เป็นรูปแบบการจัดการงานขนส่งรูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งให้เกิดการขนส่งสินค้าอย่างคุ้มค่า แนวคิดดังกล่าวเกิดจากระบบส่งนมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งไปจอดตามบ้านลูกค้าแต่ละหลัง โดยลูกค้าจะนำขวดนมเปล่ามาวางไว้หน้าบ้านตามจำนวนที่ต้องการ จากนั้นรถรับส่งจะทำการเก็บขวดนมเปล่ากลับไปและส่งขวดนมใหม่ให้กับลูกค้าซึ่งจะเป็นเช่นนี้ในทุก ๆ เช้า
การขนส่งแบบนี้จะช่วยลดต้นทุนและลดปริมาณสินค้าคงคลัง โดยเมื่อโรงงานผลิตสินค้าเสร็จและจัดรถขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าและในระหว่างขากลับก็รับวัตถุดิบจาก Supplier กลับมาด้วยเพื่อนำไปผลิตสินค้าต่อไป ที่เห็นได้ในประเทศไทยเช่น การขนส่งน้ำดื่ม โดยบริษัทจะส่งน้ำขวดใหม่ไปยังลูกค้าแล้วรับขวดเปล่ากลับมา เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับจาก Milk run
ข้อจำกัดของ Milk Run
ไม่สามารถใช้กับการขนส่งสินค้าที่ต้องใช้รถแบบพิเศษในการขนส่งหาก Supplier แต่ละรายอยู่ห่างกันมากจนเกินไปหรือไม่เรียงอยู่ในระดับที่เหมาะสมจะทำให้ใช้เวลาและต้นทุนมากขึ้น
การนำแนวความคิด Milk Run ไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จนั้น มีองค์ประกอบหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ คือ
1. การจัดเตรียมบุคลากร บุคลากรที่ใช้เพื่อการจัดส่งแบบ Milk Run สามารถแบ่งได้สองส่วน คือ ส่วนวางแผนและส่วนปฏิบัติการ โดยทั้งสองกลุ่มจะมีรูปแบบของงานที่ต่างกัน แต่ต้องมีการติดต่อสื่อสารถึงกันอยู่เสมอ
2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ก่อนที่จะมีการนำแนวความคิดนี้มาใช้ ผู้จัดส่งแต่ละรายใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะและขนาดต่าง ๆ กันออกไป ความแตกต่างของบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อระบบการขนส่งแบบ Milk Run ซึ่งถ้าไม่มีระเบียบปฏิบัติในการดำเนินงานมาตรฐานของการบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผู้จัดส่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการขนส่งไม่เป็นไปตามที่กำหนด
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ ในการขนส่งแบบ Milk Run ได้มีการนำเทคโนโลยีและระบบต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการสั่งซื้อสินค้าไปยังผู้จัดส่งทำให้ข้อมูลมีความแม่นยำและรวดเร็วขึ้น ระบบต่าง ๆ เหล่านี้มีการเชื่อมต่อและเกี่ยวข้องกัน เช่น ระบบ EDI (Electronic Data Interchange) เพื่อเป็นการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างบริษัทผู้ผลิต และ Supplier ในแต่ละราย
BY: ICE
ที่มา: www.lissom-logistics.com