แชร์

กระแสเงินสด (Cash flow) หัวใจสำคัญของการบริหารธุรกิจให้คล่องตัว

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 12 ธ.ค. 2024
341 ผู้เข้าชม

ทำไมกระแสเงินสด (Cash flow) ถึงเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจ
กระแสเงินสด (Cash flow) คือ เงินเข้าออกทั้งหมดของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น รายได้ หรือรายจ่าย จัดเป็นงบการเงินที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ ถ้าเราลองเอารายได้ลบรายจ่ายแล้วเหลือเงิน ก็แปลว่า บริษัทมีสภาพคล่อง มีเงินเหลือพอในการดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น

แล้วทำไมกระแสเงินสดถึงเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจ นั่นก็เพราะว่า ผู้ประกอบการสามารถนำรายงานกระแสเงินสดมาใช้วิเคราะห์ ประเมินผล และวางกลยุทธ์ต่าง ๆ ของบริษัทได้ และที่สำคัญเลยก็คือ กระแสเงินสดยังส่งผลต่อการพิจารณาในการลงทุนจากเหล่านักลงทุนด้วย เพราะกระแสเงินสดสามารถบ่งบอกได้เลยว่า ธุรกิจนั้น ๆ มีสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่ มีโอกาสในการเติบโต หรือได้กำไรเท่าไหร่ เป็นต้น


กระแสเงินสดในงบกระแสเงินสดมีกี่ประเภท
เราสามารถแบ่งประเภทของกระแสเงินสดได้ตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้มีเงินสดเข้าและออก ซึ่งจะมีอยู่ 3 กิจกรรมหลัก ๆ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash flow from operation) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า CFO เป็นกิจกรรมหลักที่ทำให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ โดยเครื่องหมายบวก (+) จะหมายถึงรายรับ และเครื่องหมายลบ (-) จะหมายถึงรายจ่าย ยกตัวอย่างเช่น

+ เงินสดรับจากการขายสินค้า หรือการให้บริการ
+ เงินสดรับชำระหนี้จากลูกหนี้
เงินสดจ่ายค่าพนักงาน ค่าบริการ ค่าเช่า
เงินสดจ่ายค่าซื้อวัตถุดิบ
โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ดีจะต้องมีค่าเป็นบวกเสมอ ถ้าหากมีค่าเป็นลบก็แสดงว่าธุรกิจมีค่าใช้จ่ายมากกว่าเงินเข้า อาจเกิดการขาดสภาพคล่องได้

 

กิจกรรมที่ 2 กระแสเงินสดจากการลงทุน
กระแสเงินสดจากการลงทุน (Cash flow from investment) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า CFI เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ หรือการใช้เงินลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ โดยเงินสดรับจะใช้เครื่องหมายบวก ส่วนเงินสดจ่ายจะเป็นเครื่องหมายลบ เช่น

เงินสดจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน โรงงาน อาคาร หรือสำนักงาน
เงินสดจ่ายเพื่อลงทุนในบริษัทย่อย
+ เงินสดรับจากการขายที่ดิน โรงงาน หรือสำนักงาน
+ เงินสดรับจากการขายบริษัทย่อย
กระแสเงินสดจากการลงทุนนั้นจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และส่วนใหญ่จะเป็นเงินสดจ่ายก้อนโต และมักจะติดลบเสมอ ซึ่งไม่จำเป็นต้องกังวลไป เพราะถ้าหากเราได้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานมากกว่าที่ลงทุนไป ก็แสดงว่าธุรกิจเติบโตได้ดี

 

กิจกรรมที่ 3 กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน
กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน (Cash flow from financing) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า CFF จะมาจาก 2 ทางหลัก ๆ ได้แก่ การกู้ยืมเงิน หรือขอสินเชื่อ และการหาผู้ถือหุ้นลงทุนเพิ่มเติม เช่น

+ เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน
+ เงินสดรับจากการจำหน่ายหุ้นกู้
เงินสดจ่ายคืนเงินกู้
เงินสดจ่ายปันผล
เงินสดจ่ายเพื่อซื้อหรือไถ่ถอนหุ้นทุนของกิจการ
สำหรับกระแสเงินสดประเภทนี้ ถ้าหากคำนวณแล้วออกมาเป็นผลลบ ก็แสดงว่าเป็นเรื่องดี เพราะแสดงว่าธุรกิจของคุณมีการจ่ายเงินปันผล หรือว่าชำระหนี้ได้นั่นเอง

แนะนำวิธีการคำนวณงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดสามารถคำนวณได้ทั้งจากทางตรง และทางอ้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
การคำนวณงบกระแสเงินสดโดยวิธีทางตรง : เป็นวิธีที่แสดงเงินสดรับและเงินสดจ่ายตามลักษณะของรายการหลักที่สำคัญในการคำนวณกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เช่น เงินสดรับจากลูกค้า เงินสดจ่ายให้แก่เจ้าหนี้การค้า เป็นต้น
การคำนวณงบกระแสเงินสดโดยวิธีทางอ้อม : เป็นการนำกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง +/- ด้วยผลกระทบของรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินสด เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย หนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น รวมทั้งผลกำไรหรือขาดทุนจากกระแสเงินสดจากการลงทุนหรือการจัดหาเงิน เช่น กำไรจากการขายที่ดิน เป็นต้น +/- ด้วยรายการค้างรับ ค้างจ่าย รับล่วงหน้า และจ่ายล่วงหน้าของเงินสดรับและเงินสดจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในอดีตหรือในอนาคต เช่น การเปลี่ยนแปลงในลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และเจ้าหนี้การค้าในระหว่างรอบบัญชี เป็นต้น
ทั้งนี้ การนำเสนองบกระแสเงินสดด้วยวิธีทางอ้อมจะแตกต่างจากวิธีทางตรงเฉพาะกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติ กิจการมักจัดทำงบกระแสเงินสดโดยวิธีทางอ้อมมากกว่า เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่า นอกจากนี้ งบกระแสเงินสดด้วยวิธีทางอ้อมยังช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถทราบถึงสาเหตุของความแตกต่างระหว่างกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้างกับกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานอีกด้วย

ลักษณะของงบกระแสเงินสดที่ดี
งบกระแสเงินสดที่ดีนั้น เงินสดปลายงวดจะต้องเพิ่มขึ้น และเงินสดจากการดำเนินงานต้องเป็นบวกเสมอ เพราะแสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่อง มีกำไรที่เป็นตัวเงิน และสามารถเติบโตได้ดี

สรุปบทความ
เป็นอย่างไรกันบ้างเกี่ยวกับความรู้ดี ๆ ของกระแสเงินสด ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่า Cash flow คือหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจจริง ๆ ถ้าผู้ประกอบการคนไหนจัดการกระแสเงินสดได้ดีล่ะก็ รับรองว่าจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมีสิทธิภาพแน่นอน แต่ถ้าใครที่กำลังทำธุรกิจอยู่ แล้วประสบปัญหาเงินสดไม่พอ หรือธุรกิจขาดสภาพคล่องบ่อย ๆ การหันมาทำความเข้าใจและวิเคราะห์กระแสเงินสดของบริษัทอย่างละเอียด ก็อาจช่วยให้พบต้นตอของปัญหา และหาทางแก้ไขได้ หรือถ้าไม่สามารถแก้ไขได้จริง ๆ ก็จะช่วยให้รู้ถึงขีดจำกัดในการดำเนินธุรกิจ และวางแผนปิดตัวในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ขาดทุนไปมากกว่านี้ได้นั่นเอง

BY : Tonkla

ที่มา : www.ifscapthai.com 


บทความที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน : โอกาสและความท้าทาย
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน : โอกาสและความท้าทาย
Notify.png พี่ปี
7 พ.ค. 2025
ธุรกิจขนส่งจะเพิ่มประสิทธิภาพยังไง...โดยไม่เพิ่มคน ไม่เพิ่มงบ?
ในยุคที่ต้นทุนสูงขึ้นทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมัน ค่าแรง หรือค่าบำรุงรักษา ธุรกิจขนส่งหลายรายจึงเผชิญความท้าทายอย่างหนัก การจะขยายงานหรือเพิ่มรายได้โดยไม่เพิ่มต้นทุน กลายเป็นโจทย์ที่ทุกคนต้องหาคำตอบ แล้วคำถามคือ...จะ “เพิ่มประสิทธิภาพ” ได้ยังไง โดย ไม่ต้องเพิ่มคน และ ไม่ต้องเพิ่มงบประมาณ?
ร่วมมือ.jpg Contact Center
6 พ.ค. 2025
อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ไม่มีประสบการณ์? แฟรนไชส์ขนส่งช่วยได้!
ในยุคที่ใคร ๆ ก็อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ความฝันในการเป็นเจ้าของกิจการดูเหมือนจะใกล้มือกว่าเดิม แต่สำหรับหลายคน ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ "ไม่มีประสบการณ์" จะเริ่มต้นยังไงดี? จะบริหารยังไงให้ไม่เจ๊งตั้งแต่ปีแรก? คำตอบที่น่าสนใจสำหรับมือใหม่ก็คือ — "แฟรนไชส์ขนส่ง"
ร่วมมือ.jpg Contact Center
29 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ