แชร์

สาเหตุที่ทำให้เซลส์พลาดโอกาสในการปิดการขาย

อัพเดทล่าสุด: 23 ก.ย. 2024
19 ผู้เข้าชม
สาเหตุที่ทำให้เซลส์พลาดโอกาสในการปิดการขาย

8 สาเหตุ ที่ทำให้เซลส์พลาดโอกาสในการปิดการขาย

1. ไม่ศึกษาลูกค้า ไม่รู้จักลูกค้า ไม่เข้าใจปัญหาลูกค้า

     ก่อนการขายสินค้า เซลส์ควรศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้าก่อน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงพฤติกรรม ความรู้สึก แนวคิดต่าง ๆ เพื่อที่เราจะได้หาแนวทางการนำเสนอขายสินค้าหรือบริการได้อย่างตรงจุดและตอบโจทย์ปัญหา และตอบในสิ่งที่ลูกค้าอยากฟัง 

2. นำเสนอขายไม่ได้ โน้มน้าวใจไม่เป็น

     ทักษะการสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญในการนำเสนอขายสินค้าและบริการ หากคุณไม่มีทักษะในการนำเสนอ หรือไม่มีทักษะในการโน้มน้าวใจ อาจทำให้คุณพลาดโอกาสในการปิดการขายได้ เพราะฉะนั้นเซลส์จึงควรเพิ่มทักษะในการนำเสนอขายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นฝึกนำเสนอสินค้า รวมถึงฝึกการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ 

3. ไม่มีระบบ CRM เพื่อใช้ในการจัดการงานขาย

     ระบบ CRM เป็นระบบที่จะช่วยให้ทีมขายสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ และจัดการงานขายได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บรายชื่อลูกค้า การสร้างตารางนัดหมาย การสร้างใบเสนอราคา การเช็คอินสถานที่สำหรับเซลส์ที่ต้องออกไปหาลูกค้า รวมถึงติดตามสถานะของลูกค้าด้วย Sales Pipeline และฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อทีมขาย

4. พลาดโอกาสให้กับคู่แข่ง เพราะเราไม่รู้จักคู่แข่ง จุดแข็งของเรา

     ในการทำงานด้านการขายนั้น แน่นอนว่าต้องมีคู่แข่งทางการค้ามากมายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหากทีมขายของคุณขายสินค้าหรือบริการโดยไม่สนใจคู่แข่ง หรือไม่ได้วิเคราะห์คู่แข่ง อาจทำให้มีโอกาสที่จะเสียลูกค้าไปได้ ดังนั้นอย่าลืมคำที่ว่า รู้เขา รู้เรา เพราะในการการขาย 

5. ไม่ได้คุยกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ (Key man)

     ในการเสนอขายสินค้าหรือติดตามการขาย เซลส์ควรต้องนำเสนอขายให้ถูกคน หรือหาโอกาสในการพูดคุยกับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจให้ได้ เช่น หากคุณต้องการขายบ้านให้กับครอบครัวครอบครัวหนึ่ง คุณต้องสังเกตว่าใครเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการซื้อครั้งนี้ เพราะหากเสนอขายไม่ถูกคนก็อาจทำให้คุณพลาดโอกาสในการปิดการขายไปได้ 

6. ไม่มีกรอบเวลาการปิดการขายหรือดีลที่ให้ลูกค้ารีบตัดสินใจ

     ในบางครั้งลูกค้าอาจสนใจที่จะซื้อสินค้าและบริการ แต่ยังไม่ตัดสินซื้อเพราะคิดว่ายังไม่จำเป็น หรืออาจลังเลว่าจะเลือกซื้อจากแหล่งใด หากเซลส์มีกรอบเวลาหรือทางเลือกที่ชัดเจนให้ลูกค้า  จะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจได้เร็วขึ้น เช่น การเสนอโปรโมชั่นหรือส่วนลดหากซื้อภายในวันนี้ 

7. สร้างความเชื่อมั่น เชื่อใจให้กับลูกค้าได้ยังไม่มากพอ

     ความเชื่อมั่นและความเชื่อใจก็มีส่วนช่วยในการตัดสินใจซื้อของลูกค้าในปัจจุบัน หากลูกค้ายังไม่มีความเชื่อมั่นต่อแบรนด์หรือต่อตัวสินค้า หรือแม้แต่เซลส์เอง อาจทำให้ลูกค้าไม่กล้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการกับเราได้ 

8. แก้ไขปัญหาได้ช้า ลูกค้ารอนาน

     ความรวดเร็วหรือ Speed สำหรับการขายในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเซลส์แก้ไขปัญหาได้ช้า ไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง ลูกค้าติดต่อได้ยาก อาจทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจต่อการให้บริการ แล้วส่งผลให้ไม่สนใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ แต่หากเซลส์มีการเตรียมพร้อมกับทุกสถานการณ์ เมื่อเกิดปัญหาแล้วสามารถจัดการหรือแก้ไขได้ทันที ลูกค้าติดต่อได้ง่ายยามเจอปัญหาหรือต้องการคำแนะนำ ไม่ทำให้ลูกค้ารอนาน ก็จะช่วยเพิ่มความประทับใจให้แก่ลูกค้า 

BY : NOOK
ที่มา : https://blog.readyplanet.com

บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาษีซื้อภาษีขาย คืออะไร
เมื่อใดที่กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จำเป็นต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) พร้อมกับแนบเอกสารที่ขาดไม่ได้คือ รายงานภาษีซื้อภาษีขาย
27 ก.ย. 2024
โลจิสติกส์ของการกลับบ้าน การวางแผนที่ทำให้การเดินทางราบรื่น
โลจิสติกส์ของการกลับบ้านหมายถึงการจัดการและวางแผนการเดินทางของผู้คนในช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาว
24 ก.ย. 2024
หลักการบริการขนส่งสินค้าที่ดี
การบริการที่ดีมีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะในธุรกิจขนส่งที่ความพึงพอใจของลูกค้าสามารถมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำ
13 ก.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ