แนวทางที่1 พนักงานที่จะถูกกำหนดให้ทำงานในคลังสินค้าขององค์กร ต้องผ่านการคัดเลือกจากบุคคลที่มีความรู้ตรงตามรูปแบบการทำงานที่ต้องรับผิดชอบในคลังสินค้า มีการทดสอบความรู้ก่อนรับเข้าทำงาน ตลอดจนต้องผ่านการอบรมรูปแบบการทำงานที่ทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพในคลังสินค้า การอบรบถึงจิตสำนึกในการทำงานที่ดีที่ไม่สร้างปัญหาต่อเนื่องให้เกิดขึ้นในคลังสินค้า เพราะทุกการดำเนินการในคลังสินค้าล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องและเริ่มต้นจากบุคลากรในคลังสินค้า (ยกเว้นกรณีที่เป็นคลังสินค้าอัตโนมัติที่ดำเนินการผ่านระบบเครื่องจักรและกลไกควบคุมทั้งหมด)
แนวทางที่2 การกำหนดรอบตรวจนับสินค้าในคลังสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรทราบจำนวนสินค้าในคลังปัจจุบันเทียบกับจำนวนในระบบ หากปริมาณไม่ตรงกันผู้รับผิดชอบจะได้ทำการตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องทนที นอกจากนั้นการทราบจำนวนสินค้าในคลังปัจจุบันยังทำให้ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายจัดซื้อหรือฝ่ายวางแผงการผลิตได้รับข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการวางแผนการทำงานที่ประหยัดไม่เกิดการสั่งสินค้ามาเกิดความต้องการใช้จริงขององค์กร
แนวทางที่3 การสร้างรูปแบบการจัดเรียงที่เป็นระเบียบและการจัดสินค้าแลลแยกลำดับความสำคัญของสินค้า ความมีระเบียบของคลังสินค้าส่งผลโดยตรงต่อความรวดเร็วในการค้นหาสินค้า ปัญหาสินค้าค้างสต๊อคจนหมดอายุการใช้งาน ปัญหาสินค้าเต็มคลังหรือมีปริมาณมากเกินความจำเป็น ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากคลังสินค้าที่ไม่เป็นระเบียบทั้งสิ้น การจัดสินค้าแบบแยกลำดับความสำคัญของสินค้าจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการค้นหาสินค้า
แนวทางที่4 การนำระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System : WMS) หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้ามาใช้ ระบบจัดการคลังสินค้าจะช่วยให้ผู้ดูแลทราบข้อมูลปัจจุบัน (Real Time) ความสะดวกในการใช้งาน การลดเวลาในการค้นหาข้อมูล การทราบข้อมูลปริมาณสินค้าคงคลัง ตำแหน่งจัดวาง และข้อมุลพื้นฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับคลังสินค้าค้าทั้งหมดในทันที ช่วยให้องค์กรมีข้อมูลด้านคลังสินค้าเพื่อประกอบการตัดสินใจเรื่องต่่างๆ ที่สะดวกและแม่นยำกว่าการใช้ระบบการบันทึกข้อมูลแบบเดิม ลดต้นทุนที่เกิดจากความสูญเสียในคลังสินค้าและลดเวลาและความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของคน ในส่วนของเทคโนโลยีปัจจุบันมีการพัฒนาซอร์ฟแวร์และอุปกรณ์ด้านโลจิสติกส์ที่สามารถช่วยเพิ่มความสะดวก ลดเวลาการทำงานและลดจำนวนการใช้งานคนและเครื่องจักรในคลังสินค้าขึ้นมามากมาย อาทิเช่น การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และการควบคุมอุตโนมัติในรูปแบบของหุ่นยนต์ขนย้ายสินค้าในคลังสินค้า (Warehouse Logistic Robotsz) เข้ามาทำหน้าที่แทนรถโฟล์ลิฟที่ใช้ขนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้าเพื่อลดต้นทุนในคลังสินค้าที่เกิดจากการเคลื่อนย้านสินค้าในคลังแบบเดิม
BY : NUN
ที่มา : https://bait.rmutsb.ac.th/content/warehousing-management/