ภาษีนำเข้าคืออะไรและคำนวณภาษีนำเข้าอย่างไร
อัพเดทล่าสุด: 10 ม.ค. 2025
1250 ผู้เข้าชม
ภาษีนำเข้า
ภาษีนำเข้า หรือภาษีศุลกากรเป็นภาษีที่รัฐบาลจะเรียกเก็บจากผู้นำเข้า ไม่ว่าจะนำเข้ามาทางน้ำ ทางบกหรือทางอากาศก็ตาม เพื่อนำไปพัฒนาประเทศในลำดับต่อไป สินค้าแต่ละประเภทจะมีอัตราภาษีนำเข้าที่แตกต่างกันหรือเรียกว่าพิกัดภาษี อย่างไรก็ตาม ภาษีนำเข้าสินค้าบางประเภท ทางรัฐบาลก็ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมด้วยการยกเว้นภาษีนำเข้าให้กับเครื่องจักรการผลิต เพื่อส่งเสริมการลงทุน ภาษีศุลกากรนั้นถือได้ว่าเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระไปให้กับผู้บริโภคได้
การเก็บภาษีศุลกากรหรือภาษีนำเข้านั้น นอกจากเป็นการหารายได้เพื่อนำมาพัฒนาประเทศแล้ว ก็ยังเป็นการคุ้มกันอุตสาหกรรมภายในเพื่อให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ กล่าวคือเมื่อสินค้านำเข้ามีราคาสูง ผู้บริโภคก็จะหันมาสนับสนุนสินค้าที่ผลิตจากอุตสาหกรรมภายในประเทศนั่นเอง
CIF คืออะไร ใช้ในการคำนวณภาษีนำเข้าอย่างไร
คำถามที่หลายคนสงสัยเราจะต้องเสียภาษีนำเข้าเมื่อใด การเสียภาษีอากรจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสินค้าเดินทางไปถึงปลายทาง แล้วปรากฏว่าสินค้ามีมูลค่าเกินหลักเกณฑ์ที่ประเทศปลายทางกำหนดจะต้องมีการเรียกเก็บภาษีก่อนที่จะนำเข้าสินค้ามายังประเทศนั้นๆ โดยปกติแล้วการเสียภาษีนำเข้าเป็นความรับผิดชอบของผู้รับสินค้า ถ้าอยากรู้ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ก็ต้องทำความรู้จักกับ CIF ก่อน คำนวณค่าภาษีนำเข้า
คำถามที่หลายคนสงสัยเราจะต้องเสียภาษีนำเข้าเมื่อใด การเสียภาษีอากรจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสินค้าเดินทางไปถึงปลายทาง แล้วปรากฏว่าสินค้ามีมูลค่าเกินหลักเกณฑ์ที่ประเทศปลายทางกำหนดจะต้องมีการเรียกเก็บภาษีก่อนที่จะนำเข้าสินค้ามายังประเทศนั้นๆ โดยปกติแล้วการเสียภาษีนำเข้าเป็นความรับผิดชอบของผู้รับสินค้า ถ้าอยากรู้ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ก็ต้องทำความรู้จักกับ CIF ก่อน คำนวณค่าภาษีนำเข้า
C = Cost (ต้นทุน)
I = Insurance (ประกันภัย)
F = Freight (ค่าขนส่ง)
การคำนวณอัตราภาษีขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าที่ต้องเสียภาษี สำหรับการคำนวณจะดูที่หมายเลข ซึ่งกำหนดไว้ในแต่ละประเภทสินค้าเรียกว่าพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ชื่อย่อ HS Code
I = Insurance (ประกันภัย)
F = Freight (ค่าขนส่ง)
การคำนวณอัตราภาษีขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าที่ต้องเสียภาษี สำหรับการคำนวณจะดูที่หมายเลข ซึ่งกำหนดไว้ในแต่ละประเภทสินค้าเรียกว่าพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ชื่อย่อ HS Code
การคำนวณภาษีนำเข้าสามารถใช้สูตรคำนวณได้ดังนี้
มูลค่ารวมของสินค้า CIF x อัตราอากรขาเข้า (%) = อากรขาเข้า (5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าหรือพิกัดสินค้า)
(มูลค่ารวม CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat % = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นำอากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ
หลายๆ คนอาจคิดว่าถ้าเราตั้งราคาสินค้าถูกหรือฮั้วกันกับผู้ส่งในต่างประเทศให้กำหนดราคาสินค้าต่ำ เพื่อจะได้เสียภาษีนำเข้าไม่สูง ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้เพราะทุกครั้งที่มีสินค้าหรือพัสดุเข้ามาจากต่างประเทศจะต้องผ่านการตรวจประเมินราคาโดยกรมศุลกากร ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ส่งและผู้รับจะฮั้วกันโดยการกำหนดราคาที่ไม่เป็นจริง
มูลค่ารวมของสินค้า CIF x อัตราอากรขาเข้า (%) = อากรขาเข้า (5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าหรือพิกัดสินค้า)
(มูลค่ารวม CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat % = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
นำอากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ
หลายๆ คนอาจคิดว่าถ้าเราตั้งราคาสินค้าถูกหรือฮั้วกันกับผู้ส่งในต่างประเทศให้กำหนดราคาสินค้าต่ำ เพื่อจะได้เสียภาษีนำเข้าไม่สูง ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้เพราะทุกครั้งที่มีสินค้าหรือพัสดุเข้ามาจากต่างประเทศจะต้องผ่านการตรวจประเมินราคาโดยกรมศุลกากร ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ส่งและผู้รับจะฮั้วกันโดยการกำหนดราคาที่ไม่เป็นจริง
เทคนิคเล็กน้อยในการสั่งของแบบไม่เสียภาษีแบบถูกต้อง
ถึงแม้ว่าคุณจะไม่สามารถฮั้วกันกับผู้ส่งออกได้ เพื่อให้เสียภาษีนำเข้าน้อยลง แต่เราก็มีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการสั่งของแบบไม่เสียภาษีมาฝาก ซึ่งเป็นเทคนิคที่ถูกต้องไม่ผิดกฎหมาย ส่วนจะมีเทคนิคไหนบ้างมาดูกัน
ถึงแม้ว่าคุณจะไม่สามารถฮั้วกันกับผู้ส่งออกได้ เพื่อให้เสียภาษีนำเข้าน้อยลง แต่เราก็มีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการสั่งของแบบไม่เสียภาษีมาฝาก ซึ่งเป็นเทคนิคที่ถูกต้องไม่ผิดกฎหมาย ส่วนจะมีเทคนิคไหนบ้างมาดูกัน
สั่งสินค้าไม่เกิน 1,500 บาท
เทคนิคง่ายๆ เพื่อไม่ให้เสียภาษีนำเข้าในกรณีที่คุณสั่งสินค้ามาจากต่างประเทศ ก็ต้องคำนวณให้ดีว่าสินค้ามีมูลค่าเท่าไหร่ โดยไม่ควรสั่งสินค้าที่มีมูลค่าเกิน 1,500 บาท เนื่องจากกรมศุลกากรได้กำหนดราคาสินค้าทุกชนิด ที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้น โดยไม่ต้องจ่ายภาษีอากรนำเข้า สำหรับใครที่สั่งสินค้าราคาไม่เกิน 1,500 บาท ก็วางใจไปได้เลยสามารถนำเข้าสินค้าได้โดยไม่เสียภาษีอากรขาเข้าแน่นอน
เทคนิคง่ายๆ เพื่อไม่ให้เสียภาษีนำเข้าในกรณีที่คุณสั่งสินค้ามาจากต่างประเทศ ก็ต้องคำนวณให้ดีว่าสินค้ามีมูลค่าเท่าไหร่ โดยไม่ควรสั่งสินค้าที่มีมูลค่าเกิน 1,500 บาท เนื่องจากกรมศุลกากรได้กำหนดราคาสินค้าทุกชนิด ที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้น โดยไม่ต้องจ่ายภาษีอากรนำเข้า สำหรับใครที่สั่งสินค้าราคาไม่เกิน 1,500 บาท ก็วางใจไปได้เลยสามารถนำเข้าสินค้าได้โดยไม่เสียภาษีอากรขาเข้าแน่นอน
ใช้บริการ Shipping
ถ้าไม่อยากเสียภาษีนำเข้า แนะนำให้สั่งของจากต่างประเทศแล้วใช้บริการผ่าน Shipping โดย Shipping อาจเป็นบริษัท องค์กรหรือบุคคลที่เป็นตัวแทนนำเข้าสินค้า ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานด้านเอกสาร สำหรับการนำเข้าหรือการส่งออกสินค้า โดยติดต่อกับกรมศุลกากรผ่านพิธีการศุลกากร นอกจากนั้นก็ยังมีบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและการส่งออกด้วย เช่น การประสานงานกับบริษัทขนส่ง ในภาษาทางการ Shipping จะถูกเรียกว่า ตัวแทนออกของ สำหรับคนที่สั่งของเกิน 1,500 บาท ถ้าใช้บริการ Shipping ระหว่างประเทศ คุณก็จ่ายแค่ค่าขนส่งเพียงอย่างเดียวและวางใจในเรื่องของภาษีไปได้เลยเพราะคุณไม่ต้องจ่ายแน่นอน Shipping จะมีหน้าที่เคลียร์ของหรือเคลียร์สินค้าให้คุณทั้งหมด แถมยังสะดวก ง่ายดาย และสบายกระเป๋า มีการรับประกันของหายให้อีกด้วย
ถ้าไม่อยากเสียภาษีนำเข้า แนะนำให้สั่งของจากต่างประเทศแล้วใช้บริการผ่าน Shipping โดย Shipping อาจเป็นบริษัท องค์กรหรือบุคคลที่เป็นตัวแทนนำเข้าสินค้า ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานด้านเอกสาร สำหรับการนำเข้าหรือการส่งออกสินค้า โดยติดต่อกับกรมศุลกากรผ่านพิธีการศุลกากร นอกจากนั้นก็ยังมีบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและการส่งออกด้วย เช่น การประสานงานกับบริษัทขนส่ง ในภาษาทางการ Shipping จะถูกเรียกว่า ตัวแทนออกของ สำหรับคนที่สั่งของเกิน 1,500 บาท ถ้าใช้บริการ Shipping ระหว่างประเทศ คุณก็จ่ายแค่ค่าขนส่งเพียงอย่างเดียวและวางใจในเรื่องของภาษีไปได้เลยเพราะคุณไม่ต้องจ่ายแน่นอน Shipping จะมีหน้าที่เคลียร์ของหรือเคลียร์สินค้าให้คุณทั้งหมด แถมยังสะดวก ง่ายดาย และสบายกระเป๋า มีการรับประกันของหายให้อีกด้วย
BY : Jim
ที่มา : https://packhai.com/import-tax/
บทความที่เกี่ยวข้อง
ในสนามธุรกิจที่การแข่งขันสูงขึ้นทุกวัน การรู้เฉพาะสิ่งที่ "เราทำ" อาจไม่เพียงพออีกต่อไป สิ่งที่ "คู่แข่งทำ" กลายเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้เรารอด และก้าวนำหน้า แล้วทำไมเราต้องรู้ข้อมูลการตลาดจากคู่แข่ง?
15 พ.ค. 2025
NotebookLM คือเครื่องมือจดบันทึกและวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI จาก Google
14 พ.ค. 2025
ในยุคที่ความเร็วและความแม่นยำคือหัวใจของโลจิสติกส์ ธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SME ขนาดเล็กหรือองค์กร Enterprise ระดับใหญ่ ต่างเริ่มมองหา “AI” มาเป็นตัวช่วยในคลังสินค้า แต่คำถามสำคัญคือ “จะเริ่มยังไงให้จับต้องได้ ไม่ต้องลงทุนมหาศาล?”
14 พ.ค. 2025