share

เรือบรรทุกสินค้ามีทั้งหมดกี่ประเภท ไปทำความรู้จักกัน

Last updated: 31 Jul 2024
94 Views
เรือบรรทุกสินค้ามีทั้งหมดกี่ประเภท ไปทำความรู้จักกัน

เรือบรรทุกสินค้ามีทั้งหมดกี่ประเภท ไปทำความรู้จักกัน

เรือขนส่งสินค้า เป็นเรือที่ใช้สำหรับการบรรทุกสินค้าทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจบรรทุกสินค้าที่เป็นหีบห่อหรือไม่เป็นหีบห่อก็ได้ จำแนกสินค้าตามลักษณะที่ขนส่งได้ดังนี้

1.เรือบรรทุกสินค้าเทกอง (Bulk carrier)

     เป็นเรือชั้นเดียวขนาดใหญ่มาก  สามารถบรรทุกได้ทั้งสินค้าเทกองแห้งและสินค้าเทกองเหลว เช่น เมล็ดพืช ถ่านหิน แร่เหล็ก โดยสินค้าจะถูกวางหรือเทกองในห้องระวางสินค้าจนเต็ม

2.เรือบรรทุกสินค้าทั่วไป (General cargo ship) 

     เป็นเรือที่บรรทุกสินค้าได้หลายชนิดรวมกัน   ซึ่งมีระวางบรรทุกสินค้าที่เป็นพื้นที่โล่งและแบ่งเป็นส่วนๆแต่จะออกแบบให้มีลักษณะเป็นชั้นๆ เพื่อเพื่มพื้นที่ในการวางสินค้าให้มากขึ้น โดยมีฝาระวางบนดาดฟ้าเรือและระวางชั้นเพื่อขนถ่ายสินค้าขึ้นลงเรือ มีความสะดวกในการเข้า ออก เมืองเทียบท่าต่างๆได้เป็นอย่างดี

3.เรือคอนเทนเนอร์ (Container ship) 

     เป็นเรือขนาดใหญ่ที่บรรทุกสินค้าในลักษณะของตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าที่บรรจุในตู้อาจเป็นสินค้าแห้ง สินค้าเหลว สินค้าประเภทอาหาร เช่น ผลไม้ ผักสด ปลา เนื้อสัตว์ สารเคมี ปุ๋ย สุรา เครื่องจักร เป็นต้น

ซึ่งการขนส่งแบบเรือคอนเทนเนอร์มีข้อดีเมื่อเปรียบเทียบกับกับการขนส่งแบบเรือบรรทุกสินค้าทั่วไปดังนี้

  • สินค้าถูกบรรจุอยู่ในตู้บรรจุสินค้า ทำให้สินค้ามีความปลอดภัย โดยอัตราการสูญหายระหว่างการขนส่งลดลง
  • ตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) สำหรับบรรจุสินค้ามีขนาดที่เป็นมาตรฐานส่งผลให้การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงเรือสามารถทำได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • การขนถ่ายที่รวดเร็วทำให้เรือขนส่งใช้เวลาที่หน้าที่น้อยลง ทำให้ลดปัญหาความแออัดของเรือ ซึ่งผู้ส่งสินค้าได้รับประโยชน์จากการไม่ถูกเรียกเก็บค่า Congestion Surcharge
  • ขนาดของตู้บรรจุสินค้าที่เป็นมาตรฐานส่งผลให้สามารถใช้พื้นที่ของระวางบรรทุกของเรือได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของการขนส่งสินค้าลดต่ำลง

4.เรือบรรทุกรถยนต์ (RORO) RO-RO

     เป็นคำย่อมาจาก Roll-On/Roll-Off เป็นเรือที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าประเภทที่มี"ล้อ,"เรือro-roจะแตกต่างจากเรือลำเลียงสินค้าแบบLO-LO (Lift-On/Lift-Off) ซึ่งใช้เครนเพื่อยกสินค้าขึ้นหรือลงจากเรือ ส่วนเรือยานบรรทุกพาหนะประเภท RO-RO จะขนถ่ายยานพาหนะโดยใช้ "ทางลาด" ( Ramp ) ที่ติดตั้งมากับเรือ โดยปกติทางลาดเหล่านี้จะติดตั้งอยู่ด้านท้าย (ด้านหลัง) ของเรือ แต่ในเรือบางลำอาจมีการติดตั้งทางลาดที่บริเวณหัวเรือ (ด้านหน้า) และด้านข้างเรือด้วย เรือประเภทนี้สามารถเป็นได้ทั้งเรือเพื่อการพาณิชย์ และเป็นเรือทางทหารก็ได้


5.เรือบรรทุกสินค้าแช่เย็น/แช่แข็ง (Reefer Cargo Ship)

     เป็นเรือบรรทุกสินค้าแช่เย็น โดยปกติจะใช้เพื่อขนส่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย ซึ่งต้องใช้การขนส่งที่ควบคุมอุณหภูมิได้ เช่น ผักสดและผลไม้ สัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา

6.เรือบรรทุกสินค้าที่เป็นของเหลว (Tankers)

     เป็นเรือที่ใช้บรรจุของเหลวทุกชนิด ซึ่งออกแบบพิเศษสำหรับสินค้าจำพวก น้ำมัน สารเคมี หรือบรรทุกแก๊ส จึงเป็นเรือที่ค่อนข้างอันตราย และต้องการการดูแลความปลอดภัยในการขนส่งสูง

7.เรือบรรทุกคนโดยสาร ( Passenger ship )

     เป็นเรือโดยสารที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัว มีสิ่งอำนวยความสะดวกในตัวเรือมาก จึงมีค่าใช้จ่ายในการดูแลและรักษาสูง โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่าเรือประเภทอื่น ภายในเรือจะมี ห้องอาหาร ห้องพักผู้โดยสาร ห้องดูภาพยนต์ ห้องโถงสำหรับเต้นรำ สระว่ายน้ำ ที่ออกกำลังกาย และสิ่งบันเทิงต่าง ๆ เรือประเภทนี้ถ้าแบ่งตามลักษณะการใช้งานอาจแบ่งเป็น เรือโดยสารที่วิ่งระยะใกล้ เช่น เรือเฟอรี่ และเรือโดยสารที่วิ่งระยะไกล เช่น เรือเดินสมุทร เรือสตาร์ครูส เป็นต้น

     นอกจากที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังมีเรือประเภทอื่นที่พบในธุรกิจของการขนส่งทางทะเล ได้แก่ เรือลากจูง (Tug boats) เรือตู้สินค้า (Feeder vessels) เรือสินค้าทั่วไปที่บรรจุตู้สินค้ามาด้วยหรือที่เรียกว่าเรือกึ่งคอนเทนเนอร์ (Semi container vessels) เรือบรรทุกสินค้าทั่วไป ( Conventional vessels) เรือลำเลียง (Barges) เป็นต้น ซึ่งเป็นลักษณะของเรือเดินสมุทรและเรือบริการที่สำคัญ

 

 

 


BY : NOON (CC)

ที่มาของข้อมูล : lissom-logistics , infoquest

บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อแนะนำในการออกแบบคลังสินค้าอันตราย
การออกแบบคลังสินค้าอันตรายต้องให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยง การป้องกันอุบัติเหตุ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย
11 Sep 2024
บริษัทประเภทใดที่เหมาะสมกับการใช้งานโลจิสติกส์
แทบทุกธุรกิจจำเป็นต้องใช้บริการโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจเหล่านี้
10 Sep 2024
Transporeon ออกแบบเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
Transporeon เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่ง
10 Sep 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ