Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
อัพเดทล่าสุด: 4 ธ.ค. 2024
356 ผู้เข้าชม
Circular Economy คือ

แนวคิด Circular Economy คือการมุ่งเน้นให้ภาคเศรษฐกิจใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมถึงมีเป้าหมายที่จะลดจำนวนขยะทั่วโลก โดยสนับสนุนให้คิดค้นวัสดุ ผลิตภัณฑ์ และระบบที่เหนือขั้นกว่าแบบเดิมเพื่อเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการผลิตและบริโภคทางเดียวให้เป็น Circular Economy ที่ลดการใช้วัสดุและทรัพยากรให้น้อยลง ตลอดจนนำ ของเสีย กลับมาเป็นทรัพยากรในการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่
หนทางการสร้าง Circular Economy คือแนวทางที่ยั่งยืนและจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ ตั้งแต่ภาคส่วนธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจขนาดใหญ่ องค์กร บุคคล องค์กรท้องถิ่นไปจนถึงระดับสากลโลก โดยใจความสำคัญของ Circular Economy ตั้งอยู่บนพื้นฐานสามประการ ดังนี้
การกำจัดของเสียและมลพิษ ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกทำงานเป็นระบบแบบ Take Make Waste หรือ ถลุง ผลิต และจบด้วยการทิ้งกลายเป็นขยะ ซึ่งการทำงานของระบบลักษณะนี้จะไม่สามารถอยู่ได้ในระยะยาวเนื่องจากทรัพยากรบนโลกเรามีจำกัด ดังนั้น Circular Economy คือการเน้นให้มีการออกแบบวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการใช้งานเพื่อไม่ให้หลงเหลือขยะในธรรมชาติ
การหมุนเวียนผลิตภัณฑ์และวัสดุ เป็นการรักษาให้มีการใช้งานวัสดุและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความคุ้มค่าสูงสุด แบ่งออกเป็นการหมุนเวียนเชิงเทคนิค ได้แก่ การใช้ซ้ำ ซ่อมแซม รีไซเคิล และการหมุนเวียนทางชีวภาพ อาทิ การทำปุ๋ยหมัก สามารถนำมาใช้ในการเกษตร ปลูกพืชและนำผลผลิตมาผลิตเป็นอาหารต่อไป
การฟื้นฟูธรรมชาติ สนับสนุนให้พึ่งพาพลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ปฏิรูปการทำการเกษตรที่ช่วยฟื้นฟูดินขึ้นมาใหม่และเพิ่มความหลากลายทางชีวภาพ
การหมุนเวียนผลิตภัณฑ์และวัสดุ เป็นการรักษาให้มีการใช้งานวัสดุและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความคุ้มค่าสูงสุด แบ่งออกเป็นการหมุนเวียนเชิงเทคนิค ได้แก่ การใช้ซ้ำ ซ่อมแซม รีไซเคิล และการหมุนเวียนทางชีวภาพ อาทิ การทำปุ๋ยหมัก สามารถนำมาใช้ในการเกษตร ปลูกพืชและนำผลผลิตมาผลิตเป็นอาหารต่อไป
การฟื้นฟูธรรมชาติ สนับสนุนให้พึ่งพาพลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ปฏิรูปการทำการเกษตรที่ช่วยฟื้นฟูดินขึ้นมาใหม่และเพิ่มความหลากลายทางชีวภาพ
Circular vs Recycling vs Linear Economy ต่างกันอย่างไร

ระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง หรือ Linear Economy เป็นการนำทรัพยากรมาใช้ในการผลิตเพื่อใช้งานและจบด้วยการทำลายทิ้งกลายเป็นขยะ โดยที่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะไม่ถูกนำกลับมาดัดแปลงหรือใช้ซ้ำอีก การทำงานของ Linear Economy ส่งผลให้เกิดมลพิษ ธรรมชาติเสื่อมโทรม สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง
จากผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นของ Linear Economy ทำให้เกิดแนวคิด Circular Economy ขึ้นมา รูปแบบเศรษฐกิจทั้งสองแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Linear Economy เน้นถลุง ผลิต และทำลายทิ้ง แต่ Circular Economy คือการสนับสนุนให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อขจัดขยะของเสียออกจากภาคเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด
ส่วน Recycling Economy แม้จะมีความใกล้เคียงกับ Circular Economy แต่มีวิธีการที่แตกต่างกัน โดยการรีไซเคิลจะเน้นให้นำขยะที่ถูกทิ้งมาดัดแปลงเพื่อใช้ซ้ำอีกครั้ง แต่ Circular Economy จะมุ่งเน้นให้ทบทวนตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและผลิตให้มีความยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
จะเห็นได้ว่า Linear Economy ให้ความสำคัญกับการทำกำไรเป็นหลักผ่านการสร้างมูลค่าการผลิตและการขายจำนวนมาก ในทางกลับกัน Circular Economy และ Recycling Economy ผลักดันให้เกิดความยั่งยืนตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ด้วยการนำกลับมาซ่อมแซม ปรับปรุง ใช้ซ้ำ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอายุที่ยาวนานขึ้น
จากผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นของ Linear Economy ทำให้เกิดแนวคิด Circular Economy ขึ้นมา รูปแบบเศรษฐกิจทั้งสองแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Linear Economy เน้นถลุง ผลิต และทำลายทิ้ง แต่ Circular Economy คือการสนับสนุนให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อขจัดขยะของเสียออกจากภาคเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด
ส่วน Recycling Economy แม้จะมีความใกล้เคียงกับ Circular Economy แต่มีวิธีการที่แตกต่างกัน โดยการรีไซเคิลจะเน้นให้นำขยะที่ถูกทิ้งมาดัดแปลงเพื่อใช้ซ้ำอีกครั้ง แต่ Circular Economy จะมุ่งเน้นให้ทบทวนตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและผลิตให้มีความยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
จะเห็นได้ว่า Linear Economy ให้ความสำคัญกับการทำกำไรเป็นหลักผ่านการสร้างมูลค่าการผลิตและการขายจำนวนมาก ในทางกลับกัน Circular Economy และ Recycling Economy ผลักดันให้เกิดความยั่งยืนตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ด้วยการนำกลับมาซ่อมแซม ปรับปรุง ใช้ซ้ำ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอายุที่ยาวนานขึ้น
ทำไมหลายบริษัทในปัจจุบันถึงให้ความสำคัญกับ Circular Economy
โมเดล Circular Economy ไม่เพียงแค่เน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดการสร้างของเสียทำลายธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในปัจจุบันในการผลักดันให้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่รักษ์โลกและช่วยประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจที่ปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืนทางธรรมชาติที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ
ทั้งนี้ การจะก้าวไปสู่ Circular Economy ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคธุรกิจจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่หลากหลาย อาทิ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความทนทานมากขึ้น สามารถนำมารีไซเคิลได้ง่าย และสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จะสามารถถูกดึงกลับมาดัดแปลงเพื่อใช้ซ้ำได้อีกครั้ง
ทั้งนี้ การจะก้าวไปสู่ Circular Economy ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคธุรกิจจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่หลากหลาย อาทิ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความทนทานมากขึ้น สามารถนำมารีไซเคิลได้ง่าย และสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จะสามารถถูกดึงกลับมาดัดแปลงเพื่อใช้ซ้ำได้อีกครั้ง
BY : Jim
ที่มา : https://www.dittothailand.com/dittonews/circular-economy/
บทความที่เกี่ยวข้อง
Brand (แบรนด์) คือภาพลักษณ์หรือความรู้สึกที่ผู้คนมีต่อธุรกิจ สินค้า หรือบริการของคุณ มันมากกว่าแค่โลโก้ ชื่อ หรือสโลแกน แต่คือ "ความรู้สึก" และ "การรับรู้" ทั้งหมดที่ผู้คนมีต่อสิ่งที่คุณนำเสนอ
20 พ.ค. 2025
ในปี 2567 ที่ผ่านมา ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยยังคงคึกคักไม่หยุด โดยสองยักษ์ใหญ่แห่งวงการอย่าง Shopee และ Lazada ได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ ความสำเร็จนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นผลจากการวาง กลยุทธ์ทางธุรกิจ อย่างแยบยลและชาญฉลาด โดยเฉพาะ Shopee ที่มีระบบโลจิสติกส์ของตัวเองภายใต้ชื่อ SPX Express ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
20 พ.ค. 2025
ในโลกของการค้าออนไลน์และธุรกิจส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว Fulfillment Center กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การจัดการคำสั่งซื้อมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่ต้องส่งสินค้าไปยังลูกค้าต่างประเทศ
19 พ.ค. 2025