แชร์

กองทุนรวม SSF และ RMF ต่างกันยังไง เลือกอันไหนดี?

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 18 ธ.ค. 2024
386 ผู้เข้าชม
ทำความรู้จัก SSF กับ RMF
กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF: Super Savings Fund) เป็นกองทุนที่เน้นการออม และยังเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี ซึ่งกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว SSF เป็นกองทุนที่มาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF ที่หมดอายุไปเมื่อปี 2562
 
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (RMF: Retirement Mutual Fund) เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ มีลักษณะคล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีได้
 
SSF และ RMF มีเงื่อนไขแตกต่างกันอย่างไร?
-SSF ต้องถือไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ โดยที่ RMF จะถือขั้นต่ำ 5 ปี และขายออกได้ตอนอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์
-SSF ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ RMF ต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี
-SSF สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท ส่วน RMF สามารถลดหย่อนไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 500,000 บาท แต่ทั้งหมดนี้เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนออมแห่งชาติ ประกันหรือกองทุนบำนาญอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
 
SSF และ RMF มีเงื่อนไขคล้ายกันอย่างไร?
-สามารถลงทุนได้ตลอดทั้งปี และมีหลากหลายนโยบายการลงทุน
-ลงทุนในทุกสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
-ไม่มีเงินลงทุนขั้นต่ำ และหากลงทุนครบตามเงื่อนไข จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
 
SSF และ RMF เหมาะกับใคร?
ในการตัดสินใจเลือกกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีนั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายในการลงทุน หรือระยะเวลาในการลงทุน เพื่อให้ได้กองทุนที่ตอบโจทย์กับความต้องการมากที่สุด โดย SSF กับ RMF ก็มีความเหมาะสมและตอบสนองความต้องการในการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
-SSF เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี และต้องการลงทุนระยะยาวมากกว่า 10 ปี
-RMF เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี และต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณโดยเฉพาะผู้ที่ประกอบวิชาชีพอิสระ หรือ ลูกจ้าง พนักงาน ที่ไม่มีสวัสดิการและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และยังเหมาะสำหรับลูกจ้าง พนักงาน หรือ ข้าราชการที่ต้องการจะออมเพิ่มมากขึ้น
 
เช็กรายได้และอัตราภาษี ก่อนลงทุนลดหย่อนภาษี
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่า ระหว่าง SSF กับ RMF จะเลือกลงทุนกองทุนใด ก็ต้องไม่ลืมเช็กรายได้ก่อนลงทุนลดหย่อนภาษี เพื่อให้คุณสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างเหมาะสม พร้อมรับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีที่ครอบคลุมมากที่สุด
 
อัตราการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567
-เงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี
-เงินได้สุทธิ 150,000-300,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 5% เสียภาษีสูงสุด 7,500 บาท
-เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 10% เสียภาษีสูงสุด 20,000 บาท
-เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 15% เสียภาษีสูงสุด 37,500 บาท
-เงินได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 20% เสียภาษีสูงสุด 50,000 บาท
-เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 25% เสียภาษีสูงสุด 250,000 บาท
-เงินได้สุทธิ 2,000,001-5,000,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 30% เสียภาษีสูงสุด 900,000 บาท
-เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป มีอัตราภาษีอยู่ที่ 35%
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://www.innovestx.co.th/cafeinvest/investsnack/easyfinance/start-your-first-investment/ssf-vs-rmf
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
อนาคตของธุรกิจขนส่งกับ AI: ChatGPT จะเป็นพาร์ทเนอร์หรือคู่แข่ง?
อนาคตของธุรกิจขนส่งกับ AI: ChatGPT จะเป็นพาร์ทเนอร์หรือคู่แข่ง? ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี AI ได้ก้าวกระโดดเข้ามามีบทบาทสำคัญในเกือบทุกอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือ ธุรกิจขนส่ง (Logistics & Transportation) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจและการค้าสมัยใหม่ คำถามที่หลายคนเริ่มตั้งคือ “AI อย่าง ChatGPT จะเข้ามาเป็น พาร์ทเนอร์ ที่ช่วยธุรกิจขนส่งให้เติบโต หรือจะกลายเป็น คู่แข่ง ที่มาแทนที่มนุษย์?”
ร่วมมือ.jpg Contact Center
2 พ.ค. 2025
ลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าอย่างไร? เทคนิคจากคลังสินค้าชั้นนำ
ในการบริหารจัดการคลังสินค้า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อกำไรของธุรกิจคือ “ต้นทุนการจัดเก็บสินค้า” ซึ่งหากจัดการไม่ดี ต้นทุนส่วนนี้อาจกลายเป็นภาระหนักโดยไม่จำเป็น วันนี้เราจะพาคุณมาดูเทคนิคจากคลังสินค้าชั้นนำที่ใช้ได้จริง เพื่อช่วยลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
30 เม.ย. 2025
ระบบ WMS (Warehouse Management System) คืออะไร และทำไมคุณควรใช้
ในยุคที่ธุรกิจต้องแข่งขันกันด้วยความรวดเร็วและประสิทธิภาพ "การจัดการคลังสินค้า" กลายเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงาน โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและโลจิสติกส์ หากคุณยังใช้การจัดการแบบดั้งเดิม เช่น การจดบันทึกลงกระดาษ หรือไฟล์ Excel อาจถึงเวลาที่ต้องพิจารณาใช้ ระบบ WMS (Warehouse Management System) แล้ว
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
30 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ