แชร์

7 เทคนิคสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(ฝ่ายวางแผน)
อัพเดทล่าสุด: 5 ก.พ. 2025
311 ผู้เข้าชม

การลดลงของจำนวนประชากรวัยทำงานที่เกิดจากการลดลงของประชากรและอัตราการเกิดต่ำ เป็นเหตุให้รัฐบาลออกมาสนับสนุนให้ การปฎิรูปการทำงาน เป็นวาระเร่งด่วนของสังคม ทำให้การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ในบริษัทที่คำนึงเรื่องการเติบโตขององค์กร
แต่พอจะลงมือปรับปรุงจริงๆ กลับไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหนดี วันนี้ Teachme Biz จึงขอแชร์วิธีและเทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กรของคุณ


ประสิทธิภาพในการทำงานคืออะไร พร้อม 7 เทคนิคในการปรับปรุง!
โดยทั่วไปแล้วประสิทธิภาพในการทำงาน หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์หรือผลผลิตสูงสุด โดยสามารถนำเทคนิคทั้ง 7 นี้ ไปปรับใช้ในองค์กรได้กับทุกธุรกิจ!
1. ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
เครื่องมือบนคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือในกลุ่มพวก RPA (Robotic Process Automation) ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างระบบอัตโนมัติ (Automation) ให้กับการทำงาน สิ่งนี้เองจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็น 2 เท่า เช่นเคยใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน 1 ชั่วโมงก็กลายเป็นเสร็จสมบูรณ์ได้ภายใน 30 นาที
ซึ่งใช้ได้ผลดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีรูปแบบตายตัว หรืองานที่ต้องทำเป็นกิจวัตร ที่จะไม่ใช่แค่ประหยัดเวลาครึ่งหนึ่ง แต่บางกรณีอาจจะเสร็จภายในไม่กี่สิบนาทีได้เลย อย่างไรก็ตาม การนำเครื่องมือเข้ามาใช้นั้นจำเป็นต้องมีเงินทุนและเวลาในการศึกษาเริ่มต้น ซึ่งก็มีเครื่องมือ (ซอฟต์แวร์) ที่อาจจะสเกลไม่ใหญ่เท่ากับ RPA แต่ก็สามารถจัดการตารางงานและภารกิจของพนักงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
2. ทบทวนการดำเนินงาน
การตัดลดงานส่วนที่ไม่จำเป็นออกด้วยการตรวจสอบว่าในขั้นตอนการทำงานนั้นๆ มีส่วนที่สิ้นเปลืองหรือไม่ สามารถตัดขั้นตอนใดออกได้หรือไม่ ถือเป็นอีกวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน หลายครั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานจะเชื่อมโยงไปถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตได้ในเวลาเดียวกันด้วย วิธีการอันโด่งดังของโตโยต้า ไคเซ็น ก็น่าจะใช้วิธีนี้
สิ่งสำคัญที่สุดในการทบทวนการดำเนินงานคือความเข้าใจในภาพรวมและขั้นตอนของงานอย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่ก็จะมีมาตรการแก้ไขจุดบอดที่ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองที่เราหาเจอง่ายๆ อยู่แล้ว แต่ประเด็นคือจุดบอดที่หาเจอได้ยาก สิ่งสำคัญที่สุดในวิธีนี้คือการหาจุดบอดที่หาเจอได้ยากให้ได้แล้วแก้ไขมัน​ ​
3. ทบทวนขนาดของบริษัท
โดยทั่วไปหากบริษัทมีภาระทางการเงินเพิ่มขึ้น แผนกที่ไม่ได้สร้างกำไรก็จะถูกแก้ไขโครงสร้างใหม่ ในทางกลับกันหากผลกำไรเพิ่มขึ้นก็จะคิดเรื่องการขยับขยายธุรกิจ สร้างผลกำไรให้มากขึ้นอีก แต่จะขยับขยายให้ใหญ่ขึ้นขนาดไหนบริษัทถึงจะมีฟังก์ชันมากขึ้นนั้น เรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตก็เป็นมุมมองที่สำคัญ
เริ่มจากการดูว่าผลกำไรเหมาะสมกับขนาดของบริษัทหรือไม่ ถ้าลดการใช้ทรัพยากร เช่นพนักงาน หรือร้านสาขาลงแล้วจะส่งผลให้กำไรจะลดลงเท่าใด กลับกันถ้าทรัพยากรเพิ่ม กำไรจะเพิ่มขึ้นเท่าใด พิจารณาประเด็นเหล่านี้เพื่อหาขนาดของบริษัทที่เหมาะสมที่สุด นี่ไม่ใช่ปัญหาที่แผนกใดแผนกหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นปัญหาโดยรวมของทั้งบริษัท ในความเป็นจริงแล้วควรทำทั้งองค์กร ไม่ใช่แค่ทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างเดียว
4. สร้างโอกาสในการสื่อสารระหว่างพนักงาน
การตรวจสอบวิธีการทำงาน เป็นสิ่งที่ธุรกิจทุกประเภทต้องให้ความสำคัญเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน สิ่งแรกคือ การรู้จักบทบาทของตนเอง และการจะรู้จักบทบาทตัวเองได้นั้น พนักงานจะต้องสามารถแชร์สถานการณ์ปัจจุบันของการทำงานกับผู้ร่วมงานได้​ ​
แม้จะเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้ว่าควรทำ แต่ก็ควรสร้างโอกาส หรือสถานการณ์ให้พนักงานสามารถสื่อสารกันได้เอาไว้ จะสร้างสเปซที่สามารถมีกิจกรรมร่วมกันในบริษัทก็ได้ หรือจะนัดประชุมแค่เพื่อเห็นหน้าค่าตาโดยไม่ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ก็ได้ เมื่อแต่ละคนต่างเข้าใจในเนื้องานปัจจุบันของกันและกันแล้ว ก็จะสามารถเดินงานเป็นทีมและช่วยกันปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นได้
5. พยายามสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน
ยิ่งพนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตต่อชั่วโมงได้มากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าเวิร์คโฟลว์และเนื้อหาของงานจะเหมือนเดิม แต่ก็น่าจะคาดหวังประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดอย่างรวดเร็วได้
การสร้างแรงจูงใจที่ง่ายที่สุด คือการปรับปรุงผลตอบแทนของพนักงาน เช่น การขึ้นค่าตอบแทน สวัสดิการ หรือเพิ่มวันหยุด เป็นต้น อย่างไรก็ตามก่อนจะสร้างรายจ่ายของบริษัทให้เพิ่มขึ้น อาจจะต้องมีการใช้เทคนิคนิดหน่อย เช่นการให้โบนัสเพิ่มหากสามารถสร้างผลงานจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ เป็นต้น
6. พัฒนาทักษะของพนักงาน
แม้ว่าจำนวนพนักงานจะเท่าเดิม แต่ถ้าพนักงานแต่ละคนมีทักษะการทำงานดีขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานต่อชั่วโมงก็สูงขึ้นได้ วิธีการพัฒนาทักษะโดยทั่วไปน่าจะเป็นการสนับสนุนการสอบวัดระดับความสามารถ หรือการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยวิธีเหล่านี้มีค่าจ่ายเช่นเดียวกับการสร้างแรงจูงใจ ดังนั้นการมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องพิจารณาควบคู่กับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นว่าคุ้มค่าไหม
การทบทวนเวิร์คโฟลว์และคู่มือการทำงานประจำวันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะของพนักงาน แม้ในงานเดียวกัน หากลองทำงานในวิธีการที่แตกต่างออกไป วิธีนั้นอาจแสดงความสามารถที่ไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นไปได้ อาจมองไม่เห็นว่าจะไปเชื่อมโยงกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยังไง แต่อีกประเด็นที่ควรคำนึงเสมอก็คือการวาง รากฐาน ของบริษัทให้แข็งแรง
7. แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคคลากร
จากข้อ 3 ว่าควรคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมของบริษัท แต่หากมีบุคลากรไม่เพียงพอ อย่าว่าแต่การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต แค่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงก็ยังยาก ญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาประชากรลดลงที่มีสาเหตุจากอัตราการเกิดต่ำและสังคมผู้สูงอายุ จึงทำให้ขาดแคลนแรงงานในทุกประเภทอุตสาหกรรม จึงทำให้การหาบุคลากรที่มีทักษะเหมาะสมกับที่ต้องการเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก ยิ่งธุรกิจที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีแนวโน้มประสบปัญหามากขึ้นเท่านั้น
การรับสมัครบุคลากรต้องมีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามหากในบริษัทมีบุคคลากรที่มีทักษะดี ความสามารถในการผลิตก็จะดีขึ้น ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ก็น่าจะหาบุคลากรได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงอาจจะควรรีบแก้ปัญหาเสียแต่เนิ่นๆ ดีกว่า

8 สิ่งที่ควรทำ เมื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
คราวนี้เราจะมาดูว่าเมื่อต้องการเริ่มปฏิบัติจริงในองค์กรควรมีขั้นตอน หรือข้อมูลอย่างไรบ้าง เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจสถานะปัจจุบันของบริษัทหรืองาน แล้วจึงกำหนดเป้าหมาย เขียน แผนปฏิบัติการ สู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแล้วแชร์ภายในบริษัท​ ​
1. จัดระเบียบปัญหาการทำงาน
ควรต้องมีการการประชุมระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในงานทั้งหมด เพื่อคุยถึงปัญหาที่ประสบในแต่ละขั้นตอนดำเนินงานของแต่ละคนและหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาให้ชัดเจน เช่น ขั้นตอนการทำงานที่นาย ก มองว่าไม่มีปัญหา แต่ในมุมมองของนาย ข อาจมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการแก้ไข
ลองทำความเข้าใจปัญหาจากหลายๆ แง่มุม แล้วจึงหาทางแก้ไขโดยอิงข้อมูลที่ได้ทำความเข้าใจไว้ หากพยายามจะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองคนเดียวก็อาจจะถูกมองว่าไม่ได้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก็เป็นได้
2. ทบทวนเป้าหมายของบริษัท
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทแบบไหนก็ตาม คงต้องมีการกำหนดตัวเลขที่เป็นเป้าหมายของบริษัทเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย หรือจำนวนสาขา โดยบริษัทส่วนใหญ่ มักจะตั้งเป้าหมายไว้สูงกว่าสถานการณ์จริง แม้ว่าจะไม่เสมอไปแต่ทรัพยากรอย่างพนักงาน หรือเงินทุนต่างๆ ก็ต้องถูกกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
คงเป็นเรื่องธรรมดาขององค์กร แต่ยิ่งตั้งเป้าสูงเท่าไหร่ บริษัทก็ใช้ทรัพยากรมากขึ้นเท่านั้น
หากไม่สามารถทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุผลได้ ก็เท่ากับประสิทธิภาพการผลิตลดลงไป ในบางกรณีการตั้งเป้าหมายอาจนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรปริมาณมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาไม่เพียงแต่ ในกรณีที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงจำนวนทรัพยากรที่สูญเสียไปกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมายด้วย
3. วางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ก็มาเริ่มวางแผนรายละเอียดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายกัน โดยคำนึงถึงปริมาณงานต่อพนักงานหนึ่งคน จำนวนคนที่จำเป็น ปริมาณผลลัพธิ์ที่จะได้ อีกทั้งควรประเมินประมาณเงินลงทุนและจังหวะเวลาของการลงทุนไปด้วย​ ​
การจัดทำแผนปฏิบัติงานจริงควรคำนึงถึงปริมาณทรัพยากรและเวลาที่ต้องใช้ในการผลิต เพราะผลผลิตนั้นคือ การจัดสมดุลของปริมาณทรัพยากรที่ใช้และจำนวนเงินที่จะได้รับกลับคืน
แม้ว่าจะเป็นเพียง การคาดการณ์ แต่หากสามารถวางแผนรายละเอียดงานได้ แม้ว่าผลลัพธ์จะไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็จะสามารถเข้าใจสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนได้ง่าย เป็นไปได้คุณควรใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดในการบรรลุผลที่สูงที่สุด ถึงจะเรียกได้ว่า เป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
4. เรียงลำดับความสำคัญของแต่ละงาน
เป็นธรรมชาติอยู่แล้วที่ทุกคนมีจุดแข็งและจุดอ่อน ดังนั้นมันจึงมีงานประเภทที่คุณสามารถทำด้วยตัวคุณเองได้ และงานที่ต้องอาศัยทักษะของคนอื่นในการทำ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หมายถึง การทำงานที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมากขึ้น เมื่อพิจารณาลำดับความสำคัญของงานประจำวัน มักมีแต่งานที่กำหนดส่งเร็วและเป็นงานที่ไม่สามารถประวิงเวลาได้ ทำให้แทบไม่สามารถเรียงได้เลยว่างานไหนสำคัญกว่ากัน
หากคุณเริ่มทำจากงานที่ประเมินแล้วว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยรวม นี่ก็อาจไปเชื่อมโยงกับการเพิ่มผลิตผลที่สำคัญ การจัดลำดับความสำคัญของงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกประเภทงาน แต่ภายในการจัดลำดับงานทั้งหมดคุณต้องรู้เสมอว่า งานประเภทไหนที่คุณถนัดและทำมันได้ดีที่สุด​ ​
ช่วงเวลาที่เป็นโอกาสให้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต | ช่วงเวลาที่ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตได้ง่าย
การปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่พนักงานแต่ละคนควรตระหนักถึงเอาไว้เสมอ แต่การจะแก้ปัญหาที่กระทบถึงคนจำนวนมากนั้นจะต้องดูจังหวะและเวลาให้ดี บริษัทจึงจำเป็นต้องกำหนดเวลาและช่วงจังหวะที่จะปรับปรุงเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ
5. การฝึกอบรมพนักงานใหม่
หากมีเวิร์คโฟลว์ที่มีคุณภาพไว้ใช้ตั้งแต่ตอนเริ่มทำงานในตอนแรก ก็จะสามารถเชื่อมโยงสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เลย ดังนั้นจึงควรต้องรวบรวมเอกสารหรือคู่มือที่จำเป็นต้องใช้ระหว่างการฝึกอบรม
ในมุมมองของการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต บอกได้เลยว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดนั้นได้ถูกกำหนดตั้งแต่ช่วงที่วางแผนการฝึกอบรมแล้ว ควรพึงระวังไว้ว่าหากมีข้อผิดพลาดตั้งแต่ตอนฝึกอบรม พนักงานใหม่ก็จะจำไปใช้จนเคยชินและอาจส่งผลให้วิธีการทำงานขั้นตอนนั้นๆผิดเพี้ยนไปได้​ ​
การฝึกอบรมพนักงานใหม่ เปรียบเสมือนเวทีที่ใช้แนะนำการทำงานประจำวันของบริษัท จึงควรอบรมให้พนักงานไม่ลืมทัศนคติของการทบทวนการทำงานของตัวเองด้วย ไม่ใช่แค่ให้จดจำการทำงานเพียงอย่างเดียว
6.การฝึกอบรมการจัดการสำหรับผู้บริหารระดับกลาง
สำหรับการฝึกอบรมผู้จัดการระดับกลางก็มีความคล้ายคลึงกับการอบรมพนักงานใหม่
ผู้บริหารระดับกลางอยู่ในตำแหน่งที่ต้องบริหารงาน ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าเมื่อเทียบกับการอบรมพนักงานทั่วไปแล้วจะส่งผลกระจายไปในวงที่กว้างกว่า ซึ่งสิ่งที่ต่างจากการอบรมพนักงานใหม่คือ การที่ผู้บริหารต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ดังนั้นเนื้อหาอบรมจึงต้องรวมถึงวิธีการจัดการผู้ใต้บังคับบัญชาและวิธีการฝึกสอนอยู่ด้วย
หน้าที่ของผู้บริหารระดับกลาง คือ รับผิดชอบการเชื่อมโยงผู้บริหารระดับสูงของบริษัท กับบุคคลากรแต่ละภาคส่วน อีกทั้งกำกับดูแลการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในแผนกนั้นๆ ผู้บริหารระดับกลางต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ต้องเข้าใจว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพของแต่ละภาคส่วนนั้นเกี่ยวโยงกับองค์กรโดยรวมอย่างไร เนื่องจากผู้บริหารนี้มีบทบาทต่อการทำงานของลูกน้องเป็นอย่างมาก การฝึกอบรมสำหรับผู้บริหารระดับกลางจึงเป็นโอกาสสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
7. กรณีที่แรงงานไม่เพียงพอ
เมื่อเกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องกลับมาทบทวนวิธีการทำงานกันอีกครั้ง หากมีผู้เกี่ยวข้องในงานนั้นๆ น้อย การสื่อสารเนื้อหางานร่วมกันก็จะสะดวกและง่ายดาย แต่หากจะคิดง่ายๆ แค่ว่าถ้าเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคลได้ก็จะสามารถแก้ปัญหาคนไม่พอได้ ก็เป็นการคิดแก้ปัญหาที่ง่ายเกินไปหน่อย​ ​
การเพิ่มผลิตภาพของพนักงานแต่ละคนมักจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่มาควบคู่เสมอ สิ่งนี้เป็นนัยยะว่าคุณจะสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่มากขึ้น หากใช้ทรัพยากรต้นทุนน้อยลงแต่มีคุณภาพ ลองคิดถึงแนวทางหลายๆ วิธีแล้วคุณจะสามารถชั่งน้ำหนักความสำคัญของการเพิ่มหรือลดจำนวนบุคคลากรได้ เพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ได้
8. เมื่อต้องการลดต้นทุนการผลิต
ได้ยินมาว่าหากค่าใช้จ่ายลดลงและสร้างผลลัพธ์เหมือนกัน แสดงว่าผลลัพธ์จะเพิ่มขึ้น ในกรณีที่คุณต้องการลดต้นทุนด้วยเหตุผลบางอย่าง ถือเป็นโอกาสทองที่คุณได้จะตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรอีกครั้ง และในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตต่อไปด้วย
โดยส่วนใหญ่มันเป็นไปได้ยากที่จะรักษาผลลัพธ์ให้คงที่ พร้อมไปกับการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆเพราะการที่จะเพิ่มผลิตภาพนั้นสร้างภาระการลงทุนให้ไม่น้อย ดังนั้นจึงเป็นตามที่เราได้กล่าวไว้ว่าหากลดต้นทุน ผลลัพธ์ก็จะลดลงและไม่สามารถบอกได้ว่าการผลิตนั้นดีขึ้น
แม้ว่าคุณจะลดต้นทุน มันก็ไม่อาจเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าธุรกิจของคุณจะพัฒนาต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่มันจะขับเคลื่อนต่อไปได้ ก็อาจกลายเป็นฝืดเคือง เราจึงจำเป็นที่จะต้องประเมินสถานการณ์ทางธุรกิจควบคู่ไปด้วยค่ะ

สรุป
การเพิ่มผลผลิตนั้นไม่ใช่สิ่งที่สามารถสำเร็จกันง่ายๆ การวางแผนดำเนินการก็ไม่ได้เป็นตัวบอกความสำเร็จเช่นกัน หากแต่ว่าเราต้องเข้าใจโครงสร้างงานขององค์กรและลงมือปรับปรุงให้ตรงจุด แล้วคุณจะพบว่าแม้จะไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยอดนิยมหรือผลงานใหม่ๆออกมาก็ตาม แต่การแก้ไขจุดเล็กๆในองค์กรก็สามารถช่วยเพิ่มผลกำไรภายในบริษัทได้ไม่ยากเลย

BY : Tonkla

ที่มา : teachme-biz.com


บทความที่เกี่ยวข้อง
NotebookLM คือเครื่องมือจดบันทึกและวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI จาก Google
NotebookLM คือเครื่องมือจดบันทึกและวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI จาก Google
Notify.png พี่ปี
14 พ.ค. 2025
Notion AI คืออะไร? ผู้ช่วยเขียนโน้ตและจัดการข้อมูลด้วย AI ที่ควรมีติดมือ
Notion AI คืออะไร? ผู้ช่วยเขียนโน้ตและจัดการข้อมูลด้วย AI ที่ควรมีติดมือ
Notify.png พี่ปี
13 พ.ค. 2025
การใช้ระบบดิจิทัลในการติดตามและจัดการพัสดุ
การใช้ระบบดิจิทัลในการติดตามและจัดการพัสดุ เพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ ลดข้อผิดพลาด และเสริมสร้างประสบการณ์ลูกค้า
Notify.png พี่ปี
10 พ.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ