ กิจการย่อมต้องมีการเตรียมสินค้าไว้ให้เพียงพอต่อการขาย แต่บางช่วงผู้บริโภคกลับมีความต้องการซื้อเกินกว่าจำนวนสินค้าที่มีอยู่ นั่นเท่ากับว่าธุรกิจเสียโอกาสในการขาย แม้ธุรกิจจะสามารถสั่งผลิตสินค้ามาเพิ่มได้ แต่การเกิดปัญหาในลักษณะนี้ซ้ำ ๆ ต้นทุนการผลิตของคุณย่อมสูงขึ้น เพราะการผลิตสินค้าในปริมาณน้อย ย่อมมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าการผลิตสินค้าในปริมาณมาก ลองคิดดูง่าย ๆ ว่า ซื้อสินค้าเป็นโหลกับซื้อปลีกเป็นชิ้น ราคาก็แตกต่างกันใช่ไหม? หลักการที่ใช้ในการผลิตก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากคุณสามารถเก็บข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าและนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการพยากรณ์การสั่งซื้อแต่ละช่วง คุณจะทราบทันทีว่าต้องวางแผนการผลิตอย่างไรเพื่อให้ได้ต้นทุนโลจิสติกส์ (Logistic) ด้านการผลิตที่ต่ำที่สุด
การจัดการคลังสินค้าอีกหนึ่งส่วนสำคัญของห่วงโซ่โลจิสติกส์ (Logistic) ที่หากธุรกิจไม่มีการจัดการที่ดี จะส่งผลให้จะเกิดต้นทุนสูงและควบคุมได้ยาก รวมถึงจะกระทบไปยังส่วนงานอื่นอีกด้วย เพราะคลังสินค้ามีพื้นที่จำกัด หากคุณไม่วางระบบในการจัดวางสินค้า ไม่วางแผนการระบายสินค้าเก่า เมื่อสินค้าใหม่เพิ่มขึ้น ก็จะนำมาสู้ปัญหาพื้นที่คลังสินค้าไม่เพียงพอ สินค้าค้างสต๊อกเป็นจำนวนมาก และเมื่อสินค้าคงคลังมากขึ้น ต้นทุนในการจัดเก็บย่อมสูงขึ้นด้วย เช่น ค่าไฟ ค่าเช่า ค่าพนักงาน เป็นต้น
ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นส่วนสำคัญที่สร้างการเติบโตของธุรกิจ การบริการลูกค้าครอบคลุมตั้งแต่เมื่อลูกค้าเกิดความสนใจ การให้คำแนะนำ การจัดส่งสินค้าได้ถูกสถานที่และตรงตามเวลาที่กำหนด การให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเมื่อลูกค้าเกิดปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องวางแผนและวางระบบเพื่อที่จะตอบสนองลูกค้าได้อย่างเร็วที่สุด เพราะหากลูกค้าไม่พึงพอใจในการให้บริการ โอกาสที่ผู้บริโภคจะกลับมาซื้อซ้ำแทบจะไม่มีเลย ถ้าสินค้าของคุณไม่ได้แตกต่างจากคนอื่น ขนาดที่ว่าทดแทนกันไม่ได้
ทุกคนคงเห็นกันแล้วว่า ในกระบวนการมักมีปัญหาซ่อนอยู่ ประเด็นที่กล่าวมาถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจอย่างยิ่ง เพราะหากคุณไม่รู้วิธีจัดการกับปัญหาการขนส่งด้าน ธุรกิจ โลจิสติกส์ (Logistic) ที่เกิดขึ้น สิ่งที่จะตามมาก็คือ ธุรกิจไม่สามารถที่จะควบคุมต้นทุนในการบริหารงานได้ และเมื่อต้นทุนสูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันในตลาดและการทำกำไรของธุรกิจย่อมลดลง
BY : NOON (CC)
ที่มาของข้อมูล : logistplus