แชร์

กระแสเงินสด (Cash flow) หัวใจสำคัญของการบริหารธุรกิจให้คล่องตัว

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 12 ธ.ค. 2024
316 ผู้เข้าชม

ทำไมกระแสเงินสด (Cash flow) ถึงเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจ
กระแสเงินสด (Cash flow) คือ เงินเข้าออกทั้งหมดของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น รายได้ หรือรายจ่าย จัดเป็นงบการเงินที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ ถ้าเราลองเอารายได้ลบรายจ่ายแล้วเหลือเงิน ก็แปลว่า บริษัทมีสภาพคล่อง มีเงินเหลือพอในการดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น

แล้วทำไมกระแสเงินสดถึงเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจ นั่นก็เพราะว่า ผู้ประกอบการสามารถนำรายงานกระแสเงินสดมาใช้วิเคราะห์ ประเมินผล และวางกลยุทธ์ต่าง ๆ ของบริษัทได้ และที่สำคัญเลยก็คือ กระแสเงินสดยังส่งผลต่อการพิจารณาในการลงทุนจากเหล่านักลงทุนด้วย เพราะกระแสเงินสดสามารถบ่งบอกได้เลยว่า ธุรกิจนั้น ๆ มีสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่ มีโอกาสในการเติบโต หรือได้กำไรเท่าไหร่ เป็นต้น


กระแสเงินสดในงบกระแสเงินสดมีกี่ประเภท
เราสามารถแบ่งประเภทของกระแสเงินสดได้ตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้มีเงินสดเข้าและออก ซึ่งจะมีอยู่ 3 กิจกรรมหลัก ๆ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash flow from operation) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า CFO เป็นกิจกรรมหลักที่ทำให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ โดยเครื่องหมายบวก (+) จะหมายถึงรายรับ และเครื่องหมายลบ (-) จะหมายถึงรายจ่าย ยกตัวอย่างเช่น

+ เงินสดรับจากการขายสินค้า หรือการให้บริการ
+ เงินสดรับชำระหนี้จากลูกหนี้
เงินสดจ่ายค่าพนักงาน ค่าบริการ ค่าเช่า
เงินสดจ่ายค่าซื้อวัตถุดิบ
โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ดีจะต้องมีค่าเป็นบวกเสมอ ถ้าหากมีค่าเป็นลบก็แสดงว่าธุรกิจมีค่าใช้จ่ายมากกว่าเงินเข้า อาจเกิดการขาดสภาพคล่องได้

 

กิจกรรมที่ 2 กระแสเงินสดจากการลงทุน
กระแสเงินสดจากการลงทุน (Cash flow from investment) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า CFI เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ หรือการใช้เงินลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ โดยเงินสดรับจะใช้เครื่องหมายบวก ส่วนเงินสดจ่ายจะเป็นเครื่องหมายลบ เช่น

เงินสดจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน โรงงาน อาคาร หรือสำนักงาน
เงินสดจ่ายเพื่อลงทุนในบริษัทย่อย
+ เงินสดรับจากการขายที่ดิน โรงงาน หรือสำนักงาน
+ เงินสดรับจากการขายบริษัทย่อย
กระแสเงินสดจากการลงทุนนั้นจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และส่วนใหญ่จะเป็นเงินสดจ่ายก้อนโต และมักจะติดลบเสมอ ซึ่งไม่จำเป็นต้องกังวลไป เพราะถ้าหากเราได้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานมากกว่าที่ลงทุนไป ก็แสดงว่าธุรกิจเติบโตได้ดี

 

กิจกรรมที่ 3 กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน
กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน (Cash flow from financing) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า CFF จะมาจาก 2 ทางหลัก ๆ ได้แก่ การกู้ยืมเงิน หรือขอสินเชื่อ และการหาผู้ถือหุ้นลงทุนเพิ่มเติม เช่น

+ เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน
+ เงินสดรับจากการจำหน่ายหุ้นกู้
เงินสดจ่ายคืนเงินกู้
เงินสดจ่ายปันผล
เงินสดจ่ายเพื่อซื้อหรือไถ่ถอนหุ้นทุนของกิจการ
สำหรับกระแสเงินสดประเภทนี้ ถ้าหากคำนวณแล้วออกมาเป็นผลลบ ก็แสดงว่าเป็นเรื่องดี เพราะแสดงว่าธุรกิจของคุณมีการจ่ายเงินปันผล หรือว่าชำระหนี้ได้นั่นเอง

แนะนำวิธีการคำนวณงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดสามารถคำนวณได้ทั้งจากทางตรง และทางอ้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
การคำนวณงบกระแสเงินสดโดยวิธีทางตรง : เป็นวิธีที่แสดงเงินสดรับและเงินสดจ่ายตามลักษณะของรายการหลักที่สำคัญในการคำนวณกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เช่น เงินสดรับจากลูกค้า เงินสดจ่ายให้แก่เจ้าหนี้การค้า เป็นต้น
การคำนวณงบกระแสเงินสดโดยวิธีทางอ้อม : เป็นการนำกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง +/- ด้วยผลกระทบของรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินสด เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย หนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น รวมทั้งผลกำไรหรือขาดทุนจากกระแสเงินสดจากการลงทุนหรือการจัดหาเงิน เช่น กำไรจากการขายที่ดิน เป็นต้น +/- ด้วยรายการค้างรับ ค้างจ่าย รับล่วงหน้า และจ่ายล่วงหน้าของเงินสดรับและเงินสดจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในอดีตหรือในอนาคต เช่น การเปลี่ยนแปลงในลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และเจ้าหนี้การค้าในระหว่างรอบบัญชี เป็นต้น
ทั้งนี้ การนำเสนองบกระแสเงินสดด้วยวิธีทางอ้อมจะแตกต่างจากวิธีทางตรงเฉพาะกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติ กิจการมักจัดทำงบกระแสเงินสดโดยวิธีทางอ้อมมากกว่า เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่า นอกจากนี้ งบกระแสเงินสดด้วยวิธีทางอ้อมยังช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถทราบถึงสาเหตุของความแตกต่างระหว่างกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้างกับกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานอีกด้วย

ลักษณะของงบกระแสเงินสดที่ดี
งบกระแสเงินสดที่ดีนั้น เงินสดปลายงวดจะต้องเพิ่มขึ้น และเงินสดจากการดำเนินงานต้องเป็นบวกเสมอ เพราะแสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่อง มีกำไรที่เป็นตัวเงิน และสามารถเติบโตได้ดี

สรุปบทความ
เป็นอย่างไรกันบ้างเกี่ยวกับความรู้ดี ๆ ของกระแสเงินสด ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่า Cash flow คือหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจจริง ๆ ถ้าผู้ประกอบการคนไหนจัดการกระแสเงินสดได้ดีล่ะก็ รับรองว่าจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมีสิทธิภาพแน่นอน แต่ถ้าใครที่กำลังทำธุรกิจอยู่ แล้วประสบปัญหาเงินสดไม่พอ หรือธุรกิจขาดสภาพคล่องบ่อย ๆ การหันมาทำความเข้าใจและวิเคราะห์กระแสเงินสดของบริษัทอย่างละเอียด ก็อาจช่วยให้พบต้นตอของปัญหา และหาทางแก้ไขได้ หรือถ้าไม่สามารถแก้ไขได้จริง ๆ ก็จะช่วยให้รู้ถึงขีดจำกัดในการดำเนินธุรกิจ และวางแผนปิดตัวในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ขาดทุนไปมากกว่านี้ได้นั่นเอง

BY : Tonkla

ที่มา : www.ifscapthai.com 


บทความที่เกี่ยวข้อง
อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ไม่มีประสบการณ์? แฟรนไชส์ขนส่งช่วยได้!
ในยุคที่ใคร ๆ ก็อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ความฝันในการเป็นเจ้าของกิจการดูเหมือนจะใกล้มือกว่าเดิม แต่สำหรับหลายคน ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ "ไม่มีประสบการณ์" จะเริ่มต้นยังไงดี? จะบริหารยังไงให้ไม่เจ๊งตั้งแต่ปีแรก? คำตอบที่น่าสนใจสำหรับมือใหม่ก็คือ — "แฟรนไชส์ขนส่ง"
ร่วมมือ.jpg Contact Center
29 เม.ย. 2025
อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ไม่มีประสบการณ์? แฟรนไชส์ขนส่งช่วยได้!
หลายคนคงเคยฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเพื่อต้องการอิสระทางเวลา รายได้ที่มั่นคง หรือความภูมิใจในสิ่งที่เราสร้างขึ้นเอง แต่พอคิดจะเริ่มจริงๆ กลับต้องชะงักเพราะ “ไม่มีประสบการณ์” หรือ “ไม่รู้จะเริ่มยังไง” ถ้าคุณกำลังอยู่ในจุดนี้ บทความนี้มีคำแนะนำดีๆ ที่อาจช่วยให้ก้าวแรกของคุณง่ายขึ้น ด้วยทางเลือกที่เรียกว่า “แฟรนไชส์ขนส่ง”
ร่วมมือ.jpg Contact Center
25 เม.ย. 2025
SWOT Analysis คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ
ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นทุกวัน ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่คนที่มีไอเดียดี แต่ต้อง เข้าใจสถานการณ์ของธุรกิจตัวเอง ทั้งภายในและภายนอกอย่างรอบด้าน ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพเหล่านี้ได้ชัดเจน คือ SWOT Analysis หรือ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค นั่นเอง
ร่วมมือ.jpg Contact Center
22 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ