แชร์

หน้าที่ของสินค้าคงคลัง (Functions of Inventories)

อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
2370 ผู้เข้าชม

สินค้าคงคลัง หรือ Inventory คืออะไร ?

สินค้าคงคลัง หรือ Inventory คือ สินค้าคงเหลือในโกดังหรือคลังจัดเก็บสินค้าที่หลายๆ ธุรกิจมีสำรองเอาไว้เพื่อใช้งาน เพื่อการบริหาร เพื่อการผลิต เพื่อการจัดจำหน่ายในอนาคต หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การดูแล วางแผน และจัดการสินค้าที่ยังไม่ได้ขายในตอนนี้นั้นเอง โดยธุรกิจต้องมีการจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือหรือสินค้าคงคลังด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในการวางแผนธุรกิจทำให้สามารถดำเนินกิจการต่างไปได้อย่างมีความราบรื่น นอกจากนี้สินค้าคงคลังก็ยังได้ผ่านการวางแผน มีการกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังในปริมาณที่เหมาะสมมาแล้วด้วยเช่นกัน

หน้าที่ของสินค้าคงคลังนั้น ถูกจำแนกออกตามหน้าที่ได้เป็น

  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบส่งผ่าน (Transit Inventories) หรือวัสดุแบบวัตถุดิบคงคลังในท่อ (Pipeline Inventory) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่กำลังอยู่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง 
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังไว้ป้องกัน (Buffer Inventories) หรืออีกชื่อก็คือ วัตถุดิบในระดับปลอดภัย (Safety Stock) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่ธุรกิจเก็บไว้เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนของปริมาณสินค้าและความต้องการ ซึ่งวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังจะมีระดับใช้เป็นกันชน (Cushion) เพื่อให้การดำเนินงานนั้นมีความราบรื่นและต่อเนื่อง โดยป้องกันปัญหาสินค้าที่ขาดมือ (Stock out) และสั่งซื้อกลับ (Backorder)
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบล่วงหน้า (Anticipation Invertories) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่จัดเก็บเพื่อป้องกันความเสี่ยงของสถานการณ์ เช่น การขึ้นราคา การนัดหยุดงาน การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ หรือ ความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบคู่ควบ (Decoupling Inventories) เป็นระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลัง ที่จะช่วยให้การหมุนเวียนของวัสดุหรือวัตถุดิบและกระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างรวบรื่นในอัตราคงที่
  • วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจร (Cycle Inventories) หรือวัสดุ วัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อ (Lot-size Inventory) เป็นปริมาณหรือวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อในรอบระยะเวลา เพื่อเป็นการให้ต้นทุนของการสั่งซื้อและการจัดเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังต่ำที่สุด โดยวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจร เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังธุรกิจ และในทางปฏิบัติของธุรกิจต่างๆนั้น
  • การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บไว้ใช้ในกรณีพิเศษต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามแผนการดำเนินงานทั้งกรณีที่คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากปกติ 
  • การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บสำรอง ไว้กรณีที่ความต้องการของลูกค้าหรือการจัดส่งวัสดุหรือสินค้าจะ Supplier มีความไม่แน่นอน
  • การมีวัสดุคงคลังเนื่องจากผลิตหรือสั่งซื้อแบบเต็ม Lot เพื่อรักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่ เพื่อให้ได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อจำนวนมากๆ ต่อครั้ง
  • การมีวัสดุคงคลังไว้เพื่อเก็งกำไรในอนาคต

สินค้าคงคลัง มีความสำคัญอย่างไร

สินค้าคงคลัง นั้นเรียกได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ และการสร้างความสมดุลให้กับ Supply Chain ของธุรกิจ เพื่อทำให้มีต้นทุนสินค้าคงคลังในระดับที่ต่ำสุด แบบไม่กระทบต่อการบริหารงาน สินค้าคงคลังก็ยังเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิต รวมถึงการจัดเก็บสินค้าคงคลังก็ยังช่วยให้ธุรกิจมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอีกด้วย 


ที่มา : packhai at-once


บทความที่เกี่ยวข้อง
พื้นที่จัดเก็บสินค้า: วิธีใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในโลกของธุรกิจและโลจิสติกส์ "พื้นที่จัดเก็บสินค้า" ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามาก การจัดการพื้นที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงช่วยลดต้นทุน แต่ยังสามารถเพิ่มความเร็วในการทำงาน เพิ่มความปลอดภัย
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
28 พ.ค. 2025
ความแตกต่างระหว่างคลังสินค้าแบบ Manual และแบบอัตโนมัติ
ในการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน “คลังสินค้า” คือหัวใจสำคัญที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและกระจายสินค้าให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
28 พ.ค. 2025
ระบบ Booking พังบ่อย แก้ยังไงให้เสถียรขึ้นในระยะยาว
ระบบ Booking หรือระบบจองออนไลน์ กลายเป็นหัวใจหลักของหลายธุรกิจในยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการจองรถ จองคลังสินค้า
ร่วมมือ.jpg Contact Center
28 พ.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ