แชร์

ธุรกิจบริการโลจิสติกส์ของไทยในปัจจุบัน

อัพเดทล่าสุด: 25 ก.ค. 2024
617 ผู้เข้าชม

ธุรกิจบริการโลจิสติกส์ของไทยในปัจจุบันออกเป็นทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่

     1.การขนส่งสินค้า ทั้งภายใน และ ส่งออกนอกประเทศ
การขนส่งสินค้า (Freight Transportation and Forwarding) ปัจจุบันธุรกิจแบบ Freight Forwarding ได้รับความนิยม สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่นำเข้า-ส่งออก ซึ่งเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวก

     2.การจัดเก็บ/บริหารคลังสินค้า(Fulfillment / Warehousing and Packing)
Fulfillment คือบริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ขายสินค้าออนไลน์หรือธุรกิจ E-commerce บริการ Fulfillment เป็นผู้ช่วยคุณตั้งแต่ตั้งแต่การเป็นคลังเก็บสินค้า (Warehousing), การแพ็คสินค้า (Packing) จนไปถึงการจัดส่งสินค้า (Shipment)

     3.การให้บริการด้านพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานโลจิสติกส์
การให้บริการด้านพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานโลจิสติกส์ (Non-Asset Based Logistics Services) ครอบคลุมงานพิธีการศุลกากรหรือสรรพากร งานเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า เพื่อดำเนินการส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างถูกต้อง


     4.ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์
การให้บริการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและงานที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ เสริม (Information and Communication Technology/ Consulting)  เริ่มจากคำว่า ICT กันก่อน ซึ่งคำนี้ย่อมาจาก Information and Communication Technology ที่แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสารเริ่มตั้งแต่การสร้าง วิเคราะห์ รับและส่งข้อมูล จัดเก็บและการนำไปใช้ใหม่ กระบวนการทั้งหมดนี้อยู่ในรูปแบบของ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้นเอง

     5.การให้บริการพัสดุ ไปรษณียภัณฑ์ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
การให้บริการพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ เป็นการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการจัดส่ง จดหมาย พัสดุ หีบห่อ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้ง กิจกรรมด้าน counter services การให้บริการจะจำแนกตามแต่ละกิจกรรม โดยแบ่งตามลักษณะของผู้ใช้บริการ

 

BY : Patch

ที่มา : meowlogis


บทความที่เกี่ยวข้อง
งานเยอะไม่ต้องเพิ่มคน! ระบบ Booking ช่วยจัดคิวขนส่งแบบอัตโนมัติ
ในยุคที่ธุรกิจโลจิสติกส์และขนส่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการเติบโตของ e-Commerce และ ธุรกิจ B2B/B2C สิ่งที่หลายบริษัทต้องเผชิญ
ร่วมมือ.jpg Contact Center
20 พ.ค. 2025
สองยักษ์อีคอมเมิร์ซ “ช้อปปี้-ลาซาด้า” โกยรายได้ฉ่ำรวมกัน 7.8 หมื่นล้านบาท
ในปี 2567 ที่ผ่านมา ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยยังคงคึกคักไม่หยุด โดยสองยักษ์ใหญ่แห่งวงการอย่าง Shopee และ Lazada ได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ ความสำเร็จนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นผลจากการวาง กลยุทธ์ทางธุรกิจ อย่างแยบยลและชาญฉลาด โดยเฉพาะ Shopee ที่มีระบบโลจิสติกส์ของตัวเองภายใต้ชื่อ SPX Express ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ร่วมมือ.jpg Contact Center
20 พ.ค. 2025
Fulfillment Center คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับธุรกิจส่งออก
ในโลกของการค้าออนไลน์และธุรกิจส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว Fulfillment Center กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การจัดการคำสั่งซื้อมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่ต้องส่งสินค้าไปยังลูกค้าต่างประเทศ
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
19 พ.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ