แชร์

ชิปปิ้ง เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์หรือการขนส่งสินค้า

อัพเดทล่าสุด: 18 ก.ย. 2024
611 ผู้เข้าชม

ความหมายของ ชิปปิ้ง

ชิปปิ้ง (Shipping) คือ บริษัท องค์กร หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนเจ้าของสินค้าหรือลูกค้า ทำหน้าที่ติดต่องานด้านเอกสารสำหรับการส่งออกหรือนำเข้าสินค้า โดยการติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และนอกจากนั้นยังมีการให้บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก เช่น ประสานงานกับบริษัทขนส่งหรือธนาคาร ซึ่งในภาษาทางการ..คำว่า Shipping จะใช้แทนคำว่า ตัวแทนออกของ

Shipping มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

หลักๆแล้ว ตัวแทนออกของ หรือ Shipping จะมีอยู่ 2 ประเภท 

1.ตัวแทนออกของทั่วไป (Shipping)

   ตัวแทนเจ้าของสินค้าที่ติดต่องานเอกสารกับกรมศุลกากรเพื่อการนำเข้าส่งออกและบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องขอและได้รับอนุญาต โดยมีหลักเกณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานของทางกรมศุลกากรด้วยว่าคุณสมบัติ Shipping จะต้องมีอะไรบ้าง

2.ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ (AEO Authorized Economic Operator)

   จริงๆแล้วก็คือ ตัวแทนออกของทั่วไปที่ต้องการยกระดับการให้บริการสู่มาตรฐานสากล โดยตัวแทนออกของที่สนใจสามารถยื่นคำร้องกับกรมศุลกากร โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศกรมศุลกากร

ตำนานน่ารู้ของโลจิสติกส์ 

   เมื่อ 500 ปีก่อนพุทธกาล อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรกรีก ได้นำแนวคิดของระบบโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนกำลังพลในการรบโดยสร้างสถานีเก็บเสบียงอาหารทหารและสัตว์ไว้ทุกๆ 30 กม. ตั้งแต่ตัวเมืองไปจนถึงแนวชายแดน เพื่อให้ทหารไม่ต้องแบกสัมภาระมากเกินไป อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดการขาดแคลนเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง เช่นเดียวกับจักรพรรดินโปเลียนของฝรั่งเศส ที่วางแผนเกี่ยวกับการขนส่งกำลังพลและเสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพสามารถเคลื่อนทัพได้เร็วกว่าศัตรู 

 โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับศาสตร์ใด

   โลจิสติกส์เป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมในการเรียนเป็นอย่างมาก สถาบันการศึกษาหลายแห่งในเมืองไทยเปิดสอนแขนงวิชาโลจิสติกส์เพื่อผลิตบุคลากรสาขานี้ป้อนตลาดอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม โลจิสติกส์ เป็นการผสานศาสตร์แขนงต่างๆ ไว้รวมกัน 3 ศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ และการจัดการสารสนเทศ โดยบัณฑิตด้านโลจิสติกส์สามารถทำงานได้หลายด้าน ทั้งฝ่ายปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ระดับบริหาร สามารถเป็นนักวิเคราะห์โลจิสติกส์ นักวางแผน นักวิเคราะห์กระบวนการธุรกิจ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้า-ส่งออก เป็นตัวแทนขนส่งสินค้า

 แขนงวิชาของโลจิสติกส์ ต่างกันอย่างไร

  แต่ละแขนงวิชาโลจิสติกส์ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่มีความเกี่ยวพันกันอย่างเชื่อมโยง อาทิ วิศวกรรมศาสตร์โลจิสติกส์ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อให้การขนส่งสินค้าราบรื่น ใช้ทรัพยากร และระยะเวลาขนส่งน้อยที่สุด แต่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แขนงวิชาบริหารธุรกิจ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหารวัสดุและการขนส่งระหว่างประเทศ การกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายด้านโลจิสติกส์ เรื่อยไปจนถึงเรื่องภาษีและกฎหมาย สำหรับศาสตร์วิชาการจัดการสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ควบรวมเป็นบริการที่ช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น

ตลาดโลจิสติกส์ ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

  EEC (Eastern Economic Corridor) หรือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ใหม่ในการลงทุน ซึ่งระยะแรกได้ยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัด คือ ชลบุรี, ระยอง และฉะเชิงเทรา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีสนามบิน และท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากที่สุดเป็นอันดับ 22 ของโลก โดยข้อมูลจาก EEC ระบุว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า โครงการอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่ต้องการบุคลากรสูงสุดคือ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยเฉพาะความต้องการของแรงงานกลุ่มโลจิสติกส์ในพื้นที่ EEC นี้ จะมีไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน สนใจศึกษาระบบการขนส่งระหว่างประเทศหรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้บริการ ชิปปิ้ง จากเมืองจีนมาไทยได้ทุกวัน

 

 




BY : NUN

ที่มา : shippingyou.com


บทความที่เกี่ยวข้อง
เปิดเบื้องหลังการวางระบบ AI Assistant สำหรับแฟรนไชส์ขนส่งยุคใหม่
เปลี่ยนธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งให้ฉลาดขึ้น เร็วขึ้น และมืออาชีพยิ่งกว่าเดิม ในยุคที่ลูกค้าต้องการคำตอบทันที และการจัดการต้องรวดเร็วแม่นยำ ธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งไม่สามารถพึ่งแค่คนหรือระบบเดิมได้อีกต่อไป หลายเจ้าของแฟรนไชส์เริ่มหันมาใช้ AI Assistant เข้ามาช่วยงาน ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน ซึ่งช่วยให้ระบบแฟรนไชส์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างแท้จริง
ร่วมมือ.jpg Contact Center
2 ก.ค. 2025
Drone (โดรน) ส่งของ จะมาแทนแมสเซนเจอร์ได้จริงไหม?
คราวนี้มาพูดถึงเทคโนโลยีที่หลายคนสงสัยว่า "มันจะมาแทนคนได้จริงไหม?" นั่นก็คือ Drone ส่งของ จะมาแทนแมสเซนเจอร์ได้จริงไหม?
ร่วมมือ.jpg เหมาคัน
2 ก.ค. 2025
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า ขนส่ง ทำงานเองทั้งระบบแบบไร้คน?
นี่ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์แต่มันคือ ทิศทางที่วงการโลจิสติกส์กำลังมุ่งไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
2 ก.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ