แชร์

ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า (IMPORT)

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 22 ม.ค. 2025
471 ผู้เข้าชม
ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า IMPORT
ระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Import)
เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการนำเข้ากับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าที่นำเข้า การส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจะได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรหลังจากสินค้า มาถึงท่าและได้ชำระภาษีอากรเรียบร้อยแล้ว ผู้นำเข้ามีความรับผิดชอบในการเตรียมสินค้าเพื่อการตรวจสอบ และปล่อยสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากร นอกจากนี้ในบางกรณีผู้นำเข้ายังต้องขอใบอนุญาตในการนำเข้าสำหรับสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า สินค้าบางรายการต้องได้รับการอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการนำเข้าสินค้า
 
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรเพื่อนำเข้าประกอบด้วย
   1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry Declaration)
   2. ใบตราส่งสินค้า (B/L)
   3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
   4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
   5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License)
   6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) กรณีขอลดหรือยกเว้นอัตราอากรขาเข้า
   7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น
 
ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการ
ภายใต้ระบบการนำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารที่เป็นกระดาษ เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดโอนถ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้นำเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรด้วยระบบ VAN หรืออินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้า สินค้ามี 4 ขั้นตอนดังนี้
 
1.การโอนถ่าย และ/หรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : ขั้นตอนแรกของพิธีการนำเข้าคือการสำแดงข้อมูลการนำเข้าและส่งข้อมูลไปยังกรมศุลกากร ให้บริษัทหรือตัวแทนออกของส่งข้อมูลเรือเข้า บัญชีรายการสินค้าและบัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร หากไม่พบข้อผิดพลาด ระบบคอมพิวเตอร์จะตอบกลับไปยังบริษัทหรือตัวแทนนั้นๆ เมื่อสินค้ามาถึงท่าหรือสถานที่นำเข้า ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

2.การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : ขั้นตอนที่ 2 คือการตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้นำเข้ายื่นมา ในขั้นนี้ระบบของกรมฯจะแยกใบขนสินค้าเป็น 2 ประเภทคือ ใบขนฯให้ตรวจ และใบขนฯยกเว้นการตรวจ ผู้นำเข้าสามารถดำเนินการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องได้ทันที หากใบขนฯของตนเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจ

3.การชำระภาษีอากรขาเข้า : ขั้นตอนที่ 3 คือการชำระภาษีอากรและการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบัน สามารถชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร   ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  และชำระที่ธนาคาร

4.การตรวจและการปล่อยสินค้า : ขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำเข้ายื่นใบขนฯ กับใบเสร็จรับเงินที่คลังสินค้าเพื่อการปล่อยสินค้าในขั้นนี้ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบ ความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าวต้องผ่านการเปิดตรวจหรือยกเว้นการตรวจหากเป็นใบขนฯ ยกเว้นการตรวจ จะใช้เวลาน้อยมาก หลังจากนั้นสถานะชองการปล่อยสินค้าจะส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปทั้งที่ท่าเรือและที่ผู้นำเข้าหรือตัวแทน อย่างไรก็ตามในกรณีที่สินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการ ท่าเรือจะเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://shorturl.asia/hu1nj
 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกค้าประจำต้องได้มากกว่า! ใช้ระบบ Booking สร้าง Loyalty Program ยังไงให้เวิร์ค
ในยุคที่ธุรกิจขนส่งแข่งขันกันด้วยความเร็ว ราคา และประสบการณ์ลูกค้า "ลูกค้าประจำ" คือหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ร่วมมือ.jpg Contact Center
30 เม.ย. 2025
ระบบ Booking ช่วยลูกค้าจองง่ายขึ้น ด้วยฟีเจอร์ ‘จองซ้ำ’ และ ‘จองแบบหลายปลายทาง’
ในยุคที่การแข่งขันด้านบริการขนส่งเข้มข้นมากขึ้น "ความสะดวก" และ "ความเร็ว" คือหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า
ร่วมมือ.jpg Contact Center
29 เม.ย. 2025
เปลี่ยนข้อมูลจำนวนมหาศาลในโลจิสติกส์เป็น Insight ด้วย ChatGPT
การช่วยสรุปรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลขนส่งจากระบบ ERP หรือ Excel ในโลกของโลจิสติกส์วันนี้ ข้อมูลคือ "ขุมทรัพย์" ที่มีมูลค่ามหาศาล — แต่ถ้าข้อมูลเยอะเกินไป ไม่มีเวลา หรือไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน มันก็อาจกลายเป็น "ภาระ" แทนได้เช่นกัน
ร่วมมือ.jpg Contact Center
28 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ