แชร์

กล้องถ่ายภาพความร้อน Thermal Imager คือ?

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 21 ธ.ค. 2024
320 ผู้เข้าชม

เครื่อง Thermal Imager คืออะไร

  เครื่อง Thermal Imager หรือ Thermal Imaging Camera (กล้องถ่ายภาพความร้อน) เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของวัตถุหรือชิ้นงาน โดย Thermal Imager จะอาศัยหลักการแผ่รังสีอินฟราเรดที่ออกจากวัตถุ ซึ่งเป็นการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ และเป็นการวัดอุณหภูมิแบบพื้นที่ เพื่อความแม่นยำของเครื่องมือวัดจึงจำเป็นต้องส่ง สอบเทียบเครื่องมือวัด อยู่เสมอ

 

เครื่อง Thermal Imager ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
-เลนส์ (Lens)
-ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรด (Infrared Detector) หรือเซนเซอร์ชนิดอินฟราเรด (Infrared Sensor )
-วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Circuit)
-ส่วนแสดงผล (Display)

 

หลักการทำงานของเครื่อง Thermal Imager  เป็นอย่างไร
   หลักการทำงานของเครื่อง Thermal Imager  หรือ กล้องถ่ายความร้อน เริ่มต้นจาก เมื่อตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรดรับรังสีอินฟราเรด ที่แผ่ออกจากวัตถุหรือชิ้นงานเป้าหมาย ผ่านเลนส์ของเครื่อง Thermal Imager แล้วแปลงรังสีอินฟราเรดเหล่านี้ที่รับได้ให้อยู่ในรูปของสัญญานทางไฟฟ้า โดยรังสีอินฟาเรดที่ตัวตรวจรับไปนั้นประกอบด้วยรังสีที่วัตถุเป้าหมายแผ่ออกมารวมกับรังสีที่แผ่จากวัตถุอื่นหรือสิ่งแวดล้อมสะท้อนออกจากผิวของวัตถุเป้าหมาย จากนั้นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับและนำไปแสดงที่ตัวแสดงผล ซึงอาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของตัวเลข สี หรือกราฟ หรือสามารถแสดงผลออกมาได้ทั้ง 3 รูปแบบ

 

 กล้องถ่ายภาพความร้อนประกอบด้วยเซนเซอร์ชนิดอินฟราเรดหลายตัว แต่ละตัวแสดงผลออกมาในรูปแบบของสีที่แตกต่างกันตามอุณหภูมิของจุดนั้นๆ โดยทั่วไป สีแดงแสดงผลของบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงและสีน้ำเงินแสดงผลของบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ หรือโทนสีสว่างแสดงผลของบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง และโทนสีมืดแสดงผลของบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ผลของแต่ละจุดที่ได้จากเซนเซอร์แต่ละตัว เมื่อนำมารวมกันจะประกอบขึ้นเป็นภาพ เรียกว่า ภาพถ่ายความร้อน (Thermal Image) ซึ่งการแปลงรังสีอินฟราเรดที่เซนเซอร์ตรวจจับได้ให้อยู่ในหน่วยของอุณหภูมิอาศัยกฏของ Planck (Plancks law) และ กฎของ Stefan-Boltzmann (Stefan-Boltzmans law)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

BY : Jim

ที่มา : https://shorturl.asia/Pg8yD


บทความที่เกี่ยวข้อง
การขนส่งแบบ Less Than Truckload (LTL)
การขนส่งแบบ Less Than Truckload (LTL): ทางเลือกที่ยืดหยุ่นสำหรับธุรกิจยุคใหม่
Notify.png พี่ปี
5 พ.ค. 2025
Cross Docking: แนวทางลดต้นทุนและเพิ่มความเร็วการส่งสินค้า
ในยุคที่การแข่งขันด้านความเร็วและต้นทุนในการขนส่งสินค้าเข้มข้นมากขึ้น "Cross Docking" กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญในระบบโลจิสติกส์สมัยใหม่ ด้วยแนวคิดที่เน้นการลดเวลาการจัดเก็บสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า Cross Docking จึงช่วยให้ธุรกิจสามารถส่งมอบสินค้าได้รวดเร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
5 พ.ค. 2025
เทคนิคการออกแบบเลย์เอาท์คลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
การออกแบบเลย์เอาท์คลังสินค้า (Warehouse Layout) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บสินค้า การหยิบสินค้า การขนส่งภายใน หรือการบริหารพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
5 พ.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ