ตู้คอนเทนเนอร์ คืออะไร
ตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box)
คือ ตู้ภาชนะที่ผลิตมาเพื่อใช้สำหรับบรรจุสินค้าเพื่อใช้ในการขนส่งทางเรือ ทางบก และทางราง มีหลายสีสัน หลายขนาด และหลายประเภท เพื่อให้เกิดการขนส่งที่สะดวก ปลอดภัย และเหมาะสมกับสินค้าประเภทนั้นๆ
เนื่องจากการขนส่งทางเรืออาจกินระยะเวลาที่ยาวนาน โดยทั่วไปมักใช้การขนส่งอย่างน้อย 15 วันขึ้นไป จึงต้องมีคอนเทนเนอร์ ที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าแต่ละประเภท ทั้งขนาดและคุณสมบัติของตู้ด้วย ซึ่งการเลือกใช้อย่างคุ้มค่าในการขนส่งจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของสินค้า และปริมาณสินค้าที่จัดส่ง
การขนส่งผ่านทางตู้คอนเทนเนอร์ จะมีการนำสินค้ามาบรรจุตู้ (Stuffing) และมีการขนย้ายตู้ขึ้นไว้บนเรือ Container Ship ซึ่งเรือนี้ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ เพื่อรับส่งสินค้ากับท่าเรือที่ออกแบบมาแบบ Terminal Design ที่เหมาะสมทั้งในเชิงวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม
การขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ สามารถใช้บริการได้หลากหลายแบบ เช่น
หากผู้ขายเป็นผู้บรรจุ จะเรียกว่า Term CY คือ Consignee Load and Count จะเป็นสินค้าประเภทเต็มตู้ที่เรียกว่า FCL (Full Container Load)
หากบริษัทเรือเป็นผู้บรรจุตู้สินค้าในท่าเรือหรือใน ICD (Inland Container Depot) ซึ่งตัวแทนบริษัทเรือเป็นเจ้าของสถานที่ ก็จะเรียกลักษณะการขนส่งแบบนี้ว่า CFS (Container Freight Station) จะเป็นสินค้าแบบ FCL หรือแบบการบรรจุแบบรวมตู้ / น้อยกว่า 1 ตู้ ซึ่งเรียกว่า LCL (Less Container Load) ก็ได้
ท่านคงเคยเห็นตู้คอนเทนเนอร์มาพอสมควรแล้ว ว่าเป็นลักษณะเหมือนตู้เหล็กขนาดใหญ่ มีหลายสีสัน และมีประตูที่กว้างสำหรับบรรจุสินค้าได้อย่างสะดวก
ส่วนประกอบของตู้คอนเทนเนอร์ มีอะไรบ้าง
หากรื้อตู้คอนเทนเนอร์ 1 ตู้ จะเห็นว่ามีส่วนประกอบหลายชิ้นมากๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบที่คล้ายกัน ดังนี้
Corner Post : เป็นโครงสร้าง แนวตั้งของตู้คอนเทนเนอร์ มีทั้งหมด 4 ด้าน
Door Header : เป็นโครงสร้าง แนวนอน แถบด้านบนของประตู
Door Sill : เป็นโครงสร้าง แนวนอน แถบด้านล่างของประตู
Rear End Frame : เป็นโครงสร้างด้านหลัง ประกอบไปด้วย Door Header และ Door Sill ต่อเข้ากับ
Corner Post Top End Rail : เป็นโครงสร้างแนวนอนที่อยู่ทางด้านบน ฝั่งตรงข้ามประตู
Bottom End Rail : เป็นโครงสร้างแนวนอนที่อยู่ทางด้านล่าง ฝั่งตรงข้ามประตู
Front End Frame : เป็นโครงสร้างทางด้านหน้า ตรงข้ามประตูทางเข้า ประกอบไปด้วย Top End Rail และ Bottom End Rail ต่อเข้ากับ Corner Post
Top Side Rail : เป็นโครงสร้างแนวนอน ด้านบนตามแนวยาวของตู้ ต่ออยู่กับ End Frame
Bottom Side Rail : เป็นโครงสร้างแนวนอน ด้านล่างตามแนวยาว ต่ออยู่กับ End Frame เพื่อเป็นโครงสร้างด้านล่าง
Cross Member : เป็นโครงสร้างตามแนวขวางบริเวณพื้นตู้ ติดอยู่กับ Bottom Side Rail เพื่อรองรับน้ำหนักส่วนของพื้น
Understructure : เป็นโครงสร้างด้านล่างทั้งหมดของตู้คอนเทนเนอร์ ประกอบด้วย Bottom Side Rails, Bottom End Rail, Door Sill, Cross Members และ Forklift Pocket
Corner Fitting : เป็นข้อต่อของโครงสร้างทั้ง 8 มุมของตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่ช่วยในการยึดตู้ การยกตู้ และการซ้อนตู้ ทุกส่วนที่ต้องยึดต่อกันจะใช้ Corner Fitting เป็นตัวยึด
Forklift Pocket : เป็นช่องว่างที่ทำไว้เพื่อเสียบงาของรถโฟล์คลิฟท์ ทำให้เคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ได้ง่าย ช่องว่างจะอยู่ตรงบริเวณ Bottom Side Rails ของ Understructure ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยมาตรฐาน ISO ทุกตู้จะเหมือนกัน
Flooring : เป็นส่วนพื้นของตู้คอนเทนเนอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้ลามิเนตหรือไม้อัด โดยมี Cross Member เป็นโครงสร้างส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนัก
Wall Panel : เป็นส่วนงานพับเหล็กลอนตู้คอนเทนเนอร์ ที่ทำจากแผ่นเหล็กหรืออลูมิเนียม ที่ต้องใช้งานพับเหล็กลอนตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเสริมความแข็งแรง
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
ตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐานมีทั้งหมด 3 ขนาด ได้แก่
1. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต
20 : กว้าง 2.3 x ยาว 5.90 x สูง 2.3 เมตร
ปริมาตร 33 คิวบิกเมตร น้ำหนัก 2.2 ตัน
รับน้ำหนักได้สูงสุด 21-28 ตัน
เหมาะสำหรับสินค้าหนัก เช่น เครื่องจักร
2. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต
40 : กว้าง 2.3 x ยาว 12 x สูง 2.3 เมตร
ปริมาตร 67 77 คิวบิกเมตร น้ำหนัก 3.8 ตัน
รับน้ำหนักได้สูงสุด 26 ตัน
เหมาะสำหรับสินค้าน้ำหนักเบาที่มีจำนวนมาก
3. ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตไฮคิวบ์
40 HC : กว้าง 2.3 x ยาว 12 x สูง 2.6 เมตร
ปริมาตร 75 คิวบิกเมตร น้ำหนัก 3.9 ตัน
รับน้ำหนักได้สูงสุด 26 ตัน
เหมาะสำหรับสินค้าน้ำหนักเบา จำนวนมาก และขนาดใหญ่
งานพับเหล็กลอนตู้คอนเทนเนอร์มีกี่แบบ?
ปัจจุบันงานพับเหล็กลอนมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. งานพับเหล็กลอนแบบลอนสโลป (ผนังด้านข้าง) ลอนจะมีลักษณะที่มีความลาดชันเป็นพิเศษ ตัวลอนมีความสูงประมาณ 36 mm.
2. งานพับเหล็กลอนแบบลอนตั้ง (ผนังด้านหน้า) ลอนจะมีลักษณะตั้งชันเกือบตั้งฉาก ตัวลอนมีความสูงประมาณ 45 mm.
ความหมายของรหัสและข้อมูลต่างๆ บนตู้คอนเทรนเนอร์
รหัสและข้อมูลต่างๆ บนตู้คอนเทรนเนอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญการขนส่งสินค้าทางบกและ ทางทะเล ถูกนำมาใช้เพื่อการแยกขนาดและชนิดของตู้คอนเทรนเนอร์ รวมถึงบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของ ฯลฯ
1. รหัสเจ้าของตู้ เป็นอักษรแทนชื่อบริษัทเจ้าของตู้ เช่น CLQ, TNY, CMA, EGS, TCL เป็นต้น
2. รหัสระบุประเภท จะมีเพียง 1 ตัวที่อยู่ท้าย รหัสเจ้าของตู้ จากรูปภาพตัวอย่างคือตัวอักษร U มีความหมายคือ ตู้คอนเทนเนอร์ มีรายละเอียดประเภทดังนี้
U สำหรับตู้คอนเทนเนอร์สินค้าทั้งหมด
J สำหรับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าแบบถอดได้
Z สำหรับรถพ่วงและแชสซี
3. รหัสการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์ มีขนาด 6 หลัก จากตัวอย่างคือ 102016
4. รหัสตรวจสอบความถูกต้อง รหัสที่ตรวจสอบว่าเจ้าของตู้ ประเภทตู้และการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์ ถูกต้องหรือไม่ จากตัวอย่างคือเลข 5
5. ขนาดและชนิดของตู้ ขนาดและชนิดของตู้คอนเทนเนอร์จะมีอยู่ 4 ตัว จากตัวอย่างคือ 25G1
จากตัวอย่างรูปภาพคือ 25G1 สามารถอธิบายได้ดังนี้
เลข 2 ซึ่งเป็นเลขตัวแรก คือ ความยาวเท่ากับ 20 ฟุต
เลข 5 เป็นตัวเลขถัดมา คือ มีความสูงเท่ากับ 9 ฟุต 6 นิ้ว
ส่วนตัวอักษรต่อจากเลขสองตัวแรกคือ G1 ระบุประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ หมายถึง ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุสินค้าทั่วไป
6. MAX. WT. น้ำหนักสูงสุดที่สามารถรับได้ คือ น้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่รวมกับน้ำหนักของสินค้า (TARE WT. + PAYLOAD) ที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถรับได้สูงสุด อาจจะแสดงข้อความ MAX. GROSS WGT., MX GR, MAX. GR และ MAX.WT
MAX GROSS = TARE + NET
7. TARE WT. น้ำหนักของตู้เปล่า ที่ยังไม่ได้บรรจุสินค้าลงไป
TARE = MAX GROSS NET
8. PAYLOAD น้ำหนักสินค้าสูงสุดที่สามารถบรรจุได้ โดยอาจเขียนว่า N.W., NET WEIGHT, MAX CARGO WGT และ PAYLOAD หมายถึงน้ำหนักของสินค้าสูงสุดที่สามารถบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์นั้นได้
NET = MAX GROSS TARE
ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ มีดังนี้
Dry Container
Reefer Container
Open Top Container
Flat Rack Container
ISO Tank Container
Ventilated Container
โดย : พี่ปี (ทีม5)
ที่มา : FB ลากตู้และการบริการ