แชร์

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการบริการ

อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
492 ผู้เข้าชม

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการบริการมีอยู่ 6 ข้อ ดังนี้

ดัชนีชี้วัดข้อที่ 1 ทัศนคติของลูกค้า

เราต้องดูทัศนคติของลูกค้าก่อนว่าลูกค้ามีทัศนคติอย่างไรบ้าง ในทุกครั้งที่ลูกค้าพูดกับเราลูกค้าพูดไปในทางเชิงลบหรือไม่หรือพูดไปในเชิงทางบวก ไม่ว่าลูกค้าจะพูดอย่างไรก็แล้วแต่เราต้องจับความคิดทัศนคติของลูกค้าให้ได้ เพราะฉะนั้นเองถ้าลูกค้าพูดแต่สิ่งที่เป็นไปในทางเชิงลบแสดงว่าทัศนคติของลูกค้าเป็นไปในทางเชิงลบแต่ถ้าลูกค้าพูดไปในทางเชิงบวกแสดงว่าทัศนคติของลูกค้าอาจจะเป็นไปในทางเชิงบวกหรือลบก็ได้แต่ก็ดูมีแนวโน้มที่จะเป็นบวกมากขึ้น ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องสังเกตทัศนคติความคิดของลูกค้า ตรงจุดนี้เป็น Indicator หลักที่สำคัญ

ดัชนีชี้วัดข้อที่ 2 พฤติกรรมการแสดงออกของลูกค้า

เราต้องสังเกตดูพฤติกรรมของลูกค้าว่าลูกค้ามีการแสดงออกทางภาษากายอย่างไรบ้าง มี สีหน้า แววตา ที่เป็นมิตรหรือไม่ สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นสิ่งหนึ่งที่วัดดัชนีชี้วัดได้ ถ้าลูกค้าไม่พอใจลูกค้าจะแสดงปฏิกิริยาที่บ่งชี้ว่าไม่พอใจที่เห็นได้อย่างชัดเจน

ดัชนีชี้วัดข้อที่ 3 สังเกต การโต้แย้ง การต่อรอง

เราควรจะสังเกตว่าลูกค้าจะมีการโต้แย้งหรือมีการต่อรองกับเราหรือไม่ หรือมีการต่อว่าสิ่งใดรึป่าว ในขณะที่เราพูดอะไรก็ตามลูกค้าจะขัดจังหวะเราอยู่ตลอดเวลาหรือป่าว ถ้าเป็นอย่างนั้นแสดงว่าลูกค้าอาจจะรู้สึกไม่พอใจ

ดัชนีชี้วัดข้อที่ 4 สังเกต การสั่งซื้อ การบอกต่อ

ลูกค้าบางคนอาจแสดงพฤติกรรมเชิงลบมีการต่อว่าแต่ก็ยังมีการสั่งซื้อสินค้าของเราก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าลูกค้ายังคงโอเคอยู่ ในทางกลับกันถ้าลูกค้ายิ้มแย้มแจ่มใสแต่ลูกค้าตัด Order ไม่สั่งซื้อสินค้าของเรา แสดงว่าลูกค้าอาจจะมีความไม่พึงพอใจ อาจจะไม่ประทับใจการบริการของเรา

ดัชนีชี้วัดข้อที่ 5 สังเกต การสั่งซื้อซ้ำ

ถ้าลูกค้ามีการสั่งซื้อซ้ำ แม้จะมีการต่อว่าบ้าง แต่ยังกลับมาซื้อซ้ำแสดงว่าลูกค้ายังรู้สึกโอเคกับเราอยู่ เพราะฉะนั้น การที่ลูกค้ามีปฏิกิริยาแบบนี้ควรมีการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าอยู่เสมอๆ

ดัชนีชี้วัดข้อที่ 6 ช่วยประชาสัมพันธ์

การที่ลูกค้ายังช่วยประชาสัมพันธ์ช่วยบอกต่อแสดงว่าลูกค้ายังมีความพอใจกับเราอยู่ พยายามทำให้ลูกค้ารู้สึกพอใจอยู่เสมอ เดี๋ยวลูกค้าจะบอกต่อเอง



ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=HW_D2cySz1M&list=PLAN3x7UIgeB2S-YrL7wB7Tg6k7GtyCGRt&index=8&pp=iAQB


บทความที่เกี่ยวข้อง
ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ในธุรกิจขนส่ง ด้วยผู้ช่วย AI
ในยุคที่ธุรกิจขนส่งเติบโตอย่างก้าวกระโดด ความแม่นยำและความรวดเร็วกลายเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขัน แต่เบื้องหลังระบบโลจิสติกส์ที่ดูราบรื่น มักแฝงไปด้วยภาระงานซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดเล็กๆ จากมนุษย์ที่อาจส่งผลใหญ่ในภาพรวม เช่น การพิมพ์ใบวางบิลผิด, จัดรอบรถล่าช้า, หรือสื่อสารข้อมูลผิดพลาดระหว่างทีม
ร่วมมือ.jpg Contact Center
26 เม.ย. 2025
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
สินค้าหมดอายุแล้วแต่อยู่ในคลัง ไม่มีระบบแจ้งเตือนควรทำอย่างไร?
สินค้าหมดอายุแล้วแต่อยู่ในคลัง ไม่มีระบบแจ้งเตือนควรทำอย่างไร?
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ