แชร์

ขั้นตอนและเอกสารสำหรับการนำเข้าสินค้าร้านขายของชำ

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 10 ม.ค. 2025
217 ผู้เข้าชม
นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอย่างไรให้ถูกต้อง 
  เจ้าของธุรกิจร้านชำหลายเจ้าเริ่มต้นนำเข้าสินค้าเข้ามาขายจากต่างประเทศ แต่ว่าไม่ได้ทำขั้นตอนให้ถูกต้อง กลายเป็นว่าต้นทุนสินค้าที่นำเข้ามาเอามาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจไม่ได้ จริงๆ แล้วการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอย่างถูกต้องจะต้องมีขั้นตอน 5 ขั้นหลักๆ ตามนี้
 
1.เลือกสินค้า ผู้ค้า (Supplier) และทำใบสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ
 
2.เมื่อสินค้าถึงเมืองไทย ให้ยื่นเอกสารข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ผ่านพิธีศุลกากร ซึ่งต้องแจ้งรายละเอียด 
-ข้อมูลเรือเข้า 
-ใบตราส่งสินค้า 
-บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ 
-บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุกหรือผู้รับประกันภัยธนาคาร
-ใบอนุญาตนําเข้าหรือเอกสารอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
 
3.เมื่อศุลกากรตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้วจะได้เลขที่ใบขนสินค้า เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลสินค้า พร้อมแจ้งเงื่อนไขชำระภาษีอากร ซึ่งใบขนขาเข้าจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
-ประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สินค้าประเภทนี้สามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากรและวางประกันที่เกี่ยวข้องได้ทันที
-ประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สินค้าประเภทนี้ต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรสินค้าก่อน เพื่อให้กลายเป็นสินค้า Green Line จากนั้นจึงสามารถชำระภาษีอากร 
 
4.ชำระภาษีอากรขาเข้า และวางประกันที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อย
 
5. ยื่นใบขนสินค้าขาเข้ากับใบเสร็จรับเงินที่เราไปจ่ายค่าภาษีอากรที่คลังสินค้า ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อย ก็จะปล่อยสินค้าให้เราในที่สุด
ส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับเอกสารมากมาย และถ้าใครไม่ชำนาญพออาจจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากในที่สุด เลยเป็นที่มาที่ไปว่าร้านชำส่วนใหญ่มักจ้างบริการบริษัทขนส่งให้ดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆ ให้ 
 
การนำเข้าสินค้ามีเอกสารอะไรบ้าง
1.ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration) คือ เอกสารที่ใช้แสดงรายละเอียดต่อกรมศุลกากรเพื่อการชำระภาษีอากร ซึ่งระบุรายละเอียดของสินค้าที่นำเข้า 
2.ใบตราส่งสินค้าทางเรือ B/L-Bill of Lading หรือทางอากาศ Airway Bills เป็นเอกสารแสดงสิทธิในสินค้า และเป็นหลักฐานสัญญาของบริษัทขนส่งที่จะขนส่งสินค้าทางเรือหรือเครื่องบินจากประเทศส่งออกไปยังท่าเรือปลายทาง เอกสารใบนี้มีความสำคัญมากๆ ทางบัญชี เพราะจะช่วยให้นักบัญชีบันทึกรับรู้กรรมสิทธิ์และภาระจากสินค้าได้อย่างถูกต้อง
3.บัญชีราคาสินค้า (Invoice หรือ Commercial Invoice) เป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น รายละเอียดของสินค้า จํานวน นํ้าหนัก ราคา
4.บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) คือ เป็นเอกสารแสดงรายละเอียดของที่บรรจุในแต่ละหีบห่อสินค้า รายการในบัญชีบรรจุหีบห่อจะทำให้มีความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้า
5.ใบอนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (Import License) 
6.ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificates of Origin) ใช้ในกรณีขอลดอัตราอากรขาเข้า
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://flowaccount.com/blog/grocery-how-to-import-goods/

บทความที่เกี่ยวข้อง
แฟรนไชส์ขนส่ง: โอกาสธุรกิจในยุคที่ทุกคนสั่งของออนไลน์
ทุกวันนี้แค่ปลายนิ้วสัมผัส โลกทั้งใบก็พร้อมมาส่งถึงหน้าบ้านคุณ ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ หรือเสื้อผ้าจากอีกฟากของประเทศ นี่คือยุคทองของการ “สั่งของออนไลน์” อย่างแท้จริง แต่เบื้องหลังความสะดวกนั้น มีธุรกิจหนึ่งที่เติบโตอย่างรวดเร็วและน่าสนใจสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ นั่นคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งพัสดุ
ร่วมมือ.jpg Contact Center
14 พ.ค. 2025
Notion AI คืออะไร? ผู้ช่วยเขียนโน้ตและจัดการข้อมูลด้วย AI ที่ควรมีติดมือ
Notion AI คืออะไร? ผู้ช่วยเขียนโน้ตและจัดการข้อมูลด้วย AI ที่ควรมีติดมือ
Notify.png พี่ปี
13 พ.ค. 2025
Opus Clip AI คืออะไร? ตัวช่วยสร้างคลิปวิดีโอสั้นอัตโนมัติที่คนทำคอนเทนต์ต้องรู้จัก
Opus Clip AI คืออะไร? ตัวช่วยสร้างคลิปวิดีโอสั้นอัตโนมัติที่คนทำคอนเทนต์ต้องรู้จัก
Notify.png พี่ปี
13 พ.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ